คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

คำนำ

               แนวทางของการสอนคำสอนในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ได้รับความโดดเด่นจากพระสมณสารเตือนใจ การสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน (Catechesi  Tradendae) เอกสารนี้ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงการเดินทางที่เริ่มต้นจากการฟื้นฟูของสภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 เท่านั้น แต่ยังแสดงถึงการมีส่วนร่วมของบิชอปจำนวนมากจากทั่วโลกที่มารวมตัวกันในสมัชชาปี 1977 ในการใช้ถ้อยคำในเอกสารการสอนคำสอน “มีจุดมุ่งหมายสองประการคือ เพื่อทำให้ความเชื่อแรกเริ่มนั้นเติบโตจนถึงขั้นสมบูรณ์ และเพื่ออบรมให้เป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้าโดยอาศัยความรู้ที่ลึกซึ้งอย่างเป็นระบบมากขึ้นในเรื่องพระบุคคลและสารของพระเยซูคริสตเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้า”[1] นี่เป็นงานที่ยากลำบากที่ไม่คำนึงถึงความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างขั้นตอนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการคำสอน ไม่ว่าในกรณีใดเป้าหมายแม้ว่าจะเป็นเป้าหมายที่ต้องการ ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในบริบททางวัฒนธรรมของทศวรรษที่ผ่านมา อีกครั้งที่การสอนคำสอนโดยอ้างถึงข้อความจากนักบุญสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 มีจุดมุ่งหมาย “เพื่อพัฒนา ความเชื่อที่เพิ่งเริ่มต้น โดยอาศัยความช่วยเหลือจากพระเจ้าให้มุ่งไปสู่ความไพบูลย์ และการหล่อเลี้ยงชีวิตคริสตชนของสัตบุรุษทั้งผู้เยาว์และผู้สูงอายุ ให้เจริญงอกงามขึ้นทุกวัน  นั่นคือ การบันดาลให้เมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อที่พระจิตเจ้าได้ทรงหว่านไว้ โดยการประกาศข่าวดีครั้งแรกและศีลล้างบาปนั้น ให้เจริญงอกงามขึ้นทั้งในความรู้และชีวิต”[2] ด้วยวิธีนี้ การสอนคำสอนยังคงฝังรากอยู่ในธรรมประเพณีที่มั่นคงซึ่งมีลักษณะทางประวัติศาสตร์ของศาสนาคริสต์ตั้งแต่เริ่ม  ซึ่งคงทนอยู่ในฐานะกิจกรรมการอบรมที่เป็นเอกลักษณ์ของพระศาสนจักรที่ออกมาจากความเคารพจากกลุ่มผู้มีความเชื่อที่มีอายุต่างกันที่เพียรพยายามรักษาข่าวดีของพระเยซูคริสตเจ้าให้ตรงประเด็น เพื่อจะจัดเตรียมช่วยสนับสนุนให้การเป็นประจักษ์พยานไม่ขัดแย้งในตัวเอง

 

               หนังสือคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนเล่มนี้ตั้งอยู่บนความต่อเนื่องอย่างมีพลังของหนังสือสองเล่มที่ออกมาก่อนหน้านี้ นักบุญสมเด็จพระสันตะปาปาปอล ที่ 6 ได้ทรงอนุมัติคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนทั่วไป ในวันที่ 18 มีนาคม 1971 ซึ่งออกโดยสมณกระทรวงว่าด้วยเรื่องพระสงฆ์ หนังสือคู่มือแนะแนวเล่มนี้ (GDC 1971) มีความโดดเด่นในฐานะการนำเสนอการสอนอย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรกที่เกิดจากสภาสังคายนาวาติกันที่สอง (เทียบ CD 44)  ไม่ควรลืมว่านักบุญสมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ทรงถือว่าทั้งหมดเป็นการสอนของสภาสังคายนา  ในฐานะ “หนังสือคำสอนที่ยิ่งใหญ่ในยุคใหม่”[3] สมณกฤษฎีกา  เรื่อง หน้าที่ของบิชอปในการอภิบาลสัตบุรุษในพระศาสนจักร จะอย่างไรก็ตามได้เสนอแนวทางที่ละเอียดและรอบคอบเกี่ยวกับการสอนคำสอน บรรดาปิตาจารย์ของสภาสังคายนา กล่าวว่า “บิชอปควรนำเสนอหลักคำสอนของคริสตชนในลักษณะที่ปรับให้เข้ากับความต้องการของยุคสมัย กล่าวคือ ในลักษณะที่จะตอบสนองต่อความยากลำบากและคำถามจากผู้คนที่มีภาระและความทุกข์ใจเป็นพิเศษ [... ] พวกเขาควรพยายามใช้ประโยชน์จากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อประกาศหลักคำสอนของคริสตชน กล่าวคือ ก่อนอื่นใดการเทศน์และการสั่งสอนด้านคำสอนถือเป็นที่หนึ่งเสมอ [... ] บิชอปควรใช้ความอุตสาหะนั้นสั่งสอนด้านคำสอน - ซึ่งมีเจตนาในการสร้างความเชื่อ ที่ได้รับความสว่างจากการสอน ซึ่งจำเป็น มีพลังที่ชัดเจน และมีประสิทธิภาพในชีวิตของมนุษย์ – ให้ได้รับการเอาใจใส่อย่างพากเพียรทั้งเด็กและวัยหนุ่มสาว  เยาวชนและผู้ใหญ่ ในคำแนะนำนี้ควรได้รับการปฏิบัติตามการจัดเตรียมที่เหมาะสมรวมทั้งวิธีการที่เหมาะสมกับเรื่องที่กำลังปฏิบัติและกับอุปนิสัย ความสามารถ อายุ  และสถานการณ์ในชีวิตของนักเรียน  ในที่สุด พวกเขาควรเห็นว่าคำแนะนำนี้มีฐานในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์  ธรรมประเพณี  พิธีกรรม  อำนาจการสอน และชีวิตของพระศาสนจักร

 

               ยิ่งกว่านั้น พวกเขาควรดูแลให้บรรดาครูคำสอนได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมสำหรับหน้าที่ของพวกเขา เพื่อให้พวกเขาคุ้นเคยกับหลักคำสอนของพระศาสนจักรอย่างทั่วถึง  และจะมีความรู้ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางจิตวิทยาและวิธีการสอน

               “บิชอปควรพยายามที่จะฟื้นฟูหรืออย่างน้อยก็ดัดแปลงแก้ไขการแนะนำเกี่ยวกับผู้ใหญ่ที่เตรียมเป็นคริสตชนให้ดีขึ้น” (CD 13-14)

               ดังจะสังเกตได้ว่า การสอนนี้มีเกณฑ์เชิงบรรทัดฐานสำหรับการฟื้นฟูการสอนคำสอนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่สามารถคงอยู่เป็นกิจกรรมที่ขาดการเชื่อมต่อจากบริบททางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ดำเนินการอยู่  เครื่องหมายที่สัมผัสได้ประการหนึ่งของความจริงนี้คือ การพัฒนาครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 1973 ได้มีการจัดตั้งสภานานาชาติเพื่อการสอนคำสอน  ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนจากทั่วโลกช่วยสำนักงานให้มีความสามารถในการให้ความสนใจกับความต้องการที่มีอยู่ในพระศาสนจักรต่างๆ เพื่อให้การสอนคำสอนสามารถปรับให้เข้ากับภูมิหลังพระศาสนจักร วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น

 

                ในโอกาสครบรอบปีที่สามสิบของการประชุมสภาสังคายนา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 1992 นักบุญสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ได้พิมพ์เผยแพร่หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ในพระดำรัสของพระองค์ “หนังสือ        คำสอนเล่มนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อแทนที่หนังสือคำสอนของท้องถิ่น [...] หนังสือเล่มนี้มีขึ้นเพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือในการเขียนหนังสือคำสอนใหม่ๆ ในท้องถิ่น ซึ่งต้องคำนึงถึงสถานการณ์และวัฒนธรรมต่างๆ”[4] ด้วยเหตุนี้ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1997 จึงมีการเผยแพร่ คู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน  ผลงานอันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นหลังจากการพิมพ์นี้เป็นเรื่องธรรมดาที่จะได้เห็นโลกที่กว้างใหญ่และแตกต่างของการสอนคำสอนได้รับแรงผลักดันเชิงบวกเพิ่มขึ้นในการนำการศึกษาใหม่ๆ มาสู่ชีวิตซึ่งส่งเสริมความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการสอนและการอบรมของความต้องการในการสอนคำสอน  เหนืออื่นใด ในแง่ของการตีความใหม่ของการเป็นคริสตชนสำรอง สภาพระสังฆราชหลายแห่ง จากความต้องการที่เกิดขึ้นได้นำโครงการใหม่ของการสอนคำสอนสำหรับกลุ่มอายุที่แตกต่างกัน  ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ จากคนหนุ่มสาวไปจนถึงครอบครัว มีการฟื้นฟูต่อไปด้านการสอนคำสอน

