คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

4. มิติของการอบรม

136.       การอบรมครูคำสอนรวมทั้งมิติต่างๆ  สิ่งที่ลึกซึ้งที่สุดเกี่ยวข้องกับการเป็นครูคำสอน ก่อนที่จะกระทำในฐานะครูคำสอน อันที่จริง การอบรมช่วยให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในฐานะบุคคล ในฐานะผู้มีความเชื่อ และในฐานะศิษย์ ในปัจจุบันยังมองมิตินี้ในแง่ของการรู้เท่าทัน” ซึ่งเน้นขอบเขตที่เอกลักษณ์ส่วนบุคคลเป็นเอกลักษณ์ของความสัมพันธ์เสมอ ยิ่งกว่านั้น เพื่อให้ครูคำสอนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม การอบรมจะต้องใส่ใจกับมิติของความรู้ซึ่งแสดงถึงความซื่อสัตย์สองประการคือ ต่อสารและต่อบุคคลในบริบทที่เขามีชีวิตอยู่ ในที่สุด เนื่องจากการสอนคำสอนเป็นการกระทำเพื่อการสื่อสารและการศึกษา  การอบรมจึงต้องไม่ละเลยมิติของการ รู้-กระทำ” ในการปฏิบัติ

 

137.       มิติของการอบรมครูคำสอนต้องไม่พิจารณาอย่างเป็นอิสระจากกันและกัน แต่ในทางตรงกันข้าม มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นลักษณะของเอกภาพที่แบ่งแยกไม่ได้ของบุคคล  เพื่อการเติบโตที่กลมกลืนกันของบุคคลในการเป็นครูคำสอน  จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมที่การอบรมควรระมัดระวังที่จะไม่เน้นมิติหนึ่งเหนืออีกมิติหนึ่ง  แต่ควรพยายามส่งเสริมพัฒนาการที่สมดุล  ทำงานในแง่มุมที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นข้อบกพร่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

 

138.       ในทางกลับกัน   ความพยายามที่จะได้มาซึ่งความสามารถเหล่านี้จะต้องไม่นำไปสู่ความคิดว่าครูคำสอนเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ  แต่โดยหลักแล้วเป็นผู้ซึ่งในฐานะบุคคลที่มีประสบการณ์ความรักของพระเจ้า และด้วยเหตุผลนี้เพียงอย่างเดียวพวกเขาจึงมอบตนเองเพื่อรับใช้การประกาศถึงพระอาณาจักร การตระหนักถึงข้อจำกัดของตัวเองไม่สามารถทำให้ครูคำสอนท้อใจจากการต้อนรับการเรียกเข้าสู่การรับใช้ ในทางตรงกันข้าม เขาสามารถตอบรับต่อสิ่งนี้ได้โดยอาศัยความสัมพันธ์ที่มีชีวิตชีวาของเขากับพระเจ้า และด้วยความปรารถนาที่จะดำเนินชีวิตแบบคริสตชนอย่างถูกต้องแท้จริง  ด้วยความใจกว้างทำให้ชุมชนมี “ขนมปังห้าก้อนและปลาสองตัว” (เทียบ มก 6:38) ด้วยคุณลักษณะส่วนตัวของเขา “เราต้องการการอบรมที่ดีขึ้น…ความบกพร่องของเราต้องไม่เป็นข้ออ้าง ตรงกันข้าม พันธกิจนี้เป็นเครื่องกระตุ้นอยู่เสมอมิให้จมอยู่ในความเฉื่อยชา แต่ให้เติบโตต่อไป”[5]

 

การเป็น และการรู้ อยู่อย่างไรกับ’(knowing-how to be with) : ในความเป็นผู้ใหญ่แบบมนุษย์และแบบคริสตชน และความตระหนักถึงการเป็นธรรมทูต

139.       ในมิติของการเป็น  ครูคำสอนได้รับการอบรมเพื่อเป็นประจักษ์พยานแห่งความเชื่อและเป็นผู้รักษาความทรงจำของพระเจ้า การอบรมช่วยให้ครูคำสอนสามารถพิจารณาการกระทำด้านคำสอนของตัวเองอีกครั้งในฐานะเป็นโอกาสสำหรับการเติบโตแบบมนุษย์และแบบคริสตชน บนพื้นฐานของการเริ่มเป็นผู้ใหญ่แบบมนุษย์ ครูคำสอนได้รับเรียกให้เติบโตอย่างต่อเนื่องในความสมดุลทางอารมณ์ ความรู้สึกด้านการวิเคราะห์ เอกภาพ และเสรีภาพภายในความสัมพันธ์ในการดำรงชีวิตที่สนับสนุนและเสริมสร้างความเชื่อ “เหนืออื่นใดการอบรมบำรุงเลี้ยงชีวิตฝ่ายจิตของครูคำสอน เพื่อให้กิจกรรมของเขาเกิดในความจริงจากการเป็นประจักษ์พยานชีวิตของตนเอง”[6] ดังนั้น การอบรมจึงค้ำจุนความตระหนักรู้ถึงการเป็นธรรมทูตของครูคำสอน โดยทางความรู้ที่ฝังลึกของความต้องการถึงพระอาณาจักรที่พระเยซูเจ้าทรงแสดงถึง งานการอบรมสำหรับวุฒิภาวะแบบมนุษย์ แบบคริสตชน และแบบธรรมทูต ต้องการเพื่อนร่วมทางอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นการทำงานอย่างต่อเนื่องบนแกนหลักที่ทำให้กิจกรรมของบุคคลนั้นเกิดผล

 

