คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

4. ภาษา

204.    ภาษาที่มีความหมายเชิงสัมพันธ์ เป็นส่วนสำคัญของประสบการณ์ของมนุษย์ การสอนคำสอนถูกทำให้เป็นมาตรฐานตามความแตกต่างของบุคคล วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ หรือสภาพแวดล้อมของวิถีทางและความสามารถในการเข้าใจความเป็นจริง ภาษาเป็นการดำเนินการสอนที่พูดอย่างชัดแจ้งตามภาษาต่างๆ ของผู้เข้าร่วม และในขณะเดียวกันก็เป็นผู้รับใช้ภาษาเฉพาะ ในความจริง “เราไม่เชื่อในบทสูตร แต่เชื่อในข้อเท็จจริงที่สูตรเหล่านั้นแสดงออกซึ่งความเชื่อยอมให้เราสัมผัส... ถึงกระนั้น   เราก็เข้ามาใกล้กับความเป็นจริงเหล่านั้นที่ช่วยให้เราแต่งสูตรความเชื่อซึ่งช่วยให้แสดงและถ่ายทอดความเชื่อ ให้เฉลิมฉลองความเชื่อในชุมชน ให้เราทำให้ความเชื่อนั้นเป็นของตน และช่วยให้เราดำเนินชีวิตจากความเชื่อนั้นมากยิ่งขึ้น  พระศาสนจักร...สอนภาษาความเชื่อให้เราเข้าใจ  แนะนำให้เราดำเนินชีวิตตามความเชื่อนั้น”[4]

 

205.    ด้วยเหตุนี้ การสอนคำสอนจึงถูกถ่ายทอดในภาษาที่แสดงถึงความเชื่อของพระศาสนจักร  ในประวัติศาสตร์ พระศาสนจักรได้สื่อสารความเชื่อของตนผ่านพระทางคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (ภาษาพระคัมภีร์) สัญลักษณ์ต่างๆ ในพิธีกรรมและพิธีต่างๆ (ภาษาสัญลักษณ์ - พิธีกรรม) งานเขียนของบรรดาปิตาจารย์  บทข้าพเจ้าเชื่อกฎเกณฑ์ต่างๆ ของอำนาจสอน (ภาษาหลักคำสอน) และประจักษ์พยานของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์และมรณสักขี (ภาษาการกระทำ) ภาษาเหล่านี้เป็นภาษาหลักของความเชื่อของพระศาสนจักรที่ยอมให้ผู้มีความเชื่อพูดภาษาเดียวกัน การสอนคำสอนให้คุณค่าเหล่านี้โดยอธิบายถึงความหมายและความสำคัญในชีวิตของผู้มีความเชื่อ

 

206.    ในขณะเดียวกัน  การสอนคำสอนก็นำภาษาของวัฒนธรรมของผู้คนมาใช้อย่างสร้างสรรค์  โดยที่ความเชื่อนั้นแสดงออกมาในลักษณะเฉพาะ  และช่วยให้ชุมชนของพระศาสนจักรค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่ปรับให้เข้ากับผู้ฟัง การสอนคำสอนจึงเป็นลักษณะการนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรม ในความเป็นจริง “พันธกิจยังคงเหมือนเดิม  แต่ภาษาที่ประกาศพระวรสารจะต้องได้รับการฟื้นฟูด้วยปรีชาญาณในการอภิบาล  นี่เป็นสิ่งสำคัญทั้งเพื่อให้คนรุ่นเดียวกันของเราเข้าใจและเพื่อให้ธรรมประเพณีคาทอลิกสามารถพูดกับวัฒนธรรมต่างๆ ในโลกปัจจุบัน  และช่วยให้พวกเขาเปิดใจรับสารของพระคริสตเจ้าซึ่งเกิดผลนิรันดร”[5]

 

ภาษาการเล่าเรื่อง

207.    การสอนคำสอนชื่นชมทุกภาษาที่ช่วยในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ความสนใจในภาษาการเล่าเรื่องและอัตชีวประวัติ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสาขาวัฒนธรรมต่างๆ ได้กลับมาค้นพบการเล่าเรื่อง ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือทางภาษาเท่านั้น แต่เหนืออื่นใด  เป็นวิธีการที่ผู้คนเข้าใจตนเองและความเป็นจริงที่อยู่รอบตัวพวกเขา และให้ความหมายกับประสบการณ์ของพวกเขา ชุมชนของพระศาสนจักรเริ่มตระหนักมากขึ้นถึงเอกลักษณ์ในการเล่าเรื่องความเชื่อดังที่พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ได้สนับสนุนการเป็นประจักษ์พยานในเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของแหล่งที่มา ของบรรดาอัยกา (ในพันธสัญญาเดิม) และของประชากรที่ได้รับเลือกสรร ในเรื่องราวของพระเยซูเจ้าที่ได้ถูกเล่าไว้ในพระวรสาร และในเรื่องราวของการเริ่มต้นของพระศาสนจักร

