คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

บทนำ

1.            การสอนคำสอนเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการฟื้นฟูที่กว้างขึ้นซึ่งพระศาสนจักรได้รับเรียกให้นำมาเพื่อที่จะซื่อสัตย์ต่อพระบัญชาของพระเยซูคริสตเจ้าให้ประกาศข่าวดีของพระองค์อยู่เสมอและในทุกที่ (เทียบ มธ 28: 19)  การสอนคำสอนมีส่วนร่วมตามธรรมชาติของตนเองในความพยายามในการประกาศข่าวดี เพื่อให้ความเชื่อได้รับการสนับสนุนด้วยการเติบโตสู่วุฒิภาวะอย่างต่อเนื่องและแสดงออกในวิถีชีวิตที่ต้องแสดงลักษณะของการเป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้า  เพราะเหตุนี้  การสอนคำสอนจึงเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและเมตตาจิตในการทำให้เห็นเอกภาพที่สำคัญยิ่งของชีวิตใหม่ซึ่งเกิดจากการรับศีลล้างบาป

 

2.            ในการพิจารณาถึงการฟื้นฟูนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ในพระสมณสาส์นเตือนใจ ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร ได้ทรงชี้ให้เห็นถึงลักษณะเด่นบางประการของการสอนคำสอนที่เชื่อมโยงโดยตรงกับการประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน

               การสอนคำสอนในเรื่องการประกาศพระเยซูเจ้า[1](Kerygmatic catechesis) ซึ่งเข้าสู่หัวใจของความเชื่อและเข้าใจถึงแก่นแท้ของข่าวสารของคริสตชน  เป็นการสอนคำสอนที่แสดงถึงการกระทำของพระจิตเจ้า  ผู้ทรงสื่อสารถึงความรักที่ช่วยให้รอดพ้นของพระเจ้าในพระเยซูคริสตเจ้า  และยังคงมอบพระองค์เองเพื่อให้มนุษย์ทุกคนมีความสมบูรณ์ของชีวิต การกำหนดที่แตกต่างกันของการประกาศเรื่องพระเยซูเจ้า ซึ่งจำเป็นต้องเปิดเส้นทางแห่งการค้นพบ มีความสอดคล้องกับทางเข้าประตูเกี่ยวกับการดำรงอยู่ในธรรมล้ำลึก          

               การสอนคำสอนในฐานะก่อนและหลังรับศีลล้างบาป[2] (catechesis as Mystagogic initiation) แนะนำผู้มีความเชื่อให้มีประสบการณ์การมีชีวิตอยู่กับชุมชนคริสตชนซึ่งเป็นลักษณะที่แท้จริงของชีวิตแห่งความเชื่อ  ประสบการณ์แบบการอบรมนี้มีความก้าวหน้าและไม่หยุดนิ่ง อุดมไปด้วยเครื่องหมาย และการแสดงออก และเป็นประโยชน์ต่อการบูรณาการของบุคคลทุกมิติ ทั้งหมดนี้พาดพิงโดยตรงถึงความเข้าใจโดยสัญชาตญาณ มีรากฐานมาจากการไตร่ตรองทางด้านคำสอนและการปฏิบัติงานอภิบาลของพระศาสนจักร  ซึ่งกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าการสอนคำสอนควรได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบ การสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน

 

3.            ในแง่ของคุณลักษณะเหล่านี้ที่อธิบายลักษณะของการสอนคำสอนจากมุมมองของการเป็นธรรมทูต เป้าหมายของกระบวนการทางการสอนคำสอนก็ถูกตีความใหม่เช่นกัน ความเข้าใจในปัจจุบันเกี่ยวกับความมีชีวิตชีวาทางการอบรมของบุคคลนั้นต้องการการร่วมเป็นหนึ่งเดียวอย่างใกล้ชิดกับพระคริสตเจ้า ซึ่งระบุไว้แล้วในอำนาจสอนของพระศาสนจักรที่มีอยู่แล้ว ว่าเป็นจุดหมายสูงสุดของการเริ่มงานคำสอน ซึ่งไม่ควรระบุว่าเป็นเพียงเป้าหมายเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดการเป็นเพื่อนร่วมทางตลอดกระบวนการ[3]  ในความเป็นจริง  กระบวนการโดยรวมของการทำให้พระวรสารเป็นกระบวนการภายในจิตใจเกี่ยวข้องกับบุคคลทั้งครบในประสบการณ์ชีวิตที่ไม่เหมือนใครของเขา มีเพียงการสอนคำสอนที่มุ่งมั่นช่วยเหลือแต่ละบุคคลในการพัฒนาการตอบรับความเชื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่กำหนดได้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมคู่มือแนะแนวเล่มปัจจุบันจึงย้ำถึงความสำคัญของการสอนคำสอนควบคู่ไปกับการพัฒนาความคิดทางความเชื่อในพลังของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในที่สุดก็คือการกระทำของพระจิตเจ้า นี่คือรูปแบบดั้งเดิมและจำเป็นในการนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรม

 

4.            ด้วยเหตุนี้ ในการตีความถึงธรรมชาติและเป้าหมายของการสอนคำสอนในคู่มือแนะแนวเสนอมุมมองหลายประการที่เป็นผลมาจากการไตร่ตรองอย่างดีถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในบริบทของพระศาสนจักรในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา และมีการนำเสนอโดยอ้อมในเอกสารทั้งฉบับนี้ ซึ่งเกือบจะประกอบเป็นความคิดของการบรรยาย

             - เป็นการย้ำอย่างมั่นคงในความไว้วางใจในพระจิตเจ้า ผู้ทรงประทับอยู่และดำเนินการในพระศาสนจักร ในโลก และในหัวใจมนุษย์ สิ่งนี้นำมาสู่ความพยายามในการทำงานด้านคำสอนที่เห็นได้ถึงความชื่นชมยินดี ความสงบ และความรับผิดชอบ

             - กิจการของความเชื่อเกิดมาจากความรักที่ปรารถนาความรู้ที่เพิ่มมาก ขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับพระเยซูเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้า การดำรงชีวิตในพระศาสนจักร และด้วยเหตุนี้การเริ่มต้นของผู้มีความเชื่อในการเข้าสู่ชีวิตคริสตชนจึงหมายถึงการแนะนำพวกเขาให้มีชีวิตที่พบปะกับพระองค์

             -  พระศาสนจักร และธรรมล้ำลึกของความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว ได้รับการทำให้มีชีวิตชีวาโดยพระจิตเจ้าและทำให้เกิดผลในการนำมาซึ่งชีวิตใหม่  มุมมองของความเชื่อนี้ยืนยันอีกครั้งถึงบทบาทของชุมชนคริสตชนในฐานะที่เป็นลักษณะแวดล้อมตามธรรมชาติสำหรับการกำเนิดและการเติบโตอย่างสมบูรณ์ของชีวิตคริสตชน

             - กระบวนการการประกาศข่าวดี  และ(กระบวนการ)ของการสอนคำสอนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการประกาศข่าวดี เหนืออื่นใดเป็นการกระทำฝ่ายจิต สิ่งนี้เรียกร้องให้ครูคำสอนเป็น “ผู้ประกาศข่าวดีกับพระจิตเจ้า”[4] อย่างแท้จริง และผู้ร่วมงานที่ซื่อสัตย์ของผู้อภิบาล

             - บทบาทพื้นฐานของผู้รับศีลล้างบาปได้รับการยอมรับ ในศักดิ์ศรีของพวกเขาในฐานะบุตรของพระเจ้า ผู้มีความเชื่อทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการริเริ่มการสอนคำสอน ไม่ใช่เป็นผู้บริโภคหรือผู้รับบริการที่อยู่เฉยๆ และด้วยเหตุนี้จึงได้รับเรียกให้เป็นศิษย์ธรรมทูตที่แท้จริง

             - การดำเนินชีวิตตามธรรมล้ำลึกแห่งความเชื่อในแง่ของความสัมพันธ์กับองค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประกาศข่าวดี ในความเป็นจริง เรียกร้องให้มีการเอาชนะความขัดแย้งระหว่างทางเนื้อหาและวิธีการใดๆ ระหว่างความเชื่อและชีวิต

 

