คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

7. การสอนคำสอนกับผู้อพยพย้ายถิ่น

273.       การย้ายถิ่นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เกี่ยวข้องกับบุคคลและครอบครัวหลายล้านคนที่อพยพภายในประเทศของตน โดยทั่วไปในรูปแบบของการขยายตัวของเมือง หรือในบางครั้งการเปลี่ยนจากที่มีอันตรายไปยังประเทศและทวีปใหม่ๆ สาเหตุของปัญหานี้รวมถึงความขัดแย้งที่ใช้อาวุธ ความรุนแรง การเบียดเบียนข่มเหง การละเมิดเสรีภาพและศักดิ์ศรีของบุคคล ความยากจน สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนย้ายของคนงานที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ “นี่เป็นปรากฏการณ์ที่น่าตะลึงเนื่องจากมีผู้คนจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับปัญหา  เศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  ปัญหาทางวัฒนธรรมและศาสนาที่ก่อให้เกิดขึ้น และความท้าทายอันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับประเทศต่างๆ และประชาคมระหว่างประเทศ”[36] พระศาสนจักรท้องถิ่นทุกแห่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นประเทศต้นทาง ทางผ่าน หรือปลายทางของผู้อพยพย้ายถิ่น มีกรณีไม่น้อย ที่กระบวนการอพยพไม่เพียงเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านมนุษยธรรมที่ร้ายแรงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการละทิ้งการปฏิบัติทางศาสนา และวิกฤตของความเชื่อมั่นในความเชื่อ

 

274.       พระศาสนจักรในฐานะ “แม่ที่ไร้ขอบเขตและไร้พรมแดน”[37]  ยินดีต้อนรับผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัย แบ่งปันพระพรแห่งความเชื่อกับพวกเขาพระศาสนจักรมีส่วนร่วมในโครงสร้างของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการต้อนรับ และรับความเจ็บปวดเพื่อเป็นประจักษ์พยานถึงพระวรสารในบริบทเหล่านี้ด้วย “พระศาสนจักรส่งเสริมโครงการเพื่อการประกาศข่าวดีและการเป็นเพื่อนร่วมทางกับผู้อพยพย้ายถิ่นตลอดการเดินทางของพวกเขา จากประเทศต้นทางผ่านประเทศที่เดินทางข้ามไปเพื่อไปยังประเทศที่ให้การต้อนรับ โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษในการตอบสนองความต้องการฝ่ายจิตของพวกเขาโดยทางการสอนคำสอน พิธีกรรม และการเฉลิมฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ”[38]การสอนคำสอนกับผู้อพยพย้ายถิ่นในช่วงเวลาของการต้อนรับครั้งแรกมีหน้าที่รักษาความไว้วางใจในความใกล้ชิด และพระญาณเอื้ออาทรของพระบิดา ในลักษณะที่ความปวดร้าวและความหวังของผู้ที่ออกเดินทางอาจได้รับการส่องสว่างด้วยความเชื่อ ควรให้ความสนใจในการสอนคำสอนร่วมกับชุมชนที่ให้ การต้อนรับ ควรได้รับการสนับสนุนให้ปฏิบัติหน้าที่ของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและต่อสู้กับอคติเชิงลบ “การสอนคำสอนนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการอ้างถึงปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้นก่อนและมาพร้อมกับการอพยพย้ายถิ่น เช่น ปัญหาด้านประชากร สภาพของงานและการทำงาน (การทำงานที่ผิดกฎหมาย) การเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุจำนวนมาก อาชญากรรม  การแสวงประโยชน์จากผู้อพยพ”[39]  และการค้ามนุษย์  อาจเป็นผลที่จะทำความคุ้นเคยกับชุมชนคาทอลิกในท้องถิ่นด้วยรูปแบบลักษณะเฉพาะของความเชื่อ พิธีกรรม และการอุทิศตนของผู้อพยพย้ายถิ่น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากประสบการณ์ของความเป็นคาทอลิกของพระศาสนจักร

 

275.       ในกรณีที่เป็นไปได้  การจัดการคำสอนที่คำนึงถึงวิธีการทำความเข้าใจและปฏิบัติตามความเชื่อตามแบบฉบับของประเทศต้นทาง ถือเป็นการสนับสนุนที่มีคุณค่าสำหรับชีวิตคริสตชนของผู้อพยพย้ายถิ่น เหนืออื่นใดสำหรับคนรุ่นแรก ความสำคัญอย่างยิ่งนั้นยึดติดกับการใช้ภาษาแม่ เพราะเป็นรูปแบบแรกของการแสดงออกถึงตัวตนของพวกเขา พระศาสนจักรมีรูปแบบเฉพาะของการอภิบาลสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่น ซึ่งคำนึงถึงลักษณะทางวัฒนธรรมและศาสนาของพวกเขา  คงเป็นเรื่องไม่ยุติธรรมที่จะเพิ่มการรบกวนมากมายที่พวกเขาได้ประสบกับการสูญเสียเอกลักษณ์ทางพิธีการและทางศาสนาของพวกเขาไปแล้ว[40] ยิ่งกว่านั้น ผู้อพยพย้ายถิ่นคริสตชนที่เจริญชีวิตความเชื่อของตนกลายเป็นผู้ประกาศ พระวรสารในประเทศที่ได้รับการต้อนรับ  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้องค์ประกอบฝ่ายจิตของพระศาสนจักรท้องถิ่นมีคุณค่ามากขึ้น  และเสริมสร้างพันธกิจด้วยวัฒนธรรมและประเพณีทางศาสนาของตนเอง

 

276.       เพื่อรับประกันการอภิบาลในขอบข่ายของคำสอนให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของผู้อพยพย้ายถิ่นให้มากที่สุด มักเป็นความสามารถจัดการตนเองได้ (sui iuris) ของพระศาสนจักรต่างๆ ที่แตกต่างกันโดยมีธรรมประเพณีทางเทววิทยา พิธีกรรมและธรรมประเพณีฝ่ายจิตของตนเอง สิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้องมีการเสวนาและการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดที่สุดระหว่างพระศาสนจักรต้นทางและพระศาสนจักรที่ต้อนรับ การทำงานร่วมกันนี้ช่วยให้สามารถรับเนื้อหาด้านคำสอนที่เป็นภาษาแรกและประเพณีของผู้เรียน และช่วยในการเตรียมครูคำสอนอย่างเพียงพอต่อภารกิจในการเป็นเพื่อนร่วมทางกับผู้อพยพย้ายถิ่นในการเดินทางแห่งความเชื่อ ควรปฏิบัติตามบรรทัดฐานของประมวลกฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิกและประมวลกฎหมายของพระศาสนจักรตะวันออก

 

[36] Benedict XVI, Encyclical Letter Caritas in veritate (29th June 2009), 62.   

[37] Francis, Address to participants in the 7th Congress for the pastoral care of migrants (21st November 2014), 6.       

[38] Ibid.,4.Cf also John Paul II, Post-Synodal Apostolic Exhortation Pastores gregis (16th October 2003), 72.            

[39] Pontifical Council for the Pastoral Care of Migrants and Itinerant People, Erga migrantes caritas Christi (3rd May 2004), 41.

[40] Cf ibid., 49.