 

208.    ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา  พระศาสนจักรเป็นเหมือนชุมชนครอบครัวที่ยังคงเล่าเรื่องราวแห่งความรอดพ้นในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยรวมเข้าด้วยกันกับตัวตนของพระศาสนจักรเองที่ต้อนรับการเล่าเรื่องนี้  ภาษาการเล่าเรื่องมีความสามารถอย่างแท้จริงในการประสานภาษาความเชื่อทั้งหมดที่อยู่ล้อมรอบแกนกลางซึ่งเป็นธรรมล้ำลึกปัสกา ยิ่งกว่านั้น ยังส่งเสริมความมีชีวิตชีวาจากประสบการณ์ของความเชื่อ เพราะเกี่ยวข้องกับบุคคลในทุกมิติ กล่าวคือ อารมณ์ ความรู้ความเข้าใจ ความตั้งใจ ดังนั้น จึงเป็นการดีที่จะตระหนักถึงคุณค่าของการเล่าเรื่องในการสอนคำสอนเพราะเน้นมิติทางประวัติศาสตร์ของความเชื่อ และความสำคัญของสิ่งที่มีอยู่จริง การร้อยเรื่องราวของพระเยซูเจ้า เข้าด้วยกัน ความเชื่อของพระศาสนจักร และชีวิตของผู้ที่เล่าและฟังมัน ภาษาการเล่าเรื่องมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายทอดความเชื่อในวัฒนธรรมที่แย่ลงเรื่อยๆ ในรูปแบบการสื่อสารที่ลึกซึ้งและมีประสิทธิภาพ

 

ภาษาศิลปะ

209.    ภาพศิลปะคริสตชน เมื่อเป็นของแท้ เปิดเผยผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัสว่าพระเจ้ายังทรงพระชนม์  ประทับอยู่  และกำลังทำงานในพระศาสนจักรและในประวัติศาสตร์[6] สิ่งเหล่านี้ประกอบขึ้นเป็นภาษาของความเชื่อที่แท้จริง  มีคำกล่าวที่มีชื่อเสียงว่า “ถ้าคนนอกศาสนาขอท่านว่า ‘แสดงความเชื่อของท่านให้ฉันดู’... ท่านจะพาเขาไปที่วัดและนำเขาไปต่อหน้ารูปภาพศักดิ์สิทธิ์”[7]องค์ประกอบศิลปะเกี่ยวกับรูปบูชาที่เป็นสัญลักษณ์นี้ แม้ว่าจะมีรูปแบบที่หลากหลายและถูกต้องตามกฎหมาย ในสหัสวรรษแรก เป็นสมบัติร่วมของพระศาสนจักรที่แบ่งแยกไม่ได้และมีบทบาทสำคัญในการประกาศข่าวดี เพราะในการขอความช่วยเหลือจากการเป็นสื่อกลางของสัญลักษณ์สากลนั้น  สัมผัสถึงความปรารถนาและความรู้สึกที่ลึกซึ้งที่สุดที่สามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภายใน ดังนั้นในยุคของเรา รูปภาพสามารถช่วยให้ผู้คนมีประสบการณ์ในการพบปะกับพระเจ้าผ่านการไตร่ตรองถึงความงามของภาพ ในความเป็นจริงภาพเหล่านี้นำการสนับสนุนมาสู่ผู้ที่ไตร่ตรองถึงภาพเหล่านี้ การจ้องมองพระเจ้าที่ี่เรามองไม่เห็น  ให้การเข้าถึงความเป็นจริงของโลกฝ่ายจิตและโลกแห่งอันตกาล

 

