50 มนุษย์ที่ใช้เหตุผลตามธรรมชาติอาจรู้จักพระเจ้าได้อย่างมั่นใจโดยเริ่มจากผลงานต่างๆ ของพระองค์ แต่ก็ยังมีวิธีอื่นที่จะรู้จักพระเจ้าได้อีก วิธีการนี้มนุษย์ไม่อาจเข้าถึงได้เลยอาศัยพลังความสามารถของตนเท่านั้น วิธีการเช่นนี้ได้แก่ การเปิดเผยของพระเจ้า[1] พระเจ้าทรงตัดสินพระทัยโดยอิสระที่จะทรงเปิดเผยและประทานพระองค์แก่มนุษย์พระองค์ทรงทำเช่นนี้โดยทรงเปิดเผยพระธรรมล้ำลึกของพระองค์ ทรงมีแผนการแสดงพระทัยดีมาตั้งแต่นิรันดรในพระคริสตเจ้าสำหรับมวลมนุษย์ ทรงเปิดเผยแผนการนี้อย่างสมบูรณ์เมื่อทรงส่งพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา พระบุตรสุดที่รัก และพระจิตเจ้ามาให้เรา
[1] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Filius, C4:DS 3015.
ตอนที่ 1
การเปิดเผยความจริงของพระเจ้า
I. พระเจ้าทรงเปิดเผย “แผนการแสดงพระทัยดี” ของพระองค์
I. พระเจ้าทรงเปิดเผย “แผนการแสดงพระทัยดี” ของพระองค์
51 “พระเจ้าทรงพระทัยดีและปรีชาญาณ ทรงมีพระประสงค์ที่จะแสดงพระองค์แก่มนุษย์ให้มนุษย์รู้ถึงแผนการอันเร้นลับของพระองค์ คือการที่โดยทางพระคริสตเจ้าองค์พระวจนาตถ์ผู้ทรงรับสภาพมนุษย์ มนุษย์จึงสามารถเข้าถึงพระบิดาเจ้าในองค์พระจิตเจ้า และมีส่วนในพระธรรมชาติพระเจ้าได้”[2]
52 พระเจ้า “ผู้ประทับอยู่ในแสงสว่างที่ไม่อาจเข้าถึงได้” (1 ทธ 6:16) ทรงประสงค์ให้มนุษย์ที่ทรงเนรมิตสร้างไว้โดยอิสระเสรีได้มีส่วนร่วมชีวิตพระเจ้าของพระองค์ เพื่อทรงบันดาลให้มนุษย์เป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์ในองค์พระบุตร[3] เมื่อทรงเปิดเผยพระองค์ พระเจ้าทรงประสงค์บันดาลให้มนุษย์สามารถตอบสนองพระองค์ รู้จักพระองค์ รักพระองค์ได้เหนือความสามารถที่เขามีตามธรรมชาติ
53 แผนการของพระเจ้าที่จะเปิดเผยนี้สำเร็จไป “ด้วยกิจการและพระวาจาซึ่งเกี่ยวเนื่องกันอย่างลึกซึ้ง”[4] และให้ความกระจ่างแก่กัน การเปิดเผยนี้นับเป็น “วิธีการที่พระเจ้าทรงสั่งสอน” โดยเฉพาะ พระเจ้าทรงค่อยๆ เปิดเผยพระองค์แก่มนุษย์ตามลำดับ ทรงเตรียมเขาในช่วงเวลาต่างๆ เพื่อรับการเปิดเผยเหนือธรรมชาติที่พระเจ้าทรงกระทำด้วยพระองค์เอง และที่จะบรรลุถึงจุดยอดในพระบุคคลและพันธกิจของพระวจนาตถ์ผู้ทรงรับสภาพมนุษย์ คือพระเยซูคริสตเจ้า
นักบุญอีเรเนอุสแห่งลียงใช้ภาพความใกล้ชิดระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์กล่าวบ่อยๆ ถึงวิธีการสั่งสอนของพระเจ้าว่าดังนี้ “พระวจนาตถ์ของพระเจ้า [….] ทรงพำนักอยู่ในมนุษย์และทรงกลายเป็นบุตรแห่งมนุษย์เพื่อช่วยมนุษย์ให้คุ้นเคยที่จะสัมผัสพระเจ้าและให้พระเจ้าคุ้นเคยที่จะพำนักในมนุษย์ตามพระประสงค์ของพระบิดา”[5]
[2] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 2: AAS 58 (1966) 818.
[3] เทียบ อฟ 1:4-5.
[4] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 2: AAS 58 (1966) 818.
[5] Sanctus Irenaeus Lugdunensis, Adversus haereses 3, 20, 2 : SC 211, 392 (PG 7, 944) ; cf. exempli gratia, Ibid. 3,17,1: SC 211, 330
(PG 7, 929); Ibid. 4, 12, 4: SC 100, 518 (PG 7, 1006); Ibid. 4, 21,3: SC 100, 684 (PG 7, 1046).
II. ขั้นตอนต่างๆ ของการเปิดเผย
II. ขั้นตอนต่างๆ ของการเปิดเผย
พระเจ้าทรงแสดงพระองค์ให้มนุษย์รู้จักตั้งแต่แรกเริ่ม
54 “พระเจ้าทรงเนรมิตสร้างและทรงค้ำชูสรรพสิ่งไว้ด้วยพระวจนาตถ์ โปรดให้สิ่งที่ทรงเนรมิตสร้างมานั้นเป็นพยานถึงพระองค์อยู่เสมอ นอกจากนั้นยังทรงมีพระประสงค์ที่จะเบิกทางไปสู่ความรอดพ้นเหนือธรรมชาติ จึงทรงแสดงพระองค์ให้แก่บิดามารดาเดิมของเราตั้งแต่แรก”[6] พระองค์ทรงเชิญเขาทั้งสองให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระองค์ โดยประทาน พระหรรษทานและความชอบธรรมรุ่งเรืองให้เขา
55 การเปิดเผยนี้ไม่ได้ถูกบาปของบิดามารดาเดิมของเราทำให้ขาดตอนลงเลย เพราะ “เมื่อเขาตกในบาปแล้ว พระองค์ก็ทรงสัญญาจะกอบกู้มนุษยชาติและโปรดให้เขามีความหวังที่จะได้รับความรอดพ้น และทรงคอยเฝ้าดูแลมนุษย์อยู่เสมอมิได้ขาด เพื่อจะได้ประทานชีวิตนิรันดรให้แก่ทุกคนที่พากเพียรประกอบกิจการดีแสวงหาความรอดพ้น”[7]“และเมื่อมนุษย์ได้สูญเสียมิตรภาพกับพระองค์เพราะมิได้เชื่อฟังพระบัญชา พระองค์ก็มิได้ทรงทอดทิ้งให้อยู่ในอำนาจของความตาย […] แต่ประทานพันธสัญญาให้มนุษยชาติหลายครั้งหลายครา”[8]
พันธสัญญากับโนอาห์
56 เมื่อเอกภาพของมนุษยชาติถูกบาปทำลายลงแล้ว ทันทีพระเจ้าก็ทรงประสงค์จะช่วยมนุษยชาติให้รอดพ้นโดยทรงแทรกเข้าไปในมนุษยชาติแต่ละส่วน พันธสัญญาที่ทรงทำไว้กับโนอาห์ภายหลังน้ำวินาศ[9] แสดงถึงจุดเริ่มต้นของแผนการกอบกู้ของพระองค์ต่อ “นานาชาติ” นั่นคือต่อมนุษย์ “ซึ่งต่างก็มีดินแดน ภาษา เผ่า และชนชาติของตน” (ปฐก 10:5) และมีความสัมพันธ์ต่อกัน[10]
57 การที่มนุษยชาติแตกแยกออกเป็นหลายชาติ ทั้งในด้านขอบเขต สังคมและศาสนา[11] เช่นนี้มีเจตนาที่จะจำกัดความเย่อหยิ่งของมนุษยชาติที่แม้จะเป็นหนึ่งเดียวกันในเจตนาชั่วร้าย[12] ต้องการสร้างเอกภาพตามวิธีการของตนเองดังที่หอบาเบล[13] แต่เนื่องจากบาป[14] การนับถือเทพเจ้าและรูปเคารพของชนชาติและบรรดาผู้นำต่างๆ ยังนับได้ว่าเป็นความชั่วร้ายที่ไม่เคารพนับถือพระเจ้าและเป็นภัยคุกคามต่อแผนความรอดที่ทรงจัดไว้ล่วงหน้านี้ด้วย
58 พันธสัญญาที่พระเจ้าทรงทำไว้กับโนอาห์มีผลใช้บังคับตลอดช่วงเวลาของนานาชาติ[14] จนถึงการประกาศพระวรสารแก่นานาชาติ พระคัมภีร์ให้ความเคารพนับถือแก่บุคคลสำคัญ “ของชาติต่างๆ” บางคน เช่น “อาเบลผู้ชอบธรรม” เมลคีเซเดค[16] กษัตริย์และสมณะซึ่งเป็นรูปแบบของพระคริสตเจ้า[17]หรือ “โนอาห์ ดาเนียลและโยบ” ผู้ชอบธรรม (อสค 14:14) ดังนี้ พระคัมภีร์จึงบอกว่าผู้ดำเนินชีวิตตามพันธสัญญาที่พระเจ้าทรงทำไว้กับโนอาห์อาจบรรลุถึงความศักดิ์สิทธิ์ได้สูงเพียงใด เมื่อเขารอคอยพระคริสตเจ้าผู้ที่จะทรง “รวบรวมบรรดาบุตรของพระเจ้าที่กระจัดกระจายอยู่ให้กลับเป็นหนึ่งเดียวกัน” (ยน 11:52)
พระเจ้าทรงเลือกอับราฮัม
59 เพื่อจะทรงรวบรวมมนุษยชาติให้กลับเป็นหนึ่งเดียวกัน พระเจ้าทรงเลือกอับราม โดยทรงเรียกเขาดังนี้ว่า “จงออกจากแผ่นดินของท่าน จากญาติพี่น้อง และจากบ้านบิดาของท่าน” (ปฐก 12:1) ทรงตั้งพระทัยจะทำให้เขาเป็น “อับราฮัม” คือ “บิดาของชนชาติจำนวนมาก” (ปฐก 17:5) “และบรรดาเผ่าพันธุ์ทั้งสิ้นทั่วแผ่นดินจะได้รับพรเพราะท่าน” (ปฐก 12:3)[18]
60 ประชากรที่สืบเชื้อสายมาจากอับราฮัมจะเป็นผู้รักษาพระสัญญาที่พระเจ้าทรงทำไว้กับบรรพบุรุษ เป็นประชากรที่ได้รับการเลือกสรร[19] ที่ทรงเรียกมาเตรียมชุมชนบุตรทุกคนของพระเจ้าเข้ามาในเอกภาพของพระศาสนจักร[20] ประชากรนี้จะเป็นเสมือนเหง้าที่บรรดาชนต่างศาสนาที่เข้ามามีความเชื่อจะถูกนำมาทาบติดไว้[21]
61 บรรดาบรรพบุรุษ ประกาศก และบุคคลสำคัญต่างๆ ของพันธสัญญาเดิมได้เป็นและจะได้รับความเคารพนับถือเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์เสมอไปในทุกธรรมประเพณีทางพิธีกรรมของพระศาสนจักร