 

               เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2020 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้อนุมัติคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนเล่มใหม่ ซึ่งเราได้รับเกียรติและความรับผิดชอบในการนำเสนอต่อพระศาสนจักร หนังสือเล่มนี้แสดงถึงขั้นตอนต่อไปในการฟื้นฟูการเปลี่ยนแปลงที่การสอนคำสอนดำเนินการ ท้ายที่สุดแล้ว การศึกษาด้านคำสอนและความพยายามอย่างต่อเนื่องของสภาพระสังฆราชหลายแห่งได้นำไปสู่ความสำเร็จที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตของพระศาสนจักรและการเติบโตสู่วุฒิภาวะของบรรดาสัตบุรุษ และต้องการการนำเสนอใหม่อย่างเป็นระบบ

 

               ภาพรวมทางประวัติศาสตร์โดยย่อแสดงให้เห็นว่าคู่มือแนะแนวแต่ละเล่มได้รับการจัดทำขึ้นเพื่อติดตามเอกสารสำคัญบางอย่างของอำนาจสอนของพระศาสนจักร สิ่งแรกคือคำสอนของสังคายนาที่เป็นจุดอ้างอิงของหนังสือเล่มนี้ สิ่งที่สอง คือ หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก และสมัชชาเกี่ยวกับการประกาศข่าวดีใหม่เพื่อการส่งผ่านความเชื่อของคริสตชน พร้อมกับพระสมณสาสน์เตือนใจความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส เอกสารทั้งสามฉบับนี้มีคำถามเหมือนกันคือเป้าหมายและงานของการสอนคำสอน ในขณะที่แต่ละเล่มมีการเปลี่ยนแปลงในบริบททางประวัติศาสตร์และการทำให้อำนาจการสอนของพระศาสนจักรเกิดผล  คู่มือแนะแนวฉบับแรกและฉบับที่สองถูกคั่นด้วยช่วงเวลาถึงยี่สิบหกปี ฉบับที่สองและฉบับนี้เป็นเวลายี่สิบสามปี ในบางแง่ ลำดับเหตุการณ์แสดงให้เห็นถึงความต้องการซึ่งเป็นพลังทางประวัติศาสตร์ที่ต้องได้รับการแก้ไข การพิจารณาบริบททางวัฒนธรรมให้ละเอียดยิ่งขึ้นจะทำให้เกิดปัญหาใหม่ที่พระศาสนจักรได้รับเรียกให้ดำเนินชีวิต เป็นพิเศษสองประการ ประการแรกคือปรากฏการณ์ของวัฒนธรรมดิจิทัล ซึ่งนำมาพร้อมกับนัยที่สองคือวัฒนธรรมโลกาภิวัตน์ ทั้งสองอย่างนี้มีความเชื่อมโยงกันจนกำหนดรูปแบบซึ่งกันและกัน และก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงในชีวิตของผู้คน ความจำเป็นในการให้การอบรมที่ให้ความสำคัญกับแต่ละบุคคลที่ดูเหมือนจะพล่ามัวเนื่องจากมีขนาดเดียวที่ใช้กับทุกรุ่น สิ่งยั่วยุให้ปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบของมาตรฐานสากลเป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในบริบทของการอบรมในชีวิตแห่งความเชื่อ  ในความเป็นจริง  ความเชื่อถูกถ่ายทอดผ่านการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลและได้รับการหล่อเลี้ยงในแวดวงของชุมชน ความจำเป็นในการแสดงความเชื่อด้วยการภาวนาในพิธีกรรม และเพื่อเป็นประจักษ์พยานความเชื่อด้วยพลังแห่งเมตตาธรรมนั้นเกิดขึ้นไปไกลกว่าธรรมชาติที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่ไม่ปะติดปะต่อกันของการริเริ่มเฉพาะเพื่อที่จะกอบกู้เอกภาพดั้งเดิมของการดำรงอยู่ของคริสตชนสิ่งนี้มีรากฐานมาจากพระวาจาของพระเจ้าที่พระศาสนจักรประกาศและถ่ายทอด พร้อมกับธรรมประเพณีที่ยังดำรงอยู่ ที่สามารถรวมทั้งของเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน (เทียบ มธ 13:52) ของผู้มีความเชื่อหลายชั่วอายุคนแผ่กระจายไปทั่วทุกส่วนของโลก