210.    กิจกรรมการใช้ภาพในการสอนคำสอนมีการให้ความสนใจย้อนไปตั้งแต่ในสมัยโบราณของพระศาสนจักร เหนืออื่นใด ภาพเหล่านี้เป็นวิธีช่วยให้ผู้มีความเชื่อได้รับรู้และจดจำเหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์แห่งการช่วยให้รอดพ้นได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงทีมากขึ้น สิ่งที่เรียกว่า“biblia pauperum” (แปลว่า พระคัมภีร์สำหรับคนยากจน) ซึ่งเป็นชุดที่เป็นระเบียบ ซึ่งทุกคนมองเห็นได้ จากตอนต่างๆ ในพระคัมภีร์ที่แสดงออกทางศิลปะต่างๆ ในมหาวิหารและในวัด ซึ่งยังคงเป็นรูปแบบของการสอนคำสอนที่แท้จริงในปัจจุบัน เมื่องานศิลปะได้รับการคัดเลือกอย่างรอบคอบ ศิลปะเหล่านี้สามารถนำไปสู่การแสดงในหลายแง่มุมของความจริงแห่งความเชื่อ สัมผัสหัวใจและช่วยทำให้สารเป็นเรื่องเกี่ยวกับภายใน

 

211.    มรดกทางดนตรีของพระศาสนจักร ซึ่งมีคุณค่าทางศิลปะและฝ่ายจิตที่ประเมินค่าไม่ได้ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อนำความเชื่อและถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าสำหรับการประกาศข่าวดี เพราะดนตรีทำให้จิตใจของมนุษย์มีความปรารถนาถึงสิ่งไม่มีขอบเขต นักบุญออกัสติน ได้อธิบายถึงพลังของดนตรีศักดิ์สิทธิ์ว่า “ข้าพเจ้าร้องไห้อย่างมากมายเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระเจ้าและบทเพลงต่างๆเพื่อเป็นเกียรติแด่พระองค์ รู้สึกสะเทือนใจอย่างมากจากเสียงร้องเพลงอันไพเราะของพระศาสนจักรของพระองค์! เสียงเหล่านั้นดังก้องในหูของข้าพเจ้าและความจริงก็ถาโถมเข้ามาในใจข้าพเจ้า  และทั้งหมดกลายเป็นความรักที่ทำให้ข้าพเจ้ามีความสุขจนน้ำตาไหล”[8] เพลงต่างๆ ในพิธีกรรมยังมีหลักคำสอนที่ถ่ายทอดออกมาพร้อมเสียงดนตรี เข้าสู่จิตใจได้ง่ายขึ้นและสร้างความประทับใจ
ให้กับผู้คนในทางที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

 

212.    ตลอดหลายศตวรรษพระศาสนจักรซึ่งมีปฏิกิริยาต่อการแสดงออกทางศิลปะที่แตกต่างกัน (วรรณกรรม การแสดงละคร ภาพยนตร์ ฯลฯ) ยังถูกเรียกให้เปิดกว้างด้วยความรู้สึกเกี่ยวกับการวิจารณ์อย่างถูกต้อง ต่อศิลปะร่วมสมัยด้วยเช่นกัน “รวมทั้งรูปแบบความงดงามที่แปลกไปจากเดิม ที่ไม่สู้จะมีความหมายนักสำหรับผู้ประกาศพระวรสาร แต่เป็นที่น่าสนใจสำหรับคนอื่นๆอย่างยิ่ง”[9]  ศิลปะเช่นนี้สามารถมีข้อดีของการเปิดให้บุคคลเข้ากับภาษาแห่งความรู้สึก  ช่วยให้เขาไม่เป็นเพียงผู้ชมงานศิลปะ   แต่ได้เข้าร่วมในการแสดง ประสบการณ์ทางศิลปะเหล่านี้ มักเกิดขึ้นจากการค้นหาความหมายและชีวิตฝ่ายจิตที่แข็งแกร่ง สามารถช่วยในการกลับใจเปลี่ยนความรู้สึก  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางแห่งความเชื่อ ศิลปะเหล่านี้ยังสามารถส่งเสริมการปล่อยวางลัทธิปัญญานิยมบางอย่างซึ่งอาจทำให้การสอนคำสอนล้มเหลวได้

 

ภาษาดิจิทัลและเครื่องมือ

213.    ภาษาของการสอนคำสอน มีจุดสัมพันธ์อย่างจำเป็นกับทุกมิติของการสื่อสารและเครื่องมือในการสื่อสาร การเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งในการสื่อสาร ซึ่งเห็นได้ชัดในระดับเทคโนโลยี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับวัฒนธรรม[10] เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานทางวัฒนธรรมใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารและการใช้ชีวิตของบุคคล ในพื้นที่เสมือนจริง ซึ่งหลายคนมองว่ามี  ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าโลกแห่งความเป็นจริง ผู้คนได้รับข่าวสารและข้อมูล พัฒนาและแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการถกเถียงและการสนทนา และแสวงหาคำตอบสำหรับคำถามของพวกเขา การพิจารณาปรากฏการณ์เหล่านี้อย่างไม่เพียงพอนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะปรากฏว่าไร้ความหมายสำหรับคนจำนวนมาก