พระเจ้าทรงก่อตั้งอิสราเอลเป็นประชากรของพระองค์
62 หลังจากบรรดาบรรพบุรุษ พระเจ้าทรงตั้งอิสราเอลเป็นประชากรของพระองค์ ทรงช่วยเขาออกมาจากอียิปต์ให้พ้นจากการเป็นทาส ทรงทำพันธสัญญากับเขาที่ภูเขาซีนายและประทานธรรมบัญญัติให้ผ่านทางโมเสส ให้เขารับรู้และรับใช้พระองค์ผู้ทรงเป็นพระเจ้าแท้ทรงชีวิตเพียงพระองค์เดียว เป็นพระบิดาผู้ทรงญาณเอื้ออาทรและพระตุลาการเที่ยงธรรม และทรงบอกให้
เขารอคอยพระผู้ไถ่ที่ทรงสัญญาจะส่งมาด้วย[22]
63 อิสราเอลเป็นอาณาจักรสมณะของพระเจ้า[]<3/sup> ที่ “เป็นประชากรขององค์พระผู้เป็นเจ้า” (ฉธบ 28:10 – วลีนี้แปลตามตัวอักษรว่า “ซึ่งพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้าถูกเรียกเหนือเขา” - เป็นสำนวนทางกฎหมาย หมายถึงการเป็นเจ้าของ) เขาจึงเป็นประชากรของ “ผู้ที่พระเจ้าองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงมีพระดำรัสด้วยเป็นพวกแรก”[24] เป็นประชากร “พี่ใหญ่” เพราะความเชื่อของอับราฮัม[25]
64 อาศัยบรรดาประกาศก พระเจ้าทรงจัดให้ประชากรของพระองค์มีความหวังจะได้รับความรอดพ้น โดยการรอคอยพันธสัญญาใหม่อันยืนยงที่ทรงกำหนดไว้สำหรับมวลมนุษย์[26] และทรงจารึกไว้ในใจของทุกคน[27] บรรดาประกาศกประกาศล่วงหน้าถึงการกอบกู้ประชากรของพระเจ้าจนถึงที่สุดให้บริสุทธิ์จากความไม่ซื่อสัตย์ทั้งปวง[28] ประกาศความรอดพ้นที่ครอบคลุมชนทุกชาติ[29] บรรดาผู้ยากจนและต่ำต้อยขององค์พระผู้เป็นเจ้าโดยเฉพาะ[30] จะมีความหวังนี้ บรรดาสตรีผู้ศักดิ์สิทธิ์หลายท่าน เช่น นางซาราห์ เรเบคาห์ ราเคล มีเรียม เดโบราห์ ฮันนาห์ ยูดิธ เอสเธอร์ ได้รักษาความหวังนี้ไว้อย่างเหนียวแน่น พระนางมารีย์ทรงเป็นภาพบริสุทธิ์ที่สุดของความหวังประการนี้[31]
[6] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 3: AAS 58 (1966) 818.
[7] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 3: AAS 58 (1966) 818.
[8] Prex eucharistica IV: Missale Romanum, editio typica (Typis Polyglottis Vaticanis 1970) p. 467.
[9] เทียบ ปฐก 9:9.
[10] เทียบ ปฐก 10:20-31.
[11] เทียบ กจ 17:26-27.
[12] เทียบ ปชญ 10:5.
[13] เทียบ ปฐก 11:4-6.
[14] เทียบ รม 1:18-25.
[15] เทียบ ลก 21:24.
[16] เทียบ ปฐก 4:18.
[17] เทียบ ฮบ 7:3.
[18] เทียบ กท 3:8.
[19] เทียบ รม 11:28.
[20] เทียบ ยน 11:52; 10:16.
[21] เทียบ รม 11:17-18,24.
[22] เทียบ Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 3: AAS 58 (1966) 818.
[23] เทียบ อพย 19:6.
[24] Feria VI in passion Domini, Oratio universalis VI: Missale Romanum, editio typica (Typis Polyglottis Vaticanis 1970) p.254.
[25] Cf. Ioannes Paulus II, Alloc. Nella sinagoga durante l’incontro con la communità Ebraica della Città di Roma (13 aprilis 1986), 4: Insegnamenti di Giovanni Paolo II, IX/1, 1027.
[26] เทียบ อสย 2:2-4.
[27] เทียบ ยรม 31:31-34 ; ฮบ 10:16.
[28] เทียบ อสค 36.
[29] เทียบ อสย 49:5-6.
[30] เทียบ ศฟย 2:3.
[31] เทียบ ลก 1:38.
III. พระคริสต์เยซูทรงเป็น “คนกลางและความสมบูรณ์ของการเปิดเผยทั้งหมด”
III. พระคริสต์เยซูทรงเป็น “คนกลางและความสมบูรณ์ของการเปิดเผยทั้งหมด”[32]
พระเจ้าตรัสทุกสิ่งทุกอย่างในพระวจนาตถ์ของพระองค์
65 “ในอดีต พระเจ้าตรัสกับบรรพบุรุษของเราโดยทางประกาศกหลายวาระและหลายวิธี ครั้นสมัยนี้เป็นวาระสุดท้าย พระองค์ตรัสกับเราโดยทางพระบุตร” (ฮบ 1:1-2) พระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงรับสภาพมนุษย์ ทรงเป็นพระวจนาตถ์ของพระบิดาแต่เพียงหนึ่งเดียว สมบูรณ์และอยู่เหนือสรรพสิ่ง พระบิดาตรัสทุกสิ่งในพระวจนาตถ์ และจะไม่มีพระวาจาอื่นใดอีกแล้ว นักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน เช่นเดียวกับผู้อื่นอีกหลายคน ได้อธิบายข้อความใน ฮบ 1:1-2 ไว้อย่างน่าฟังว่า:
“เมื่อพระบิดาประทานพระบุตรของพระองค์แก่เรา ดังที่ได้ประทาน พระบุตรนี้ทรงเป็นพระวจนาตถ์เพียงหนึ่งเดียวของพระองค์ พระองค์ก็ตรัสทุกสิ่งแก่เราพร้อมกันในพระวจนาตถ์เพียงพระองค์เดียวนี้ และไม่ทรงมีอะไรอื่นจะตรัสกับเราอีก [...] เรื่องราวที่ก่อนหน้านั้นพระองค์เคยตรัสเป็นส่วนๆ โดยทางประกาศก บัดนี้พระองค์ได้ตรัสทุกสิ่งแก่เราในพระวจนาตถ์ โดยประทานพระวจนาตถ์นี้ทั้งหมดให้แก่เรา คือองค์พระบุตร เพราะฉะนั้น ผู้ใดที่บัดนี้ต้องการสืบหาความรู้ใดๆ จากพระเจ้า หรือวอนขอนิมิตหรือการเปิดเผยใดๆ จากพระองค์ ก็น่าจะทำอะไรที่ทั้งโง่เขลาและยังดูเหมือนเป็นการลบหลู่พระเจ้าด้วย จากการที่ไม่เพ่งตามองดูพระคริสตเจ้า หรือจากการที่ไปแสวงหาสิ่งอื่นหรือสิ่งใดใหม่ๆนอกเหนือจากพระองค์”[33]
จะไม่มีการเปิดเผยอะไรอื่นจากพระเจ้าอีกต่อไป
66 “แผนการความรอดพ้นในพระคริสตเจ้า ในฐานะที่เป็นพันธสัญญาใหม่และเด็ดขาดนี้จะไม่ผ่านพ้นไปเลย และเราไม่ต้องรอคอยการเผยอะไรใหม่กับมนุษย์ทั้งหลายอีกต่อไปก่อนจะถึงการปรากฏองค์อย่างรุ่งโรจน์ของพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา”[34] ถึงกระนั้น การเปิดเผยแม้จะสำเร็จแล้วก็ยังไม่ได้รับการอธิบายอย่างสมบูรณ์ ความเชื่อในพระคริสตเจ้า จึงยังมีโอกาสจะต้องค่อยๆ ได้รับความเข้าใจกว้างขวางยิ่งขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา
67 ตลอดเวลาที่ผ่านมาก็ยังมีการเปิดเผยที่เรียกได้ว่า “ส่วนตัว” หลายครั้ง การเปิดเผยเช่นนี้บางครั้งก็ได้รับการรับรองจากผู้มีอำนาจปกครองในพระศาสนจักร แต่การเปิดเผยเหล่านี้ก็ไม่นับรวมเป็นคลังความเชื่อของ พระศาสนจักร บทบาทของการเปิดเผยส่วนตัวเหล่านี้ไม่ใช่เพื่อทำให้การเปิดเผยเด็ดขาดของพระคริสตเจ้า “ดีขึ้น” หรือ “สมบูรณ์ขึ้น” แต่เพื่อช่วยให้การเปิดเผยทางการนี้ได้รับการนำไปปฏิบัติในชีวิตให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ จิตสำนึกของผู้มีความเชื่อที่มีผู้มีอำนาจสอนของพระศาสนจักรคอยแนะนำ สามารถแยกแยะและยอมรับว่าในการเปิดเผยส่วนตัวเหล่านี้มีอะไรบ้างที่เป็นคำแนะนำแท้จากพระคริสตเจ้าหรือจากบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์
ความเชื่อของคริสตศาสนาไม่อาจรับ “การเปิดเผย” ที่พยายามเอาชนะหรือแก้ไขการเปิดเผยทางการที่พระคริสตเจ้าทรงทำให้สมบูรณ์แล้ว ดังที่พบได้ในศาสนาต่างๆ ที่ไม่ใช่คริสตศาสนา หรือในนิกายต่างๆที่เกิดขึ้นโดยอิงอยู่กับ “การเปิดเผย” ต่างๆ เช่นนี้
[32] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 2: AAS 58 (1966) 818.
[33] Sanctus Ioannes a Cruce, Subida del monte Carmelo 2, 22, 305: Biblioteca Mistica Carmelitanan, v. 11 (Burgos 1929) p. 184.
[34] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 4: AAS 58 (1966) 819.