 

               ในทศวรรษต่อมาจากสภาสังคายนาวาติกันที่สอง พระศาสนจักรมีโอกาสหลายครั้งในการไตร่ตรองถึงพันธกิจอันยิ่งใหญ่ที่พระคริสตเจ้าทรงมอบหมายไว้ให้ โดยเฉพาะเอกสารสองฉบับที่เรียกร้องความสนใจให้กับความต้องการใน     การประกาศข่าวดีนี้  นักบุญสมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่  6  กับการประกาศ พระวรสารในโลกปัจจุบัน และสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส กับความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร ที่เห็นได้ชัดเจนถึงวิถีทางที่ยอมรับอย่างไม่มีข้อแก้ตัวในความมุ่งมั่นในชีวิตประจำวันของผู้มีความเชื่อในการประกาศข่าวดี นักบุญสมเด็จพระสันตะปาปาปอล ที่ 6 ทรงระบุอย่างแข็งขันว่า  “พระศาสนจักรมีอยู่เพื่อการประกาศข่าวดี”[5] สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงย้ำด้วยความชัดเจนเช่นกันว่า “ข้าพเจ้าเองเป็นพันธกิจ”[6] ไม่มีข้อแก้ตัวใดที่สามารถละจุดสนใจไปจากความรับผิดชอบที่เป็นของผู้มีความเชื่อทุกคนและของพระศาสนจักรทั้งมวล  ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันระหว่างการประกาศข่าวดีและการสอนคำสอนจึงกลายเป็นลักษณะเด่นของคู่มือแนะแนวเล่มนี้ เราตั้งใจนำเสนอเส้นทางที่สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างการประกาศเรื่องพระเยซูเจ้า (Kerygma) และความเชื่อแบบสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

               เกณฑ์ที่กระตุ้นให้เกิดการไตร่ตรองและการผลิตคู่มือแนะแนวเล่มนี้พบพื้นฐานในพระดำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส “เราค้นพบอีกครั้งว่า บทบาทพื้นฐานของการประกาศข้อความเชื่อเรื่องพระเยซูเจ้าครั้งแรก หรือ kerygma มีบทบาทสำคัญที่ต้องอยู่ตรงใจกลางของกิจกรรมการประกาศพระวรสาร  และเป็นจุดมุ่งหมายของการฟื้นฟูพระศาสนจักร [...] การประกาศนี้เป็นการประกาศ ‘ครั้งแรก’ มิได้เพราะเหตุว่าเกิดขึ้นเมื่อเริ่มแรก และหลังจากนั้นก็ถูกลืม หรือถูกแทนที่ด้วยเนื้อหาสำคัญอื่นๆ การประกาศนี้เป็นการประกาศครั้งแรกในความหมายเชิงคุณภาพ เพราะเป็นการประกาศที่สำคัญซึ่งเราต้องรับฟังอยู่เสมอในลักษณะที่แตกต่างออกไป และเราต้องประกาศใหม่อีกครั้งในการสอนคำสอน  ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง  ในทุกขั้นตอนและทุกเวลา [...] เราต้องไม่คิดว่าในการสอนคำสอนนั้น  เราต้องละทิ้งการประกาศ kerygma ไป เพื่อส่งเสริมการอบรมที่อ้างว่า ‘เข้มแข็ง’กว่า ไม่มีสิ่งใดที่เข้มแข็งกว่าลึกซึ้งกว่า  แน่นอนกว่า  มีเนื้อหาสาระและฉลาดมากกว่าการประกาศตอนเริ่มนี้  การอบรมแบบคริสตชนทุกอย่าง  ก่อนอื่นใด  คือการทำให้การประกาศนี้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยทำให้บังเกิดในชีวิตมากขึ้นและดีขึ้นเสมอ และไม่ละเลยที่จะให้ความสว่างในหน้าที่การสอนคำสอน ช่วยให้เข้าใจความหมายของหัวข้อที่เรากล่าวถึงในการสอนคำสอนได้อย่างถูกต้อง เป็นการประกาศที่สัมพันธ์กับความกระหายอันไม่สิ้นสุด ซึ่งมีอยู่ในหัวใจของมนุษย์แต่ละคน”[7]

 