5.            เกณฑ์ที่เป็นแนวทางในการจัดองค์ประกอบของคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนเล่มนี้พบได้จากความปรารถนาที่จะสำรวจบทบาทของการสอนคำสอนในพลังของการประกาศข่าวดี  การฟื้นฟูทางเทววิทยาในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ผ่านมา ที่ทำให้เกิดความจำเป็นในการทำความเข้าใจกับการเป็นธรรมทูตของการสอนคำสอน  สภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 และอำนาจสอนของพระศาสนจักรที่ตามมา ได้รับและสร้างความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการประกาศข่าวดีและการสอนคำสอนขึ้นใหม่ โดยปรับให้เข้ากับเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง พระศาสนจักรซึ่งเป็น“ธรรมทูตโดยธรรมชาติ”(AG 2) ด้วยเหตุนี้พระศาสนจักรจึงเปิดตนเองที่จะดำเนินการด้วยความมั่นใจในขั้นตอนใหม่ของการประกาศข่าวดีที่พระจิตเจ้าทรงเรียก สิ่งนี้ต้องการการอุทิศตนและความรับผิดชอบในการแยกแยะการใช้ภาษาใหม่เพื่อสื่อสารความเชื่อ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการถ่ายทอดความเชื่อ พระศาสนจักรจึงมุ่งมั่นที่จะแปลรหัสเครื่องหมายของกาลเวลาที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสำแดงให้พระศาสนจักรเห็นเส้นทางที่จะดำเนินไป  ในบรรดาเครื่องหมายต่างๆ เหล่านี้ที่สามารถรับรู้ได้ ศูนย์กลางของผู้มีความเชื่อและประสบการณ์ชีวิตของเขา  บทบาทที่สำคัญของความสัมพันธ์และความรัก ความสนใจในสิ่งที่เสนอความหมายที่แท้จริง  การค้นพบสิ่งที่งดงามและยกระดับชีวิตฝ่ายจิตอีกครั้ง  ในความพยายามเหล่านี้และอื่นๆ  ของวัฒนธรรมร่วมสมัย  พระศาสนจักรเข้าใจถึงความเป็นไปได้ในการพบปะและการประกาศความใหม่ของความเชื่อ  นี่คือหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการเป็นธรรมทูตของพระศาสนจักรซึ่งผลักดันให้เกิดการกลับใจในการอภิบาล

 

6.            เช่นเดียวกับที่คู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน (GDC :1997)   ตั้งอยู่บนความต่อเนื่องกับคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนทั่วไป (GCD :1971) ดังนั้นคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนเล่มนี้จะวางตัวเองในพลังของความต่อเนื่องและการพัฒนาเดียวกันกับเอกสารที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ ต้องไม่ลืมว่าในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาพระศาสนจักรได้มีประสบกับเหตุการณ์สำคัญหลายอย่าง ซึ่งแม้ว่าจะมีการเน้นย้ำที่แตกต่างกัน แต่ได้กลายเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับการเดินทางของพระศาสนจักร เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับธรรมล้ำลึกของความเชื่อและการประกาศข่าวดี

               เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การจดจำ ประการแรก การเกิดผลของพระสมณสาสน์เตือนใจ เรื่องการสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน(1979) ของนักบุญสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2  ให้แรงผลักดันที่แท้จริงของวิธีการใหม่ในการสอนคำสอน สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงกล่าวย้ำหลายครั้งถึงความสำคัญของการสอนคำสอนในขั้นตอนของการประกาศข่าวดีใหม่ และด้วยจดหมายอภิบาล Fides per doctrinam (2013)  ได้ให้การดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมตามการมอบหมายนี้  ในที่สุด  สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส กับพระสมณสาสน์เตือนใจของพระองค์ เรื่อง ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร (2013) พระองค์ต้องการเน้นย้ำถึงความเชื่อมโยงที่แยกไม่ออกระหว่างการประกาศข่าวดีและการสอนคำสอนในแง่ของวัฒนธรรมการพบปะกัน