สรุป
สรุป
68 พระเจ้าทรงมอบและเปิดเผยพระองค์ให้แก่มนุษย์ด้วยความรัก ดังนั้นจึงนำคำตอบเด็ดขาดและเหนือความคาดหมายมาให้แก่คำถามต่างๆ ที่มนุษย์มักตั้งเกี่ยวกับความหมายและจุดประสงค์ของชีวิต
69 พระเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์แก่มนุษย์ ทรงใช้การกระทำและพระวาจาค่อยๆ สื่อให้มนุษย์รู้พระธรรมล้ำลึกของพระองค์
70 นอกจากหลักฐานที่พระเจ้าทรงแสดงให้เห็นในสิ่งที่ทรงสร้างขึ้นมาแล้ว พระองค์ยังทรงแสดงพระองค์แก่บิดามารดาเดิมของเรา พระองค์ตรัสกับเขา และเมื่อเขาตกในบาปแล้ว ก็ทรงสัญญาจะประทานความรอดพ้นให้[35] และยังประทานพันธสัญญาให้เขาด้วย
71 พระเจ้าทรงทำพันธสัญญานิรันดรกับโนอาห์ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระองค์กับทุกสิ่งที่มีชีวิต[36] พันธสัญญากับโนอาห์นี้จะคงอยู่ตลอดเวลาที่โลกนี้คงอยู่
72 พระเจ้าทรงเลือกอับราฮัมและทรงทำพันธสัญญากับเขาและลูกหลาน พระองค์ทรงก่อตั้งประชากรของพระองค์จากอับราฮัม และทรงเปิดเผยธรรมบัญญัติของพระองค์แก่ประชากรนี้ผ่านทางโมเสส พระองค์ทรงใช้บรรดาประกาศกมาเตรียมประชากรนี้เพื่อรับความรอดพ้นที่ทรงกำหนดไว้สำหรับมวลมนุษย์
73 พระเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์อย่างสมบูรณ์โดยทรงส่งพระบุตร พระองค์ทรงสถาปนาพันธสัญญาที่จะคงอยู่ตลอดนิรันดรในองค์พระบุตร พระบุตรนี้คือพระวจนาตถ์เด็ดขาดของพระบิดา และดังนี้จึงจะไม่มีการเปิดเผยใดๆ หลังจากนี้อีกแล้ว
[35] เทียบ ปฐก 3:15.
[36] เทียบ ปฐก 9:16.
ตอนที่ 2
การถ่ายทอดความจริงที่พระเจ้าทรงเปิดเผย
74 พระเจ้า “มีพระประสงค์ให้ทุกคนได้รับความรอดพ้นและรู้ความจริงที่สมบูรณ์” (1 ทธ 2:4) นั่นคือพระเยซูคริสตเจ้า[37] ดังนั้น พระคริสตเจ้าจึงต้องได้รับการประกาศแก่ประชากรทุกชาติและมนุษย์ทุกคน และดังนี้การเปิดเผยก็จะไปถึงสุดปลายแผ่นดิน
“ความจริงที่พระเจ้าทรงเผยให้รู้เพื่อความรอดของนานาชาตินั้นจะต้องคงอยู่เสมอไปอย่างครบถ้วน และจะต้องถ่ายทอดให้แก่ชนรุ่นหลังสืบต่อกันไปทุกอายุขัย”[38]
[37] เทียบ ยน 14:6.
[38] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 7: AAS 58 (1966) 820.
I. ธรรมประเพณีสมัยอัครสาวก
I. ธรรมประเพณีสมัยอัครสาวก
75 “พระคริสตเจ้าผู้ทรงทำให้การเผยความจริงของพระเจ้าผู้สูงสุดสำเร็จบริบูรณ์ในพระองค์ ทรงมีพระบัญชาให้บรรดาอัครสาวกไปประกาศพระวรสารที่ทรงสัญญาไว้โดยทางบรรดาประกาศก และพระองค์ทรงกระทำให้สำเร็จไป ทั้งยังทรงประกาศด้วยพระโอษฐ์เองด้วย บรรดาอัครสาวกจะต้องประกาศว่าข่าวดีนั้นเป็นแหล่งที่มาของความจริงทั้งปวงที่นำความรอดพ้นมาให้ และเป็นระเบียบศีลธรรมสำหรับมนุษย์ทุกคน พร้อมกันนั้นท่านยังต้องนำพระพรของพระเจ้ามาแบ่งปันให้มวลมนุษย์ด้วย”[39]
การเทศน์สอนของบรรดาอัครสาวก......
76 ตามพระบัญชาขององค์พระผู้เป็นเจ้า การถ่ายทอดพระวรสารสำเร็จไปด้วยสองวิธี ได้แก่
ด้วยวาจา “บรรดาอัครสาวกประกาศสอนด้วยวาจา ให้แบบฉบับและวางกฎเกณฑ์ถ่ายทอด
สิ่งที่ท่านได้รับมาจากพระวาจา จากการร่วมชีวิตอย่างใกล้ชิดกับพระคริสตเจ้า และจากกิจการที่ทรงกระทำ หรือจากที่ท่านได้เรียนรู้มาจากการดลใจของพระจิตเจ้าสืบต่อมา”
ด้วยข้อเขียน “บรรดาอัครสาวกและผู้อยู่ใกล้ชิดกับท่าน ซึ่งได้รับการดลใจจากพระจิตเจ้า
องค์เดียวกัน ยังได้บันทึกสารเรื่องความรอดพ้นนี้ลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอีกด้วย”[40]
.......การสืบตำแหน่งต่อมาจากบรรดาอัครสาวก
77 “เพื่อรักษาพระวรสารให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอไว้ในพระศาสนจักรตลอดไป บรรดาอัครสาวกจึงตั้งบรรดาพระสังฆราชให้เป็นผู้สืบตำแหน่งต่อไป และ ‘มอบหมายตำแหน่งหน้าที่สั่งสอนของท่านให้บรรดาพระสังฆราช’”[41] อันที่จริง “คำเทศน์สอนของบรรดาอัครสาวกที่มีบันทึกไว้อย่างพิเศษในหนังสือที่ได้รับการดลใจนี้ ต้องได้รับการรักษาไว้สืบต่อกันไปตราบจนสิ้นกาลเวลา”[42]
78 การสืบทอดที่ยังเป็นปัจจุบันและดำเนินไปในพระจิตเจ้านี้ ในฐานะที่แตกต่าง แต่ก็ยังสัมพันธ์กับพระคัมภีร์อย่างใกล้ชิด ได้รับนามว่า “ธรรมประเพณี” โดยธรรมประเพณีนี้ “พระศาสนจักรจึงใช้คำสั่งสอน การดำเนินชีวิตและคารวกิจ สงวนรักษาทุกสิ่งที่ตนเป็นและเชื่อนั้นไว้ให้ถาวรตลอดกาล และถ่ายทอดต่อไปให้กับชนทุกรุ่นทุกอายุขัย”[43] “วาทะของบรรดาปิตาจารย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์เป็นพยานยืนยันว่ามีธรรมประเพณีที่ให้ชีวิตเช่นนี้อยู่ในพระศาสนจักรจริง ความร่ำรวยทางจิตใจจากธรรมประเพณีนี้หลั่งลงสู่ชีวิตและการปฏิบัติของพระศาสนจักรที่มีความเชื่อและภาวนา”[44]
79 โดยวิธีนี้ การเปิดเผยพระองค์เองที่พระบิดาทรงกระทำอาศัยพระวจนาตถ์ในองค์พระจิตเจ้าจึงยังคงทรงพลังอยู่เป็นปัจจุบันในพระศาสนจักร “พระเจ้าผู้ตรัสในกาลก่อนยังไม่ทรงเลิกสนทนากับเจ้าสาวของพระบุตรสุดที่รักของพระองค์ต่อไป และพระจิตเจ้าซึ่งโปรดให้เสียงทรงชีวิตแห่งพระวรสารดังก้องในพระศาสนจักร และดังก้องไปทั่วโลก ทรงชักนำผู้มีความเชื่อให้รู้ความจริงทั้งปวงอาศัยพระศาสนจักร และทรงทำให้พระวาจาของพระคริสตเจ้าพำนักอยู่ในตัวเขาอย่างอุดม”[45]
[39] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 7: AAS 58 (1966) 820.
[40] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 7: AAS 58 (1966) 820.
[41] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 7: AAS 58 (1966) 820.
[42] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 8: AAS 58 (1966) 820.
[43] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 8: AAS 58 (1966) 821.
[44] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 8: AAS 58 (1966) 821.
[45] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 8: AAS 58 (1966) 821.
II. ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมประเพณีกับพระคัมภีร์
II. ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมประเพณีกับพระคัมภีร์
มีบ่อเกิดเดียวร่วมกัน....
80 “ธรรมประเพณีศักดิ์สิทธิ์และพระคัมภีร์จึงมีความเกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
เพราะทั้งสองมาจากพระเจ้าซึ่งเป็นบ่อเกิดเดียวกัน รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน และมุ่งไปยังจุดหมายเดียวกัน”[46] ทั้งสองทำให้พระธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าอยู่ในพระศาสนจักรและบังเกิดผลพระองค์ทรงสัญญาว่าจะประทับอยู่กับบรรดาศิษย์ “ทุกวันตลอดไปตราบจนสิ้นพิภพ” (มธ 28:20)
…… มีวิธีการถ่ายทอดต่างกันสองแบบ
81 “พระคัมภีร์คือพระวาจาของพระเจ้าที่ได้รับการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยการดลใจของพระจิตเจ้า”
“ส่วนธรรมประเพณีศักดิ์สิทธิ์ถ่ายทอดพระวาจาของพระเจ้าที่พระคริสตเจ้าและพระจิตเจ้ามอบไว้กับบรรดาอัครสาวก ให้กับผู้สืบตำแหน่งของท่านอย่างครบครัน เพื่อให้พระจิตเจ้าแห่งความจริงทรงส่องสว่างให้ท่านเหล่านั้นสามารถใช้การประกาศสั่งสอนของตนรักษาพระวาจานั้นไว้อย่างซื่อสัตย์ อธิบายและเผยแผ่ทั่วไปทุกแห่งหน”[47]
82 ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าพระศาสนจักรผู้ได้รับมอบหมายให้ถ่ายทอดและอธิบายการเปิดเผยความจริง “มิได้พึ่งพระคัมภีร์อย่างเดียวเพื่อจะได้แน่ใจถึงความจริงทั้งหมดที่พระเจ้าทรงเผยให้ทราบ เราจึงต้องรับและให้ความเคารพนับถือทั้งพระคัมภีร์และธรรมประเพณีศักดิ์สิทธิ์ด้วยความจงรักภักดีและความเคารพเท่าเทียมกัน”[48]
ธรรมประเพณีจากบรรดาอัครสาวกและธรรมประเพณีของพระศาสนจักร
83 ธรรมประเพณีที่เรากล่าวถึงที่นี่มาจากบรรดาอัครสาวกและถ่ายทอดเรื่องราวที่เขาเหล่านั้นได้รับมาจากคำสั่งสอนและพระแบบฉบับของพระเยซูเจ้า รวมทั้งเรื่องราวที่พระจิตเจ้าทรงสอนเขาด้วย ในความเป็นจริง บรรดาคริสตชนรุ่นแรกยังไม่มีพันธสัญญาใหม่ที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร และพันธสัญญาใหม่นั้นเองก็เป็นพยานยืนยันถึงกระบวนการของธรรมประเพณีที่มีชีวิตนี้
จากธรรมประเพณีนี้ เราต้องแยกแยะ “ธรรมประเพณีต่างๆ” ที่เกี่ยวกับเทววิทยา ระเบียบปฏิบัติ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ และกิจศรัทธาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่อมาของพระศาสนจักรท้องถิ่นต่างๆ ทุกสิ่งเหล่านี้เป็นรูปแบบเฉพาะที่ “ธรรมประเพณี” ใหญ่รับมาเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานที่และเวลาที่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาถึงธรรมประเพณีใหญ่นี้โดยมีผู้มีอำนาจสอนของพระศาสนจักรคอยแนะนำ ธรรมประเพณีหลากหลายเหล่านี้อาจได้รับการเก็บรักษาไว้ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือแม้แต่ทิ้งไปเลยด้วย
[46] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 9: AAS 58 (1966) 821.