               ความเป็นอันดับหนึ่งของการประกาศเรื่องพระเยซูเจ้า(kerygma) จนถึงจุดที่นำเราไปสู่การเสนอการสอนคำสอนในเรื่องการประกาศพระเยซูเจ้า (kerygmatic catechesis) ไม่ได้ลดทอนคุณค่าของการสอนคำสอนหลังรับศีลล้างบาป (mystagogy) หรือจากการเป็นประจักษ์พยานของความรักเมตตา ความคิดที่ผิวเผินเท่านั้นที่สามารถนำไปสู่ความคิดที่ว่าการประกาศครั้งแรกเป็นการถกเถียงที่ออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์ในการโน้มน้าวใจคู่สนทนา  การประกาศพระวรสารคือการเป็นประจักษ์พยานถึงการพบปะกันที่ยังคงให้ความสำคัญกับพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า การรับสภาพมนุษย์ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพื่อนำมาซึ่งการเผยแสดงความรักแห่งการช่วยให้รอดพ้นของพระบิดาให้สำเร็จ บนพื้นฐานของหัวใจแห่งความเชื่อนี้ lex credendi (กฎแห่งความเชื่อ)  มอบตัวเองให้กับ lex orandi (กฎแห่งการภาวนา) และทั้งสองร่วมกันเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้มีความเชื่อให้เป็นประจักษ์พยานแห่งความรักที่ทำให้การประกาศน่าเชื่อถือ  ในความเป็นจริง  ทุกคนรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในกระบวนการของการสำนึกในตนเองที่นำไปสู่การให้คำตอบที่ดีที่สุดและชัดเจนที่สุดสำหรับคำถามเกี่ยวกับความหมาย

 

               ดังนั้น ทั้งสามภาคของหนังสือคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนเล่มนี้ พัฒนามาจากการเดินทางของการสอนคำสอนภายใต้ความเป็นเอกของการประกาศข่าวดี บรรดาบิชอปเป็นผู้รับแรกของเอกสารฉบับนี้ พร้อมกับสภาพระสังฆราช คณะกรรมการเพื่อการสอนคำสอน  และครูสอนคำสอนจำนวนมาก  จะสามารถตรวจสอบการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่ถูกเขียนลงในลักษณะที่ทำให้เป้าหมายของการสอนคำสอนมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือการพบปะอย่างมีชีวิตชีวากับองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเปลี่ยนแปลงชีวิต  มีการอธิบายกระบวนการของการสอนคำสอนโดยมุ่งเน้นไปที่โครงสร้างการมีอยู่ของชีวิต ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของบุคคลประเภทต่างๆ ที่กล่าวถึงข้างต้นในสภาพแวดล้อมของชีวิตจริงของพวกเขา ได้มีการทุ่มเทความสนใจไปพอสมควรถึงสาระสำคัญในการอบรมครูคำสอน เพราะดูเหมือนเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะฟื้นฟูศาสนบริการของพวกเขาในชุมชนคริสตชน  ที่สำคัญกว่านั้น  ครูคำสอนที่ดำเนินชีวิตในศาสนบริการของพวกเขาในฐานะที่เป็นกระแสเรียกเท่านั้นที่สามารถนำไปสู่การสอนคำสอนอย่างมีประสิทธิภาพ  ในที่สุด  มีความแม่นยำเพราะการสอนคำสอนเกิดขึ้นในแง่ของการพบปะ มีความรับผิดชอบอย่างยิ่งในการร่วมมือกันในการนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรม กระบวนการนี้ทำให้มีที่สำหรับการสร้างภาษาใหม่และวิธีการใหม่ๆ ซึ่งการแสดงออกของพวกเขาจำนวนมากทำให้เห็นได้ชัดยิ่งขึ้นถึงความร่ำรวยของพระศาสนจักรสากล

 