               เหตุการณ์ยิ่งใหญ่อื่นๆ ที่เด่นชัดในการฟื้นฟูการสอนคำสอน สิ่งที่ไม่ควรลืมในท่ามกลางเหล่านี้คือปีปีติมหาการุณย์ 2000 ปีแห่งความเชื่อ (2012-2013) ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม (2015-2016) และซีนอดบิชอปเมื่อเร็วๆ นี้เกี่ยวกับเรื่องสำคัญหลายประการในเรื่องชีวิตของพระศาสนจักร สิ่งที่น่าจดจำเป็นพิเศษคือ เรื่องพระวาจาของพระเจ้าในชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร (2008) เรื่องการประกาศพระวรสารใหม่เพื่อการส่งผ่านความเชื่อคริสตชน (2012) เรื่องกระแสเรียกและพันธกิจของครอบครัวในพระศาสนจักรและในโลกร่วมสมัย (2015) และเรื่องเยาวชน ความเชื่อ และการไตร่ตรองในกระแสเรียก (2018) ในที่สุด เป็นเรื่องที่เหมาะสมที่จะกล่าวถึงการพิมพ์หนังสือประมวลคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (2005) เป็นเครื่องมือที่ง่ายและฉับพลันสำหรับความรู้เกี่ยวกับความเชื่อ

 

7.            คู่มือแนะแนวการสอนคำสอนจัดเรียงเนื้อหาในโครงสร้างใหม่และเป็นระบบ การจัดระเบียบหัวข้อได้พยายามพิจารณาความอ่อนไหวของพระศาสนจักรที่แตกต่างกันและถูกต้องตามกฎหมาย  ภาคที่หนึ่ง (การสอนคำสอนในพันธกิจการประกาศข่าวดีของพระศาสนจักร) นำเสนอรากฐานของคู่มือเดินทางทั้งหมด   การเผยแสดงของพระเจ้าและการส่งผ่านการเผยแสดงในพระศาสนจักรที่เปิดสู่การไตร่ตรองเกี่ยวกับพลังของการประกาศข่าวดีในโลกร่วมสมัย โดยยอมรับความท้าทายของการการกลับใจของธรรมทูตซึ่งมีอิทธิพลต่อการสอนคำสอน (บทที่ 1) กำหนดเค้าโครงโดยติดตามธรรมชาติ เป้าหมาย งาน และแหล่งที่มาของการสอนคำสอน (บทที่ 2) ครูคำสอน ซึ่งมีเอกลักษณ์ (บทที่ 3) และการอบรม (บทที่ 4) นำเสนอการทำให้เห็นได้ชัดเจนและการแสดงบทบาททางศาสนบริการของพระศาสนจักรของครูคำสอน ในภาคแรกนี้ นอกเหนือจากการปรับปรุงคำถามพื้นฐานที่เน้นย้ำไปแล้ว ควรชี้ให้เห็นถึงบทที่เกี่ยวกับการอบรม ซึ่งรวมเอามุมมองที่สำคัญเกี่ยวกับการฟื้นฟูการสอนคำสอนไว้

 

8.            ภาคที่สอง (กระบวนการสอนคำสอน) เกี่ยวข้องกับพลังของการสอนคำสอน ประการแรกนำเสนอกระบวนทัศน์ของการเรียนการสอนของพระเจ้าในประวัติศาสตร์แห่งการช่วยให้รอดพ้น ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้การเรียนการสอนของพระศาสนจักรและการสอนคำสอนเป็นกิจกรรมทางการศึกษา (บทที่ 5)ในแง่ของกระบวนทัศน์นี้เกณฑ์ทางเทววิทยาสำหรับการประกาศสารของพระวรสารได้รับการจัดระเบียบใหม่และทำให้เพียงพอต่อความต้องการของวัฒนธรรมร่วมสมัยมากขึ้น ยิ่งกว่านั้นหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกยังได้รับการนำเสนอในความสำคัญของคำสอนทางเทววิทยา(บทที่ 6) บทที่ 7  นำเสนอคำถามมากมายเกี่ยวกับวิธีการในการสอนคำสอน เหนืออื่นใด มีการอ้างถึงสาระสำคัญของภาษา  ภาคที่สองปิดท้ายด้วยการนำเสนอการสอนคำสอนให้กับผู้เข้าร่วมกลุ่มต่างๆ (บทที่ 8)  แม้จะตระหนักดีว่าสภาพทางวัฒนธรรมในโลกมีความแตกต่างกันมาก และดังนั้นการวิจัยในระดับท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ความตั้งใจที่จะเสนอการวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของเรื่องที่ครอบคลุมนี้ ขอให้มีความสนใจติดตามซีนอดที่เกี่ยวกับครอบครัวและเยาวชน ในที่สุด คู่มือแนะแนวได้เชื้อเชิญให้พระศาสนจักรท้องถิ่นต่างๆ ได้คำนึงถึงการสอนคำสอนกับบุคคลต่างๆ กับผู้พิการ กับผู้อพยพ กับผู้ย้ายถิ่น และกับผู้ต้องขัง