[46] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 9: AAS 58 (1966) 821.
[47] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 9: AAS 58 (1966) 821.
III. การอธิบายความหมายของคลังความเชื่อ
III. การอธิบายความหมายของคลังความเชื่อ
คลังความเชื่อที่พระศาสนจักรทั้งหมดได้รับฝากไว้
84 บรรดาอัครสาวกได้ฝากคลังความเชื่อ[49] ที่มีอยู่ในธรรมประเพณีศักดิ์สิทธิ์และพระคัมภีร์ไว้กับ พระศาสนจักรทั้งหมด “ประชากรศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระสังฆราชผู้อภิบาลของตนจึงยึดพระวาจานี้ไว้อย่างมั่นคงในคำสอนของบรรดาอัครสาวก และมีชีวิตร่วมกันฉัน พี่น้อง ในการบิปังและในการภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้จะได้มีการร่วมมือกันเป็นพิเศษระหว่างสัตบุรุษกับผู้ปกครองในการรักษา ในการปฏิบัติ และในการแสดงความเชื่อที่ได้รับถ่ายทอดต่อๆกันมา”[50]
อำนาจสอนของพระศาสนจักร (Magisterium Ecclesiae)
85 “หน้าที่ที่จะตีความหมายพระวาจาของพระเจ้าที่บันทึกไว้และที่ได้รับถ่ายทอดต่อกันมาทางวาจาได้อย่างถูกต้องนั้น พระศาสนจักรผู้มีอำนาจสอนเท่านั้นได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นี้ และใช้อำนาจนี้ในพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า”[51] ซึ่งได้แก่พระสังฆราชที่มีความสัมพันธ์กับ
พระสังฆราชแห่งกรุงโรมผู้สืบตำแหน่งของนักบุญเปโตร
86 “อำนาจสั่งสอนนี้มิได้อยู่เหนือพระวาจาของพระเจ้า แต่รับใช้พระวาจา สอนแต่ความจริงที่ได้รับถ่ายทอดมา ในฐานะที่ความจริงนี้ได้รับมอบมาจากพระเจ้าโดยมีพระจิตเจ้าทรงช่วยเหลือ ผู้มีอำนาจสอนจึงต้องรับฟังพระวาจาด้วยความศรัทธา เก็บรักษาพระวาจาไว้ด้วยความเคารพ และอธิบายพระวาจาด้วยความซื่อสัตย์ และตักตวงเอาความจริงทุกข้อจากคลังแห่งความเชื่อหนึ่งเดียวนี้มาแสดงให้เห็นว่าเป็นข้อความจริงที่พระเจ้าทรงเผยให้เราต้องเชื่อ”[52]
87 บรรดาผู้มีความเชื่อซึ่งระลึกถึงพระวาจาที่พระคริสตเจ้าตรัสกับบรรดาอัครสาวกว่า “ผู้ใดฟังท่าน ผู้นั้นฟังเรา” (ลก 10:16)[53] ยอมรับคำสั่งสอนและกฎเกณฑ์ที่บรรดาผู้อภิบาลมอบให้เขาในรูปแบบต่างๆ อย่างว่านอนสอนง่าย
ข้อคำสอนเกี่ยวกับความเชื่อ
88 ผู้มีอำนาจสอนของพระศาสนจักรใช้อำนาจที่ได้รับมาจากพระคริสตเจ้าอย่างสมบูรณ์เมื่อประกาศนิยามข้อความที่ต้องเชื่อ นั่นคือเมื่อเสนอความจริงที่เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดเผยจากพระเจ้าหรือที่เกี่ยวข้องกับความจริงเหล่านี้ให้ประชากรคริสตชนจำเป็นต้องยึดมั่นไว้ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงตลอดไป
89 มีความสัมพันธ์อย่างมีระบบระหว่างชีวิตจิตของเรากับข้อคำสอนที่ต้องเชื่อ ข้อความเชื่อเป็นแสงสว่างส่องทางแก่ความเชื่อของเราและทำให้ความเชื่อมั่นคง ในทางกลับกัน ถ้าชีวิตของเราดำเนินอย่างถูกต้อง สติปัญญาและจิตใจของเราก็จะเปิดรับแสงของข้อคำสอนที่ต้องเชื่อนี้[54]
90 ความสัมพันธ์ต่อเนื่องและสอดคล้องกันของข้อความเชื่อต่างๆ อาจพบได้ในเปิดเผยพระธรรมล้ำลึก
ทั้งหมดของพระคริสตเจ้า[55] เราต้องระลึกว่าความจริงในคำสอนคาทอลิก “มีระเบียบหรือ ‘ลำดับขั้น’ เนื่องจากที่ความจริงเหล่านี้มีความต่อเนื่องกันกับพื้นฐานความเชื่อของคริสตศาสนา”[56]
ความสำนึกเหนือธรรมชาติถึงความเชื่อ
91 คริสตชนผู้มีความเชื่อทุกคนมีส่วนในการเข้าใจและถ่ายทอดความจริงที่ได้รับการเปิดเผย เขาได้รับการเจิมจากพระจิตเจ้าผู้ทรงสอน[57] และนำเขา “ไปสู่ความจริงทั้งมวล” (ยน 16:13)
92 “ผู้มีความเชื่อทั้งมวล [….] ไม่อาจผิดพลาดได้ในการเชื่อ และแสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะนี้ของตนอาศัยความสำนึกเหนือธรรมชาติถึงความเชื่อของมวลประชากร(ของพระเจ้า) เมื่อ ‘ตั้งแต่บรรดาพระสังฆราชจนถึงฆราวาสผู้มีความเชื่อคนสุดท้าย’ แสดงให้เห็นความสำนึกส่วนรวมของตนเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อจริยธรรม”[58]
93 “อาศัยความสำนึกถึงความเชื่อซึ่งพระจิตเจ้าแห่งความจริงทรงปลุกให้เกิดขึ้นและทรงคอยค้ำจุนไว้นี้ ประชากรของพระเจ้า ซึ่งมีผู้มีอำนาจสอนของพระศาสนจักรคอยแนะนำ [….] ย่อมยึดมั่นความเชื่อที่บรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ได้รับมอบไว้[59] อยู่ตลอดไปไม่มีวันเสื่อมคลาย ใช้ความเข้าใจถูกต้องใคร่ครวญความเชื่อนี้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และนำมาใช้กับชีวิตอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย”
ความเข้าใจความเชื่อต้องเติบโตขึ้น
94 อาศัยความช่วยเหลือของพระจิตเจ้า ความเข้าใจเนื้อหาสาระและถ้อยคำของคลังความเชื่ออาจเติบโตขึ้นได้ในชีวิตของพระศาสนจักร
- “ด้วยการรำพึงและศึกษาของบรรดาผู้มีความเชื่อที่เก็บรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ในจิตใจ”[60]โดยเฉพาะ “การค้นคว้าทางเทววิทยา […] ซึ่งพยายามค้นคว้าหาความรู้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นถึงความจริงที่ได้รับการเปิดเผยจากพระเจ้า”[61]
- “อาศัยความเข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับความจริงทางจิตใจที่(ผู้มีความเชื่อ)มีประสบการณ์”[62]
“พระวาจาของพระเจ้าย่อมเพิ่มพูนขึ้นพร้อมกับผู้อ่าน”[63]
- “ด้วยการประกาศสอนของบรรดาผู้สืบตำแหน่งพระสังฆราชต่อกันมาและได้รับพรพิเศษคอยประกันความจริงด้วย”[64]
95 “ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดว่า ตามแผนการอันเปี่ยมด้วยพระปรีชาของพระเจ้า ธรรรมประเพณีศักดิ์สิทธิ์ พระคัมภีร์ และอำนาจสั่งสอนของพระศาสนจักร มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างที่ว่าแต่ละอย่างจะอยู่ไม่ได้โดยไม่อาศัยอีกสองอย่าง ทั้งสามสิ่งนี้ต่างส่งเสริมความรอดพ้นของวิญญาณอย่างสัมฤทธิ์ผลตามวิธีการของตนโดยร่วมกับการกระทำของพระจิตเจ้าองค์เดียวกัน”[65]
[49] เทียบ 1 ทธ 6:20 ; 2 ทธ 1:12-14.
[50] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 10: AAS 58 (1966) 822.
[51] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 10: AAS 58 (1966) 822.
[52] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 10: AAS 58 (1966) 822.
[53] Cf. Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Lumen gentium, 20: AAS 57 (1965) 24.
[54] เทียบ ยน 8:31-32.
[55] Cf. Concilium Vaticanum I, Const. dogm. Dei Filius, c. 4: DS 3016 (mysteriorum nexus); Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Lument gentium, 25: AAS 57 (1965) 29.
[56] Concilium Vaticanum II, Decr. Unitatis redintegratio, 11: AAS 57 (1965) 99.
[57] เทียบ 1 ยน 2:20,27.
[58] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Lumen gentium, 12: AAS 57 (1965) 16.
[59] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Lumen gentium, 12: AAS 57 (1965) 16.