               สมณสภาเพื่อส่งเสริมการประกาศข่าวดีใหม่เป็นผู้รับผิดชอบการสอนคำสอน  ณ วันที่ 16 มกราคม 2013 โดยมีการประกาศในสมณลิขิตในรูปแบบอัตตาณัติ (Motu Proprio) Fides per doctrinam ตระหนักดีว่าคู่มือแนะแนวการสอนคำสอน  มีที่สำหรับการปรับปรุง  ไม่มีการอ้างสิทธิ์ว่าสมบูรณ์  เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วจะถูกส่งไปยังพระศาสนจักรท้องถิ่นต่างๆ ในลักษณะที่พวกเขาอาจได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนในการสร้างคู่มือแนะแนวของตนเองงานเขียนคู่มือแนะแนวเล่มนี้เกี่ยวข้องกับผู้เชี่ยวชาญหลายคน  เป็นการแสดงออกถึงความเป็นสากลของพระศาสนจักร ในช่วงหลายขั้นตอนของการผลิตยังได้ถูกส่งไปให้บิชอป บาทหลวง นักบวช และครูคำสอนหลายคนได้พิจารณาชายและหญิงหลายคนมีส่วนร่วมในงานที่เรียกร้องนี้  ซึ่งเราหวังว่าจะเป็นผลงานที่ถูกต้องในปัจจุบัน ขอขอบคุณบุคคลเหล่านี้ทุกท่านอย่างจริงใจเป็นส่วนตัว   และขอบคุณสำหรับงานที่ยอดเยี่ยมที่พวกเขาได้ทำด้วยความเชี่ยวชาญความชอบ และความใจกว้าง

 

               ด้วยความบังเอิญโดยสิ้นเชิง การอนุมัติคู่มือแนะแนวเล่มนี้เป็นวันรำลึกถึงนักบุญตูริบิอุส แห่ง มอโกรเวโจ (St Turibius of Mogrovejo 1538-1606) นักบุญที่อาจไม่เป็นที่รู้จักมากนัก  แต่เป็นผู้ที่ให้การส่งเสริมอย่างมีประสิทธิภาพในการประกาศข่าวดีและการสอนคำสอน ท่านเดินตามแบบอย่างของนักบุญอัมโบรส  ท่านเป็นฆราวาสชายและเป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง  เกิดที่มายอร์ก้า ในครอบครัวที่มีชื่อเสียง ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบายาโดลิด และซาลามังกา(สเปน) ซึ่งต่อมาท่านได้เป็นอาจารย์ที่นี่ ในฐานะประธานศาลแห่ง กรานาดา ท่านได้รับการบวชเป็นบิชอป และสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรี ที่ 13  ได้ส่งท่านไปยังลิมา  ประเทศเปรู  ท่านเข้าใจถึงศาสนบริการบิชอปของท่านในฐานะผู้ประกาศข่าวดีและผู้สอนคำสอน ท่านชอบพูดซ้ำคำของท่านแตร์ตุเลียนว่า “พระคริสตเจ้าทรงเป็นความจริง ไม่ใช่ขนบประเพณี” ท่านย้ำสิ่งนี้เหนือสิ่งอื่นใดเกี่ยวกับ Conquistadores ที่กดขี่ชนพื้นเมืองในนามของความเหนือกว่าทางวัฒนธรรม และสำหรับบาทหลวงที่ไม่มีความกล้าหาญที่จะปกป้องผลประโยชน์ของคนยากจน เป็นธรรมทูตที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยท่านหนึ่ง ท่านเดินทางไปทั่วดินแดนในพระศาสนจักรของท่าน  เหนืออื่นใดท่านแสวงหาคนพื้นเมืองเพื่อประกาศพระวาจาของพระเจ้าให้พวกเขาฟังด้วยภาษาที่เรียบง่ายและเข้าถึงได้ง่าย ตลอดระยะเวลายี่สิบห้าปีที่ดำรงตำแหน่งบิชอป ท่านได้จัดซีนอดทั้งในส่วนของสังฆมณฑลและส่วนภูมิภาค และท่านทำหน้าที่เป็นครูคำสอนโดยการจัดทำหนังสือคำสอนสำหรับชนพื้นเมืองในอเมริกาใต้เป็นครั้งแรก เป็นภาษาสเปน ภาษาเคชัว และภาษาไอมารา งานการประกาศข่าวดีของท่านเกิดผล  อย่างไม่คาดคิดกับคนพื้นเมืองหลายพันคนที่มามีความเชื่อหลังจากพบพระคริสตเจ้าในงานเมตตาจิตของบิชอป ท่านเป็นผู้โปรดศีลกำลัง โดยใช้ชื่อนักบุญสององค์ของพระศาสนจักรของที่นั่น คือนักบุญมาร์ติน เดอ พอร์แรส  และนักบุญโรซา แห่ง ลีมา ในปี 1983 นักบุญสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ได้ประกาศให้ท่านเป็นองค์อุปถัมภ์ของสภาพระสังฆราชของลาติน อเมริกา ดังนั้นจึงให้คู่มือแนะแนวการสอนคำสอนเล่มใหม่นี้อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของท่านผู้เป็นครูคำสอนที่ยิ่งใหญ่