 

9.            ภาคที่สาม (การสอนคำสอนในพระศาสนจักรท้องถิ่น) แสดงให้เห็นว่าศาสนบริการของพระวาจาของพระเจ้าก่อตัวขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในชีวิตของพระศาสนจักรอย่างไร พระศาสนจักรท้องถิ่น ในทุกการแสดงออกของพวกเขา การดำเนินงานของการประกาศพระวรสารในบริบทต่างๆ ที่พวกเขาหยั่งรากลงไป(บทที่ 9) ส่วนนี้แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของพระศาสนจักรตะวันออก ซึ่งมีธรรมประเพณีคำสอนของพวกเขาเอง  ชุมชนคริสตชนทุกแห่งได้รับเชิญให้มีส่วนร่วมกับความซับซ้อนของโลกร่วมสมัย ซึ่งมีการผสมผสานองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน(บทที่ 10) บริบททางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน  ลักษณะธรรมชาติของศาสนา แนวโน้มทางวัฒนธรรม แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสอนคำสอนของพระศาสนจักร แต่สร้างลักษณะภายในของคนร่วมสมัยกับเรา ที่พระศาสนจักรมอบตนเองในการให้บริการเหล่านี้ ดังนั้น สิ่งเหล่านี้ช่วยไม่ได้ แต่เป็นเป้าหมายของความเข้าใจในมุมมองของการริเริ่มในการสอน คำสอน เป็นที่น่าสังเกตว่าการไตร่ตรองในเรื่องของวัฒนธรรมดิจิทัล และคำถามหลายประการเกี่ยวกับชีวจริยธรรมซึ่งเป็นข้อถกเถียงที่สำคัญในยุคสมัยของเรา บทที่ 11 กลับมาที่กิจกรรมของพระศาสนจักรท้องถิ่น ชี้ชัดถึงธรรมชาติและเกณฑ์ทางเทววิทยาของการนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรม ซึ่งแสดงออกด้วยการผลิตหนังสือคำสอนท้องถิ่น คู่มือแนะแนวปิดด้วยการการนำเสนอองค์กรในระดับต่างๆ ที่ให้บริการในการสอนคำสอน (บทที่ 12)

 

10.         คู่มือแนะแนวการสอนคำสอนเล่มใหม่เสนอพื้นฐานหลักของการอภิบาลทางเทววิทยาและแนวทางทั่วไปบางประการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในการสอนคำสอนในยุคสมัยของเรา เป็นเรื่องธรรมดาที่การประยุกต์ใช้และแนวทางการดำเนินงานควรเป็นงานของพระศาสนจักรท้องถิ่น  ซึ่งเรียกร้องให้จัดเตรียมหลักการร่วมกันอย่างละเอียดเพื่อที่พวกเขาจะได้รับการปลูกฝังในบริบทของ พระศาสนจักรของตน  ดังนั้น คู่มือแนะแนวเล่มนี้จึงเป็นเครื่องมือสำหรับการจัดทำรายละเอียดของคู่มือแนะแนวระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น ซึ่งออกโดย    หน่วยงานที่มีอำนาจ และสามารถแปลหลักเกณฑ์ทั่วไปเป็นภาษาของชุมชนของพระศาสนจักรนั้นๆ ดังนั้น คู่มือแนะแนวเล่มนี้ให้บริการกับบิชอป กับสภาพระสังฆราช และขององค์กรการอภิบาลและวิชาการต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการสอนคำสอนและการประกาศข่าวดี การสอนคำสอนจะสามารถได้รับการสนับสนุนและให้กำลังใจในการปฏิบัติศาสนบริการประจำวันของพวกเขาเพื่อการเติบโตทางความเชื่อของพี่น้องของพวกเขา

 

[1]   Cf  EG 164-165

[2]   Cf EG 166

[3]   Cf EG 169-173

[4]    Cf  EG 259-283