[60] Concilium Vaticanum II, Const. Dogm. Dei Verbum, 8: AAS 58 (1966) 821.
[61] Concilium Vaticanum II, Const. past. Gaudium et spes, 62: AAS 58 (1966) 1084; cf. Ibid., 44 : AAS 58 (1966) 1065; Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 23: AAS 58 (1966) 828; Ibid., 24: AAS 58 (1966) 828-829; Decr. Unitas redintegratio, 4: AAS 57 (1965) 94.
[62] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 8: AAS 58 (1966) 821.
[63] Sanctus Gregorius Magnus, Homilia in Ezechielem 1, 7, 8: CCL 12, 87 (PL 76, 843).
[64] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 8: AAS 58 (1966) 821.
[65] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 10: AAS 58 (1966) 822.
สรุป
สรุป
96 คำสั่งสอนที่พระคริสตเจ้าทรงมอบไว้แก่บรรดาอัครสาวกนั้น ท่านได้เทศน์สอนและบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามการดลใจของพระจิตเจ้า ถ่ายทอดสืบต่อมาให้แก่อนุชนทุกชั่วอายุตราบจนถึงการเสด็จกลับมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้า
97 “ธรรมประเพณีศักดิ์สิทธิ์และพระคัมภีร์รวมกันเป็นคลังศักดิ์สิทธิ์แต่คลังเดียวที่บรรจุพระวาจาของพระเจ้า”[66] พระศาสนจักรผู้กำลังเดินทาง(ไปพบพระเจ้า)จ้องมองเห็นพระเจ้าซึ่งเป็นบ่อเกิดความร่ำรวยทั้งมวลของตนประหนึ่งมองในกระจกเงา
98 “พระศาสนจักรใช้คำสั่งสอน การดำเนินชีวิตและคารวกิจ สงวนรักษาทุกสิ่งที่ตนเป็นและเชื่อนั้นไว้ให้ถาวรตลอดกาล และถ่ายทอดต่อไปให้แก่อนุชนทุกรุ่นทุกอายุขัย”[67]
99 ประชากรทั้งมวลของพระเจ้า โดยความสำนึกเหนือธรรมชาติถึงความเชื่อ ไม่เคยหยุดยั้งที่จะรับการเปิดเผยเป็นของประทานจากพระเจ้า และพยายามเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและดำเนินชีวิตให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจากของประทานนี้ด้วย
100 หน้าที่ที่จะอธิบายความหมายพระวาจาของพระเจ้าอย่างถูกต้องนั้น พระเจ้าทรงมอบหมายให้
พระศาสนจักรผู้มีอำนาจสอน คือสมเด็จพระสันตะปาปาและบรรดาพระสังฆราชซึ่งมีความสัมพันธ์กับพระองค์ เท่านั้นทำได้
[66] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 10: AAS 58 (1966) 822.
[67] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 8: AAS 58 (1966) 821.
ตอนที่ 3
พระคัมภีร์
I. พระคริสตเจ้า พระวาจาหนึ่งเดียวของพระคัมภีร์
I. พระคริสตเจ้า พระวาจาหนึ่งเดียวของพระคัมภีร์
101 พระเจ้าทรงประสงค์จะเปิดเผยพระองค์แก่มนุษย์ จึงทรงสำแดงความดีถ่อมพระองค์ลงใช้ถ้อยคำแบบมนุษย์ตรัสกับเขา “พระวาจาของพระเจ้าเมื่อแสดงออกเป็นภาษามนุษย์ก็เป็นเหมือนคำพูดของมนุษย์ ดังเช่นครั้งหนึ่งที่พระวจนาตถ์ของพระบิดานิรันดรทรงรับสภาพของมนุษย์ที่อ่อนแอ ทรงเป็นเหมือนมนุษย์นั่นเอง”[68]
102 อาศัยถ้อยคำทั้งหมดในพระคัมภีร์ พระเจ้าตรัสเพียงพระวาจาเดียวเท่านั้น ได้แก่ “พระวจนาตถ์” เพียงหนึ่งเดียวของพระองค์ ในพระวจนาตถ์นี้เองพระองค์ทรงสำแดงพระองค์ทั้งหมด[69]
“พี่น้องทั้งหลายจำได้ว่าพระวาจา (หรือ “พระวจนาตถ์”) หนึ่งเดียวของพระเจ้านี้แผ่ขยายอยู่ทั่วพระคัมภีร์ และดังก้องแผ่ขยายไปอาศัยปากของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ การที่พระวจนาตถ์ (หรือ “พระวาจา”) นี้ทรงเป็นพระเจ้าและประทับอยู่กับพระเจ้าตั้งแต่แรกเริ่ม พระวาจานี้จึงไม่มีหลายพยางค์ เพราะไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา”[70]
103 เพราะเหตุนี้เอง พระศาสนจักรแสดงความเคารพต่อพระคัมภีร์เสมอมาเช่นเดียวกับที่แสดงความเคารพแก่พระวรกายขององค์พระผู้เป็นเจ้า พระศาสนจักรมิได้หยุดยั้งที่จะนำอาหารเลี้ยงชีวิต
คริสตชนทั้งจากโต๊ะพระวาจาและจากโต๊ะพระกายพระคริสตเจ้าเสนอให้สัตบุรุษ[71]
104 พระศาสนจักรรับการหล่อเลี้ยงและพลังอยู่ตลอดเวลาอาศัยพระวาจาในพระคัมภีร์[72] เพราะในพระคัมภีร์นี้เองพระศาสนจักรมิได้รับเพียงวาจาของมนุษย์ แต่รับเช่นที่เป็นจริงคือ “พระวาจาของพระเจ้า”[73] “ในพระคัมภีร์ พระบิดาในสวรรค์ทรงพบกับบรรดาบุตรของพระองค์ด้วยความรักอย่างสุดซึ้งและทรงสนทนากับเขา”[74]
[68] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 13: AAS 58 (1966) 824.
[69] เทียบ ฮบ 1:1-3.
[70] Sanctus Augustinus, Enarratio in Psalmum 103, 4, 1: CCL 40, 1521 (PL 37, 1378).
[71] Cf. Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 21: AAS 58 (1966) 827.
[72] Cf. Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 24: AAS 58 (1966) 829.
[73] เทียบ 1 ธส 2:13.
[74] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 21: AAS 58 (1966) 827-828.
II. การดลใจของพระเจ้าและความจริงในพระคัมภีร์
II. การดลใจของพระเจ้าและความจริงในพระคัมภีร์
105 พระเจ้าทรงเป็นผู้นิพนธ์พระคัมภีร์ “ข้อความจริงต่างๆ ที่พระเจ้าทรงเผยให้ทราบและมีเขียนไว้ในพระคัมภีร์นั้นได้รับการบันทึกไว้ด้วยการดลใจของพระจิตเจ้า”
“พระศาสนจักรมารดาศักดิ์สิทธิ์ อาศัยความเชื่อที่สืบจากอัครสาวก ถือว่าหนังสือทุกเล่มในพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ รวมทั้งส่วนต่างๆ ทุกส่วนในหนังสือเหล่านั้นทั้งหมดเป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์และอยู่ในสารบบพระคัมภีร์ เพราะได้เขียนขึ้นโดยการดลใจของพระจิตเจ้า มีพระเจ้าทรงเป็นผู้นิพนธ์และพระศาสนจักรได้รับมอบหมายในฐานะเป็นหนังสือเช่นนี้”[75]
106 พระเจ้าทรงดลใจมนุษย์ผู้นิพนธ์หนังสือศักดิ์สิทธิ์ในพระคัมภีร์ “ในการนิพนธ์หนังสือศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ พระเจ้าทรงเลือกสรรมนุษย์ และทรงใช้เขาให้เขียนโดยใช้กำลังและความสามารถของตนอย่างที่ว่า แม้พระองค์ทรงกระทำงานในตัวเขาและทรงใช้เขาให้เขียนทุกอย่าง และเฉพาะสิ่งที่พระองค์มีพระประสงค์ให้เขาเขียนเท่านั้น เขาก็ยังเขียนอย่างผู้นิพนธ์ที่แท้จริงด้วย”[76]
107 หนังสือที่ได้รับการดลใจสอนความจริง “ดังนั้น เนื่องจากว่าทุกสิ่งที่ผู้นิพนธ์ได้รับการดลใจเขียนไว้ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่พระจิตเจ้าทรงกล่าวไว้เช่นเดียวกัน เราจึงต้องยอมรับว่าหนังสือต่างๆ ของพระคัมภีร์สอนความจริงอย่างหนักแน่น ซื่อสัตย์ และถูกต้องไม่ผิดหลง ความจริงนี้พระเจ้าทรงให้เขียนไว้ในพระคัมภีร์เพื่อความรอดพ้นของเรา”[77]
108 ถึงกระนั้นความเชื่อของคริสตชนก็ไม่ใช่ “ศาสนาตามหนังสือ” คริสตศาสนาเป็นศาสนา “ตาม พระวาจา” ของพระเจ้า พระวาจานี้ไม่ใช่ “ถ้อยคำที่เขียนไว้ไม่มีเสียง” แต่เป็น “พระวจนาตถ์ (หรือ “พระวาจา”) ซึ่งรับสภาพมนุษย์และทรงชีวิต”[78] เพื่อไม่ให้พระคัมภีร์เป็นเพียงตัวอักษรที่ตายแล้ว จึงจำเป็นที่พระคริสตเจ้า พระวจนาตถ์ (หรือ “พระวาจา”) นิรันดรของพระเจ้าผู้ทรงชีวิต จะต้องเปิดใจของเราอาศัยพระจิตเจ้า ให้เข้าใจความหมายของพระคัมภีร์”[79]
[75] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 11: AAS 58 (1966) 822-823.
[76] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 11: AAS 58 (1966) 823.
[77] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 11: AAS 58 (1966) 823.
[78] Sanctus Bernardus Claraevallensis, Homilia super “Missus est » 4, 11: Opera, ed. J.Leclercq-H.Rochais, v. 4 (Romae 1966) p. 57.
[79] เทียบ ลก 24:45.