 

214.    ภายในพระศาสนจักร มักมีความเคยชินในการสื่อสารแบบทิศทางเดียว คือ การเทศน์ การสอน และการนำเสนอบทสรุปของข้อคำสอนต่างๆ  ยิ่งกว่านั้นคำที่เป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมกับความพยายามพูดกับเยาวชนที่คุ้นเคยกับภาษาที่ประกอบด้วยคำเขียน เสียง และภาพรวมกัน การสื่อสารในรูปแบบดิจิทัลนั้นมีความเป็นไปได้มากกว่า  โดยที่พวกเขาเปิดให้มีปฏิสัมพันธ์  ด้วยความรู้ทางเทคโนโลยี เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อรับประกันการปรากฏตัวบนอินเทอร์เน็ตที่เป็นประจักษ์พยานถึงคุณค่าของการประกาศพระวรสาร

 

215.    เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โซเชียลมีเดียและอุปกรณ์ดิจิทัล   ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกัน การแบ่งปันการทำงาน และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ “โซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่นเดียวกันกับการประกาศข่าวดี สามารถเป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนามนุษย์ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในบริบททางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่คริสตชนรู้สึกโดดเดี่ยว เครือข่ายทางสังคมสามารถเสริมสร้างความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชนผู้มีความเชื่อ
ทั่วโลกได้”[11]

 

216.    เป็นเรื่องดีสำหรับชุมชนในการมุ่งมั่น ไม่เพียงเพื่อรับมือกับความท้าทายทางวัฒนธรรมใหม่นี้เท่านั้น แต่ยังตอบสนองคนรุ่นใหม่ด้วยเครื่องมือที่ใช้กันทั่วไปในการสอน นอกจากนี้ยังมีความสำคัญเป็นอันดับแรกสำหรับการสอนคำสอนเพื่อให้ความรู้แก่ผู้มีความเชื่อในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์และในความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมดิจิทัล  ซึ่งช่วยให้พวกเขามองเห็นด้านบวกจากสิ่งที่คลุมเครือ  บรรดาครูคำสอนในปัจจุบันต้องตระหนักให้มากขึ้นถึงขอบเขตที่โลกเสมือนจริงสามารถทิ้งร่องรอยที่ลึกซึ้งไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้เยาว์หรือผู้เปราะบาง และมีอิทธิพลมากเพียงใดในการจัดการอารมณ์หรือในกระบวนการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคลหนึ่ง

 

217.    อย่างไรก็ตาม ความเสมือนจริงไม่สามารถแทนที่ความเป็นจริงฝ่ายจิตศีลศักดิ์สิทธิ์ และความเป็นจริงของพระศาสนจักร  ที่มีประสบการณ์ในการพบปะโดยตรงระหว่างบุคคล “เราเองเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร  และปัญหาที่แท้จริงไม่ได้เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด  แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้สถานะของการแสดงตนที่ถูกต้องเป็นไปได้ก็ตาม  เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีความชัดเจนอย่างยิ่งว่าพระเจ้าผู้ซึ่งเราเชื่อ  ทรงรักมนุษย์ทั้งชายและหญิงทุกคนอย่างมากมาย ทรงปรารถนาที่จะเผยแสดงพระองค์เองโดยทางวิธีการที่เราปฏิบัติไม่ว่าพวกเขาจะยากจนเพียงใด เพราะเป็นพระองค์เองที่ทำงานอยู่ พระองค์ผู้ทรงเปลี่ยนแปลงและช่วยเรา”[12] สิ่งที่จำเป็นเพื่อเป็นประจักษ์พยานถึงพระวรสารคือรูปแบบการสื่อสารซึ่งเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างบุคคล

 

[4] CCC 170-171.

[5]  Francis, Address to participants in the Plenary Assembly of the Pontifical Council for Promotion New Evangelization(29th May 2015)        

[6]  Cf John Paul II, Apostolic Letter Duodecimum saeculum (4th December 1987), 11.

[7] Adversus Constantinum caballinum, 10 (PG 95.325).        

[8]  Augustine of Hippo, Confessions 9.6.14 (CCL 27.141; PL 32.769-770)

[9]  EG 167.

[10]  For digital culture in general, cf nn.359-372 (Catechesis and digital Culture) of the present document.

[11] Benedict XVI, Message for the 47th World Communications Day (24th January 2013).      

[12] Francis, Address to participants in the Plenary Assembly of the Pontifical Council for Social Communications (21st  September 2013)