 

               สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงเขียนไว้ว่า “พระจิตเจ้าทรงประทานความศักดิ์สิทธิ์อย่างล้นเหลือท่ามกลางผู้ศักดิ์สิทธิ์และซื่อสัตย์ของพระเจ้า [...] พ่อชอบไตร่ตรองถึงความศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในความอดทนของประชากรของพระเจ้า  ในพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกด้วยความรักอันยิ่งใหญ่  ในชายและหญิงที่ทำงานหนักเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ในผู้ป่วย ในนักบวชผู้สูงอายุที่ไม่เคยสูญเสียรอยยิ้ม ในความพากเพียรประจำวันของพวกเขา พ่อได้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของผู้เข้มแข็งในพระศาสนจักร บ่อยครั้งที่ความศักดิ์สิทธิ์พบได้ในเพื่อนข้างบ้าน คือผู้ที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางเรา สะท้อนให้เห็นถึงการประทับอยู่ของพระเจ้า [...] เราทุกคนได้รับเรียกให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์โดยดำเนินชีวิตด้วยความรักและเป็นประจักษ์พยานในทุกสิ่งที่เรากระทำ ทุกๆ ที่ที่เราพบตัวเราเอง ท่านได้รับเรียกให้ไปสู่ชีวิตของผู้รับเจิมหรือ? จงศักดิ์สิทธิ์โดยการดำเนินชีวิตตามคำสัญญาด้วยความชื่นชมยินดี ท่านแต่งงานหรือ? จงศักดิ์สิทธิ์ด้วยความรักและความเอาใจใส่สามีหรือภรรยาของท่าน ดั่งพระคริสต์ทรงทำเพื่อพระศาสนจักร  ท่านทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพหรือ? จงศักดิ์สิทธิ์โดยการทำงานด้วยความซื่อสัตย์และความชำนาญในการรับใช้พี่น้องชายหญิงของท่าน ท่านที่เป็นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือ? จงศักดิ์สิทธิ์โดยการสอนเด็กเล็กๆ อย่างอดทนว่าจะติดตามพระเยซูอย่างไร ท่านอยู่ในตำแหน่งผู้มีอำนาจหรือ? จงศักดิ์สิทธิ์โดยทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและการละทิ้งผลประโยชน์ส่วนตน”[8]

 

               ความศักดิ์สิทธิ์เป็นคำสำคัญมากที่สามารถประกาศในการนำเสนอคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนเล่มใหม่ เป็นการบอกเล่าถึงวิถีชีวิตว่าครูคำสอนยังได้รับเรียกให้ปฏิบัติตามด้วยความสม่ำเสมอและความซื่อสัตย์  พวกเขาไม่ได้อยู่คนเดียวในการเดินทางที่เรียกร้องนี้ พระศาสนจักร ในทุกส่วนของโลกสามารถนำเสนอแบบอย่างของครูคำสอนที่บรรลุความศักดิ์สิทธิ์ และแม้กระทั่งการเป็นมรณสักขีในการดำเนินชีวิตในศาสนบริการทุกวันของพวกเขา  การเป็นประจักษ์พยานของพวกเขาบังเกิดผล และทำให้ยังคิดได้ในสมัยของเราว่า เราแต่ละคนสามารถอดทนต่อการผจญภัยครั้งนี้แม้ในงานที่เงียบงัน ยากลำบาก และบางครั้งการเป็นครูคำสอนเป็นการทำงานที่ไม่ได้รับการขอบคุณ

 

จากวาติกัน วันที่ 23 มีนาคม 2020

พิธีกรรมรำลึกถึงนักบุญตูริบิอุส แห่ง มอโกรเวโจ

                                       X อาร์คบิชอป ซัลวาตอเร ฟิซิเคลลา

                                                           ประธาน

 

[1]  CT 19

[2]  CT 20

[3]   Paul VI, Speech to the participants in the general assembly of the Italian Episcopal Conference (23rd June 1966)

[4]   John Paul II, Apostolic Constitution Fidei depositum (11th October 1992), IV

[5]   EN 14.

[6]    EG 273.

[7]    EG 164-165.       

[8]    Francis, Apostolic Exhortation Gaudete et exsultate (19th March 2018), 6-7.14.