II. การดลใจของพระเจ้าและความจริงในพระคัมภีร์
105 พระเจ้าทรงเป็นผู้นิพนธ์พระคัมภีร์ “ข้อความจริงต่างๆ ที่พระเจ้าทรงเผยให้ทราบและมีเขียนไว้ในพระคัมภีร์นั้นได้รับการบันทึกไว้ด้วยการดลใจของพระจิตเจ้า”
“พระศาสนจักรมารดาศักดิ์สิทธิ์ อาศัยความเชื่อที่สืบจากอัครสาวก ถือว่าหนังสือทุกเล่มในพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ รวมทั้งส่วนต่างๆ ทุกส่วนในหนังสือเหล่านั้นทั้งหมดเป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์และอยู่ในสารบบพระคัมภีร์ เพราะได้เขียนขึ้นโดยการดลใจของพระจิตเจ้า มีพระเจ้าทรงเป็นผู้นิพนธ์และพระศาสนจักรได้รับมอบหมายในฐานะเป็นหนังสือเช่นนี้”[75]
106 พระเจ้าทรงดลใจมนุษย์ผู้นิพนธ์หนังสือศักดิ์สิทธิ์ในพระคัมภีร์ “ในการนิพนธ์หนังสือศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ พระเจ้าทรงเลือกสรรมนุษย์ และทรงใช้เขาให้เขียนโดยใช้กำลังและความสามารถของตนอย่างที่ว่า แม้พระองค์ทรงกระทำงานในตัวเขาและทรงใช้เขาให้เขียนทุกอย่าง และเฉพาะสิ่งที่พระองค์มีพระประสงค์ให้เขาเขียนเท่านั้น เขาก็ยังเขียนอย่างผู้นิพนธ์ที่แท้จริงด้วย”[76]
107 หนังสือที่ได้รับการดลใจสอนความจริง “ดังนั้น เนื่องจากว่าทุกสิ่งที่ผู้นิพนธ์ได้รับการดลใจเขียนไว้ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่พระจิตเจ้าทรงกล่าวไว้เช่นเดียวกัน เราจึงต้องยอมรับว่าหนังสือต่างๆ ของพระคัมภีร์สอนความจริงอย่างหนักแน่น ซื่อสัตย์ และถูกต้องไม่ผิดหลง ความจริงนี้พระเจ้าทรงให้เขียนไว้ในพระคัมภีร์เพื่อความรอดพ้นของเรา”[77]
108 ถึงกระนั้นความเชื่อของคริสตชนก็ไม่ใช่ “ศาสนาตามหนังสือ” คริสตศาสนาเป็นศาสนา “ตาม พระวาจา” ของพระเจ้า พระวาจานี้ไม่ใช่ “ถ้อยคำที่เขียนไว้ไม่มีเสียง” แต่เป็น “พระวจนาตถ์ (หรือ “พระวาจา”) ซึ่งรับสภาพมนุษย์และทรงชีวิต”[78] เพื่อไม่ให้พระคัมภีร์เป็นเพียงตัวอักษรที่ตายแล้ว จึงจำเป็นที่พระคริสตเจ้า พระวจนาตถ์ (หรือ “พระวาจา”) นิรันดรของพระเจ้าผู้ทรงชีวิต จะต้องเปิดใจของเราอาศัยพระจิตเจ้า ให้เข้าใจความหมายของพระคัมภีร์”[79]
[75] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 11: AAS 58 (1966) 822-823.
[76] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 11: AAS 58 (1966) 823.
[77] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 11: AAS 58 (1966) 823.
[78] Sanctus Bernardus Claraevallensis, Homilia super “Missus est » 4, 11: Opera, ed. J.Leclercq-H.Rochais, v. 4 (Romae 1966) p. 57.
[79] เทียบ ลก 24:45.
III. พระจิตเจ้าคือผู้อธิบายความหมายของพระคัมภีร์
III. พระจิตเจ้าคือผู้อธิบายความหมายของพระคัมภีร์
109 ในพระคัมภีร์ พระเจ้าตรัสกับมนุษย์ตามแบบอย่างมนุษย์ ดังนั้น เพื่ออธิบายความหมาย
พระคัมภีร์ได้ถูกต้องจึงจำเป็นต้องเอาใจใส่คำนึงถึงความหมายที่มนุษย์ผู้เขียนต้องการจะบอก และถึงพระประสงค์ที่พระเจ้าทรงต้องการจะเปิดเผยแก่เราจริงๆ ด้วยพระวาจาของพระองค์[80]
110 เพื่อจะทราบความประสงค์ของผู้นิพนธ์พระคัมภีร์ เราต้องพิจารณาถึงสภาพของกาลเวลาและวัฒนธรรมของเขา สภาพของ “รูปแบบวรรณกรรม” ที่ใช้กันในสมัยนั้น สภาพของวิธีการรับรู้ พูดจาและเล่าเรื่องที่ใช้กันในขณะนั้น “เพราะว่าความจริงในตัวบทนั้นแสดงออกด้วยวิธีการแตกต่างกัน แล้วแต่ว่าตัวบทนั้นจะเป็นแบบประวัติศาสตร์ แบบประกาศก หรือแบบกวีนิพนธ์ หรือแบบเขียนอื่นๆ”[81]
111 แต่เพราะพระคัมภีร์ได้รับการดลใจจากพระเจ้า จึงยังต้องมีหลักการอีกประการหนึ่งเพื่ออธิบายความหมายอย่างถูกต้อง หลักการนี้มีความสำคัญไม่น้อยกว่าหลักการที่กล่าวแล้วก่อนหน้านี้เพื่อมิให้พระคัมภีร์เป็นเพียง “ตัวอักษรที่ตายแล้ว” “เราต้องอ่านและเข้าใจพระคัมภีร์อาศัยพระจิตเจ้า
องค์เดียวกันกับที่ทรงดลใจให้เขียน”[82]
สภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 จึงเสนอ มาตรการสามประการ เพื่ออธิบายความหมายของพระคัมภีร์ตามที่พระจิตเจ้าทรงดลใจให้เขียนไว้[83] ดังต่อไปนี้
112 ให้ความเอาใจใส่อย่างมาก “ต่อเนื้อหาและเอกภาพของพระคัมภีร์ทั้งหมด” แม้หนังสือฉบับต่างๆที่ประกอบเป็นพระคัมภีร์จะมีความแตกต่างกันอย่างมาก แต่พระคัมภีร์ก็มีหนึ่งเดียวจากเหตุผลที่ว่าพระเจ้าทรงมีแผนการเพียงหนึ่งเดียวที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นศูนย์กลางและหัวใจที่เปิดออกหลังจากปัสกาของพระองค์[84]
“หัวใจ[85] ของพระคริสตเจ้าหมายถึงพระคัมภีร์ซึ่งเปิดเผยให้เห็นพระหทัยของพระคริสตเจ้า พระหทัยนี้ปิดอยู่ก่อนทรงรับทรมาน เพราะยังเข้าใจได้ไม่ชัดเจน แต่ได้เปิดออกหลังจากทรงรับทรมานแล้ว เพราะผู้ที่พิจารณาพระทรมานก็เข้าใจและแลเห็นชัดเจนว่าถ้อยคำของบรรดาประกาศกต้องได้รับการอธิบายอย่างไร”[86]
113 อ่านพระคัมภีร์ “โดยคำนึงถึงธรรมประเพณีที่ยังเป็นปัจจุบันของพระศาสนจักรทั้งหมด” บรรดาปิตาจารย์สอนว่าพระคัมภีร์ถูกบันทึกไว้ในใจของพระศาสนจักรมากกว่าในเอกสารที่เขียนไว้[87] พระศาสนจักรเก็บรักษาความทรงจำที่ยังเป็นปัจจุบันถึงพระวจนาตถ์ของพระเจ้าไว้ในธรรมประเพณีของตน และพระจิตเจ้าทรงเสนอคำอธิบายพระคัมภีร์ในด้านจิตใจให้แก่พระศาสนจักร (“.....ตามความหมายด้านจิตใจที่พระจิตเจ้าประทานให้แก่พระศาสนจักร”)[88]
114 เอาใจใส่คำนึงถึงความสอดคล้องของความเชื่อ (Analogia fidei)[89] วลี “ความสอดคล้องของความเชื่อ” หมายความว่าเราเข้าใจว่าความจริงต่างๆ ที่ความเชื่อสอนนั้นมีความต่อเนื่องกันและรวมอยู่ในแผนการทั้งหมดของการเปิดเผยความจริง
ความหมายต่างๆ ของพระคัมภีร์
115 ตามธรรมประเพณีโบราณ เราอาจแบ่งความหมายของพระคัมภีร์ได้เป็น 2 แบบ คือ “ความหมายตามตัวอักษร” และ “ความหมายทางจิตวิญญาณ” ความหมายหลังนี้ยังแบ่งออกได้อีกเป็น ความหมายแบบอุปมานิทัศน์ (allegorical sense) ความหมายทางศีลธรรม (moral sense) และความหมายทางแนะนำ (anagogical sense) ความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งของความหมายทั้ง 4 แบบนี้ช่วยให้การอ่านพระคัมภีร์ให้เป็นปัจจุบันในพระศาสนจักรมีคุณค่าอย่างเต็มที่
116 ความหมายตามตัวอักษร เป็นความหมายที่มาจากถ้อยคำของพระคัมภีร์และวิชาอธิบายความหมายได้ค้นพบตามหลักการอธิบายความหมายที่ถูกต้อง “ความหมายทั้งหลาย [ของพระคัมภีร์] มีรากฐานตั้งอยู่บนความหมายตามตัวอักษร”[90]
117 ความหมายทางจิตวิญญาณ เนื่องจากว่าแผนการของพระเจ้ามีเอกภาพ นอกจากตัวบทของพระคัมภีร์แล้ว สิ่งของและเหตุการณ์ที่ตัวบทกล่าวถึงก็ยังเป็นเครื่องหมายได้ด้วย
1. ความหมายแบบอุปมานิทัศน์ - เราอาจเข้าใจความหมายของเหตุการณ์ต่างๆ ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยแลเห็นว่าเหตุการณ์เหล่านั้นมีความหมายเกี่ยวข้องกับพระคริสตเจ้าด้วย เช่นการข้ามทะเลแดงเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระคริสตเจ้า และดังนี้จึงหมายถึงศีลล้างบาป[91]
2. ความหมายทางศีลธรรม - เหตุการณ์ต่างๆ ที่พระคัมภีร์เล่าไว้ต้องนำพวกเราให้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง เรื่องราวเหล่านี้บันทึกไว้ “เพื่อเตือนสติเรา” (1 คร 10:11)[92]
3. ความหมายทางแนะนำ – ยังอาจเป็นไปได้เช่นเดียวกันด้วยที่จะพิจารณาเห็นว่าสิ่งของและเหตุการณ์ต่างๆ ในพระคัมภีร์นำพวกเรา (จากคำภาษากรีก ‘anagoge’ ซึ่งแปลว่า “นำทาง”) ไปยังบ้านแท้ และดังนี้พระศาสนจักรบนแผ่นดินจึงเป็นเครื่องหมายของกรุงเยรูซาเล็มในสวรรค์[93]
118 คำประพันธ์สั้นๆ จากสมัยกลางบอกว่าความหมายทั้งสี่แบบนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร
“Littera gesta docet, quid credas allegoria,
moralis quid agas, quo tendas anagogia”[94] ซึ่งอาจแปลได้ว่า
“ตัวอักษรบอกว่าเกิดอะไรขึ้น อุปมานิทัศน์บอกว่าท่านต้องเชื่ออะไร
ศีลธรรมบอกว่าต้องประพฤติตนอย่างไร การแนะนำบอกว่าท่านกำลังมุ่งไปไหน”
119 “เป็นหน้าที่ของผู้อธิบายพระคัมภีร์ที่จะทำงานตามกฎเกณฑ์เหล่านี้เพื่อเข้าใจและแสดงความหมายของพระคัมภีร์ได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น การศึกษาเช่นนี้จะได้เป็นการเตรียมให้พระศาสนจักรตัดสินได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น เหตุว่าเรื่องต่างๆ เหล่านี้ทั้งสิ้นเกี่ยวกับวิธีอธิบายพระคัมภีร์ย่อมอยู่ในการวินิจฉัยของพระศาสนจักรเป็นขั้นสุดท้าย พระศาสนจักรปฏิบัติเช่นนี้ตามที่ได้รับมอบหมายจากพระเจ้าให้มีหน้าที่รับใช้ในการเก็บรักษาและอธิบายพระวาจาของพระองค์นั่นเอง”[95]
“ข้าพเจ้าคงไม่เชื่อพระวรสาร ถ้าอำนาจสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกไม่ได้ปลุกให้ข้าพเจ้าทำเช่นนั้น”[96]
[80] Cf. Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 12: AAS 58 (1966) 823.
[81] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 12: AAS 58 (1966) 823.
[82] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 12: AAS 58 (1966) 824.
[83] Cf. Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 12: AAS 58 (1966) 824.
[84] เทียบ ลก 24:25-27,44-46.
[85] เทียบ สดด 22:14.
[86] Sanctus Thomas Aquinas, Expositio in Psalmos, 21, 11: Opera Omnia, v. 18 (Parisiis 1876) p. 350.
[87] Cf. Sanctus Hilarius Pictavensis, Liber ad Constantium Imperatorem 9: CSEL 65, 204 (PL 10, 570); Sanctus Hieronymus, Commentarius in epistulam ad Galatas 1,1, 11-12: PL 26, 347.
[88] Origenes, Homiliae in Leviticum, 5,5: SC 286, 228 (PG 12, 454).
[89] เทียบ รม 12:6.
[90] Sanctus Thomas Aquinas, Summa theologiae 1, q. 1, a. 10, ad 1: Ed. Leon. 4, 25.
[91] เทียบ 1 คร 10:2.
[92] เทียบ ฮบ 3:1 – 4:11.
[93] เทียบ วว 21:1 – 22:5.
[94] Augustinus de Dacia, Rotulus pugillaris, I: ed. A. Walz: Angelicum 6 (1929) 256.
[95] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 12: AAS 58 (1966) 824.
[96] Sanctus Augustinus, Contra epistulam Manichaei quam vocant fundamenti, 5, 6: CSEL 25, 197 (PL 42, 176).
IV. สารบบพระคัมภีร์
IV. สารบบพระคัมภีร์
120 ธรรมประเพณีที่ได้รับสืบทอดมาจากบรรดาอัครสาวกช่วยให้พระศาสนจักรรู้ว่าหนังสือเล่มใดอยู่ในรายชื่อหนังสือพระคัมภีร์[97] รายชื่อหนังสือเหล่านี้ทั้งหมดเรียกว่า “สารบบพระคัมภีร์” ซึ่งรวมหนังสือ 46 เล่มในพันธสัญญาเดิม (หรือ 45 เล่มถ้ารวมหนังสือเพลงคร่ำครวญเป็นเล่มเดียวกับประกาศกเยเรมีย์) และ 27 เล่มในพันธสัญญาใหม่[98] หนังสือเหล่านี้ได้แก่
พันธสัญญาเดิม – ปฐมกาล, อพยพ, เลวีนิติ, กันดารวิถี, เฉลยธรรมบัญญัติ, โยชูวา, ผู้วินิจฉัย, นางรูธ, ซามูเอล 2 ฉบับ, พงศ์กษัตริย์ 2 ฉบับ, พงศาวดาร 2 ฉบับ, เอสราและเนหะมีย์, โทบิต, ยูดิธ, เอสเธอร์, มัคคาบี 2 ฉบับ. โยบ, เพลงสดุดี, สุภาษิต, ปัญญาจารย์, เพลงซาโลมอน, ปรีชาญาณ, บุตรสิรา, อิสยาห์, เยเรมีย์, เพลงคร่ำครวญ, บารุค, เอเสเคียล, ดาเนียล, โฮเชยา, โยเอล, อาโมส, โอบาดียาห์, โยนาห์, มีคาห์, นาฮูม, ฮาบากุก, เศฟันยาห์, ฮักกัย, เศคาริยาห์, มาลาคี
พันธสัญญาใหม่ – พระวรสารตามคำบอกเล่าของมัทธิว, มาระโก, ลูกา, และยอห์น, กิจการของอัครสาวก, จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม, ถึงชาวโครินธ์ฉบับที่ 1-2, ถึงชาวกาลาเทีย, ถึงชาวเอเฟซัส, ถึงชาวฟีลิปปี, ถึงชาวโคโลสี, ถึงชาวเธสะโลนิกาฉบับที่ 1-2, ถึงทิโมธีฉบับที่ 1-2, ถึงทิตัส, ถึงฟีเลโมน, จดหมายถึงชาวฮีบรู, จดหมายของยากอบ, ของเปโตรฉบับที่ 1-2, ของยอห์น 3 ฉบับ, จดหมายของยูดา, และวิวรณ์
พันธสัญญาเดิม
121 พันธสัญญาเดิมเป็นส่วนที่จะทิ้งเสียมิได้ของพระคัมภีร์ หนังสือต่างๆ ของพันธสัญญาเดิมได้รับการดลใจให้เขียนจึงมีคุณค่าถาวร[99] เพราะพระเจ้าจะไม่ทรงยกเลิกพันธสัญญาเดิมเป็นอันขาด
122 อันที่จริง “พระเจ้าทรงจัดแผนการของพันธสัญญาเดิมไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะ คือเพื่อเตรียมการเสด็จมาของพระคริสตเจ้า พระผู้ไถ่แห่งสากลโลก [.....]” “แม้ว่าหนังสือพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมเหล่านี้บันทึกบางสิ่งบางอย่างที่ยังไม่สมบูรณ์และเป็นเพียงของชั่วคราวไว้ก็จริง แต่ก็แสดงให้เห็นวิธีอบรมแท้จริงของพระเจ้า” หนังสือเหล่านี้ “เป็นที่รวบรวมพระธรรมคำสอนสูงส่งเรื่องพระเจ้า รวมทั้งความปรีชาที่มีประโยชน์เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ และยังเป็นคลังคำภาวนาต่างๆ อย่างน่าพิศวง และในที่สุดยังซ่อนธรรมล้ำลึกเรื่องการไถ่กู้ไว้อีกด้วย”[100]
123 บรรดาคริสตชนให้ความเคารพต่อพันธสัญญาเดิมว่าเป็นพระวาจาแท้จริงของพระเจ้า
พระศาสนจักรยึดมั่นไม่เคยยอมรับความคิดที่จะละทิ้งพันธสัญญาเดิมโดยอ้างว่าพันธสัญญาใหม่ทำให้พันธสัญญาเดิมไม่มีความหมายอีกต่อไปเลย (ความคิดนี้เป็นของลัทธิมาร์โชน)
พันธสัญญาใหม่
124 “พระวาจาของพระเจ้า ซึ่งเป็นฤทธานุภาพของพระองค์และนำความรอดพ้นมาให้ทุกคนที่มีความเชื่อ ปรากฏและแสดงพลังอย่างเลิศล้ำในข้อเขียนของพันธสัญญาใหม่”[101] ข้อเขียนเหล่านี้มอบความจริงที่พระเจ้าทรงเปิดเผยให้เรารู้โดยสมบูรณ์ เรื่องราวที่เป็นศูนย์กลางของข้อเขียนเหล่านี้คือพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงรับสภาพมนุษย์ พระจริยวัตร คำสั่งสอน
พระทรมานและการที่ทรงรับพระสิริรุ่งโรจน์ เช่นเดียวกับการเริ่มต้นของพระศาสนจักรโดยที่พระจิตเจ้าทรงช่วยอุดหนุน[102]
125 พระวรสาร คือหัวใจของพระคัมภีร์ทั้งหมด “เพราะเป็นพยานสำคัญถึงพระชนมชีพและคำสั่งสอน
ของพระวจนาตถ์ผู้ทรงรับสภาพมนุษย์ พระผู้ไถ่ของเรา”[103]
126 เราอาจแบ่งขั้นตอนการรวบรวมพระวรสารได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. พระชนมชีพและการเทศน์สอนของพระเยซูเจ้า พระศาสนจักรยึดถืออย่างมั่นคงว่า พระวรสารทั้งสี่ฉบับ “บันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์จริงๆ บอกอย่างซื่อสัตย์ให้เรารู้ถึงสิ่งที่พระเยซูเจ้า พระบุตรของพระเจ้า ทรงกระทำและทรงสั่งสอนจริงๆ ขณะที่ทรงพระชนม์อยู่ท่ามกลางมนุษย์จนถึงวันที่เสด็จสู่สวรรค์”
2. ธรรมประเพณีเล่าสืบต่อมาเป็นคำพูด “เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์แล้ว บรรดาอัครสาวกก็ถ่ายทอดสิ่งที่พระองค์เคยตรัสและเคยทรงกระทำให้ผู้ฟังต่อมาด้วยความเข้าใจที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เขาได้รับความเข้าใจนี้จากเหตุการณ์รุ่งโรจน์ต่างๆ ของพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ และได้รับการสั่งสอนจากความสว่างของพระจิตเจ้าแห่งความจริง”
3. พระวรสารที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร “ผู้นิพนธ์ได้เขียนพระวรสารทั้งสี่ฉบับ โดยคัดเลือกเอาบางสิ่งบางอย่างจากเหตุการณ์และจากพระวาจาจำนวนมากมายที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาโดยเล่าด้วยปากต่อปากหรือที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว และยังสังเคราะห์บางเรื่องเข้าด้วยกัน หรืออธิบายโดยคำนึงถึงสภาพการณ์ของกลุ่มคริสตชนต่างๆ โดยยังยึดถือรูปแบบการประกาศข่าวดีไว้เสมอ และดังนี้เขาจึงถ่ายทอดความจริงเกี่ยวกับพระเยซูเจ้าให้แก่เราด้วยความจริงใจ”[104]
127 พระวรสารทั้งสี่ฉบับมีความสำคัญเป็นพิเศษในพระศาสนจักร ดังจะเห็นได้ชัดจากความเคารพนับถือที่พระวรสารได้รับจากพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ และในอิทธิพลที่พระวรสารมีต่อบรรดานักบุญในทุกสมัย
“ไม่มีคำสอนใดยิ่งใหญ่ ดี ประเสริฐ หรือรุ่งโรจน์กว่าข้อความในพระวรสาร ท่านทั้งหลายจงดู จงยึดมั่นสิ่งที่พระคริสตเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าและพระอาจารย์ของเราทรงสั่งสอนทั้งด้วยพระวาจาและด้วยพระแบบฉบับ”[105]
“พระวรสารมีที่อยู่ในการอธิษฐานภาวนาของข้าพเจ้าเหนือทุกสิ่ง ในพระวรสารข้าพเจ้าพบทุกสิ่งที่จำเป็นสำหรับวิญญาณยากจนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าค้นพบแสงสว่างใหม่ ความหมายลึกลับที่ซ่อนอยู่ในพระวรสารเสมอ”[106]
เอกภาพของพันธสัญญาเดิมกับพันธสัญญาใหม่
128 นับตั้งแต่สมัยอัครสาวก[107] และตลอดเวลาต่อมาในธรรมประเพณี พระศาสนจักรอธิบายเอกภาพแผนการของพระเจ้าในพันธสัญญาทั้งสองโดยทฤษฎีเรื่อง “รูปแบบ” (typology) ทฤษฎีนี้มองเห็นล่วงหน้าว่ากิจการที่เกิดขึ้นในพันธสัญญาเดิมนั้นพระเจ้าทรงบันดาลให้สำเร็จบริบูรณ์ในองค์พระบุตรซึ่งทรงรับสภาพมนุษย์เมื่อเวลาที่กำหนดไว้มาถึง
129 ดังนั้น คริสตชนจึงอ่านพันธสัญญาเดิมโดยคำนึงถึงพระคริสตเจ้าที่ได้สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว การอ่านโดยคำนึงถึง “รูปแบบ” เช่นนี้เปิดเผยเนื้อหาที่ไม่มีวันเหือดแห้งของพันธสัญญาเดิม การอ่านเช่นนี้ต้องไม่ทำให้ลืมว่าพันธสัญญาเดิมยังรักษาคุณค่าการ
เปิดเผยของตน ดังที่องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราทรงย้ำถึงด้วย[108] นอกจากนั้น พันธสัญญาใหม่ยังเรียกร้องให้เราอ่านโดยคำนึงถึงพันธสัญญาเดิมด้วย การสอนคำสอน คริสตศาสนาในสมัยเริ่มแรกก็อ้างถึงพันธสัญญาเดิมอยู่ตลอดเวลา[109] ตามคำพังเพยโบราณ “พันธสัญญาใหม่ซ่อนอยู่ใน
พันธสัญญาเดิม ขณะที่พันธสัญญาเดิมปรากฏชัดในพันธสัญญาใหม่”[110]
130 ทฤษฎีเรื่องรูปแบบแสดงถึงพลังก้าวหน้าที่ทำให้แผนการของพระเจ้าสำเร็จเป็นจริงเมื่อพระเจ้าจะทรงเป็น “ทุกสิ่งในทุกคน” (1คร 15:28) และดังนี้การที่ทรงเรียกบรรดาบรรพบุรุษและการอพยพออกจากอียิปต์ก็ไม่ได้สูญเสียคุณค่าของตนในแผนการของพระเจ้าเพราะเป็นเพียงขั้นตอนระหว่างกลางของแผนการนี้เท่านั้น
[97] Cf. Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 8: AAS 58 (1966) 821.
[98] Cf. Decretum Damasi: DS 1790180; Concilium Florentinum, Decretum pro Iacobitis: DS 1334-1336; Concilium tridentinum, Sess. 4, Decretum de Libris Sacris et de traditionibus recipiendis: DS 1501-1504.
[99] Cf. Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 14: AAS 58 (1966) 825.
[100] Cf. Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 15: AAS 58 (1966) 825.
[101] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 17: AAS 58 (1966) 826.
[102] Cf. Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 20: AAS 58 (1966) 827.
[103] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 18: AAS 58 (1966) 826.
[104] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 19: AAS 58 (1966) 826-827.
[105] Sancta Caesaria Iunior, Epistula ad Richildam et Radegundem: SC 345, 480.
[106] Sancta Theresia a Iesu Infante, Manuscrit A, 8v: Manuscrits autobiographiques (Paris 1992) p. 268.
[107] เทียบ 1 คร 10:6,11 ; ฮบ 10:1 ; 1 ปต 3:21.
[108] เทียบ มก 12:29-31.
[109] เทียบ 1 คร 5:6-8; 10:1-11.
[110] Sanctus Augustinus, Quaestiones in Heptateucum 2, 73: CCL 33, 106 (PL 34, 623); Cf. Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 16: AAS 58 (1966) 825.
V. พระคัมภีร์ในชีวิตของพระศาสนจักร
V. พระคัมภีร์ในชีวิตของพระศาสนจักร
131 “มีพละกำลังและประสิทธิภาพมากมายในพระวาจาของพระเจ้า จนว่าพระวาจานั้นค้ำจุนและเป็นพลังของพระศาสนจักร เป็นอาหารเลี้ยงวิญญาณและเป็นธารบริสุทธิ์ไม่มีวันเหือดแห้งของชีวิตฝ่ายวิญญาณสำหรับบุตรของพระศาสนจักร”[111] “คริสตชนทุกคนต้องมีโอกาสเข้าถึงพระคัมภีร์ได้โดยสะดวก”[112]
132 “การศึกษาพระคัมภีร์ต้องเป็นเสมือนวิญญาณของเทววิทยา ศาสนบริการเกี่ยวกับพระวาจา
ซึ่งหมายถึงการเทศน์สอนตามหน้าที่อภิบาล การสอนคำสอนและการอบรมตามนัยพระคริสตธรรมทุกอย่าง ซึ่งมีการเทศน์ในมิสซาเป็นส่วนสำคัญอย่างพิเศษนั้น ต้องได้รับการหล่อเลี้ยงอย่างดีและเจริญเติบโตอย่างศักดิ์สิทธิ์อาศัยพระวาจาจากพระคัมภีร์นี่เอง”[113]
133 พระศาสนจักร “ขอเตือนอย่างหนักแน่นเป็นพิเศษ […] ให้คริสตชนทุกคนอ่านพระคัมภีร์บ่อยๆเพื่อจะได้เรียนรู้ ‘ความรู้ล้ำเลิศถึงพระเยซูคริสตเจ้า’ (ฟป 3:8) ‘เพราะการไม่รู้พระคัมภีร์คือการไม่รู้จักพระคริสตเจ้า’”[114]
[111] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 21: AAS 58 (1966) 828.
[112] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 22: AAS 58 (1966) 828.
[113] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 24: AAS 58 (1966) 829.
[114] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 25: AAS 58 (1966) 829; Cf. Sanctus Hieomymus, Commentarii in Isaiam, Prologus: CCL 73, 1 (PL 24, 17).
สรุป
สรุป
134 พระคัมภีร์ทั้งหมดเป็นหนังสือเล่มเดียว และหนังสือเล่มเดียวนี้ก็คือพระคริสตเจ้า “เพราะพระคัมภีร์ทั้งหมดกล่าวถึงพระคริสตเจ้า และพระคัมภีร์ทั้งหมดสำเร็จเป็นจริงในพระคริสตเจ้า”[115]
135 “พระคัมภีร์บรรจุพระวาจาของพระเจ้า และเนื่องด้วยพระคัมภีร์เขียนขึ้นโดยการดลใจของพระเจ้า จึงเป็นพระวาจาของพระเจ้าอย่างแท้จริง”[116]
136 พระเจ้าทรงเป็นผู้นิพนธ์พระคัมภีร์โดยทรงดลใจผู้นิพนธ์ที่เป็นมนุษย์ พระองค์ทรงทำงานในตัวเขาและทรงใช้เขา จึงทำให้ข้อเขียนของเขาสอนความจริงที่ช่วยให้รอดพ้นโดยไม่มีความผิดหลง[117]
137 การอธิบายความหมายพระคัมภีร์ที่ได้รับการดลใจก่อนอื่นจึงต้องคำนึงถึงความจริงที่พระเจ้าทรงประสงค์เปิดเผยโดยผู้นิพนธ์พระคัมภีร์เพื่อความรอดพ้นของเรา เราจะเข้าใจสิ่งที่มาจากพระจิตเจ้าได้อย่างสมบูรณ์ก็โดยอาศัยการกระทำของพระจิตเจ้าเท่านั้น[118]
138 พระศาสนจักรรับรองและให้ความเคารพนับถือต่อหนังสือ 46 ฉบับของพันธสัญญาเดิม และ 27 ฉบับของพันธสัญญาใหม่ว่าเป็นหนังสือที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้า
139 พระวรสารสี่ฉบับมีความสำคัญที่สุด เพราะพระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นศูนย์กลางของพระวรสาร
140 เอกภาพของพันธสัญญาทั้งสองสืบเนื่องมาจากเอกภาพของแผนการและการเปิดเผยของพระเจ้า พันธสัญญาเดิมเตรียมพันธสัญญาใหม่ ซึ่งทำให้พันธสัญญาเดิมสมบูรณ์ พันธสัญญาทั้งสองช่วยอธิบายกัน พันธสัญญาทั้งสองเป็นพระวาจาแท้จริงของพระเจ้า
141 “พระศาสนจักรแสดงความเคารพต่อพระคัมภีร์เสมอมาเช่นเดียวกับที่แสดงความเคารพต่อพระกายของพระคริสตเจ้า”[119] ทั้งสองสิ่งนี้หล่อเลี้ยงและควบคุมชีวิตคริสตชนทั้งหมด “พระวาจาของพระองค์เป็นโคมส่องทางของข้าพเจ้า เป็นแสงสว่างส่องทางเดินให้ข้าพเจ้า” (สดด 119:105; เทียบ อสย 50:4)
[115] Hugo de Sancto Victore, De Arca Noe, 2, 8: PL 176, 642 ; cf. Ibid. 2, 9: PL 176, 642-643.
[116] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 24: AAS 58 (1966) 829.
[117] Cf. Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 11: AAS 58 (1966) 822-823.
[118] Cf. Origenes, Homilia in Exodum, 4, 5: SC 321, 128 (PG 12, 320).
[119] Concilium Vaticanum II, Const. dogm. Dei Verbum, 21: AAS 58 (1966) 827.