140.       บนพื้นฐานภายในของระดับนี้แตกหน่อออกเป็น “การรูู้้ จะอยู่อย่างไรกับ” (knowing-how to be with) ในฐานะเป็นความสามารถตามธรรมชาติที่จำเป็นในการสอนคำสอนเป็นที่เข้าใจว่าเป็นการกระทำเพื่อการศึกษาและการสื่อสาร ในความเป็นจริงนั้นอยู่บนความสัมพันธ์ซึ่งมีอยู่โดยธรรมชาติที่อยู่ในแก่นแท้ของบุคคล (เทียบ ปฐก 2:18) ซึ่งความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกันของพระศาสนจักรได้รับการต่อกิ่ง การอบรมครูคำสอนมีความระมัดระวังในการทำให้ปรากฏและส่งเสริมการเติบโตของความสามารถด้านความสัมพันธ์นี้ ซึ่งถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมด้วยความเต็มใจที่จะดำเนินชีวิตตามความสัมพันธ์ของมนุษย์และของพระศาสนจักรในแบบที่เป็นพี่น้องกันและความสงบเงียบ[7]

 

141.       ในการย้ำถึงความมุ่งมั่นเพื่อการส่งเสริมวุฒิภาวะแบบมนุษย์และแบบคริสตชนของครูคำสอน  พระศาสนจักรเตือนเราถึงงานที่ทำให้มั่นใจอย่างแน่นอนว่า เมื่อพระศาสนจักรปฏิบัติพันธกิจของตน ทุกบุคคล โดยเฉพาะผู้เยาว์และผู้เปราะบาง ได้รับการรับประกันอย่างแน่นอนในการปกป้องจากการถูกล่วงละเมิดทุกรูปแบบ “เพื่อให้ปรากฏการณ์เหล่านี้ในทุกรูปแบบจะไม่เกิดขึ้นอีก จำเป็นต้องมีการกลับใจอย่างต่อเนื่องและลึกซึ้ง ได้รับการยืนยันโดยการกระทำที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกคนในพระศาสนจักร เพื่อให้ความศักดิ์สิทธิ์ส่วนตัวและความมุ่งมั่นทางศีลธรรมสามารถมีส่วนในการส่งเสริมความน่าเชื่อถืออย่างเต็มที่ของสารของพระวรสารและเป็นผลประโยชน์อย่างแท้จริงของพันธกิจของพระศาสนจักร”[8]

 

142. ในเรื่องการรับใช้ ครูคำสอนอยู่ในสถานะที่สัมพันธ์กับผู้คนที่เขาเป็นเพื่อนร่วมทางในความเชื่อและพวกเขาเข้าใจว่าเป็นเหมือนดั่งจุดอ้างอิง เป็นผู้ดำเนินการที่มีอำนาจในรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องแสดงบทบาทนี้ด้วยความเคารพอย่างที่สุดต่อมโนธรรมและต่อบุคคลของผู้อื่น หลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจ มโนธรรม การเงิน หรือเรื่องเพศ ครูคำสอนในโครงการอบรมของพวกเขา ตลอดจนการเสวนาอย่างซื่อสัตย์กับวิญญาณรักษ์ ควรได้รับความช่วยเหลือในการแยกแยะแนวทางที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิตตามอำนาจหน้าที่ของตนในฐานะรับใช้พี่น้องของเขาเท่านั้น ยิ่งกว่านั้น เพื่อไม่ให้ทรยศต่อความไว้วางใจของบุคคลที่พวกเขาได้รับมอบหมายให้ พวกเขาควรสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างทัศนะภายนอกและทัศนะภายใน (external forum and the internal forum) และควรเรียนรู้ที่จะเคารพในเสรีภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของผู้อื่น โดยไม่ละเมิดหรือจัดการในทางใดทางหนึ่ง

 

ความรู้ : การอบรมด้านพระคัมภีร์ – เทววิทยา และความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์และบริบททางสังคม

143.       ครูคำสอนยังเป็นครูที่สั่งสอนความเชื่อด้วย ในความเป็นจริง ในขณะที่เป็นประจักษ์พยานในคุณธรรมหลัก เขาต้องไม่ลืมว่าเขารับผิดชอบในการถ่ายทอดความเชื่อของพระศาสนจักรด้วย ดังนั้น ในการอบรมควรทำให้มีพื้นที่สำหรับการสำรวจและศึกษาข้อความที่จะถ่ายทอดในความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรม พระศาสนจักร และความเป็นอยู่ในปัจจุบันของผู้ฟัง เป็นความจำเป็นที่จะต้องไม่ดูแคลนความจำเป็นในการอบรมในมุมมองนี้ ซึ่งเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความปรารถนาที่จะเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับพระองค์ผู้ซึ่งในความเชื่อครูคำสอนได้ยอมรับแล้วว่าเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าของเขา การผสมผสานเนื้อหาเรื่องความเชื่อในฐานะเป็นปรีชาญาณของความเชื่อ ที่เกิดขึ้นเหนือสิ่งอื่นใดโดยทางความคุ้นเคยกับพระคัมภีร์และจากการศึกษาหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก หนังสือคำสอนของพระศาสนจักรท้องถิ่น เอกสารต่างๆ ที่เป็นอำนาจสอนของพระศาสนจักร

 

144.       ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่ครูคำสอนควรรู้

         -  ส่วนที่เป็นหลักการแบ่งของประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น เช่นพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ และประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร ในแง่ของธรรมล้ำลึกปัสกาของพระเยซูคริสตเจ้า

         -  แก่นสำคัญของสารและประสบการณ์ของคริสตชน ข้อความเชื่อ พิธีกรรม และศีลศักดิ์สิทธิ์ ชีวิตทางศีลธรรม และการภาวนา

         -  องค์ประกอบหลักของอำนาจสอนของพระศาสนจักรเกี่ยวกับการประกาศพระวรสารและการสอนคำสอน

ยิ่งกว่านั้น ในบางส่วนของโลกที่ซึ่งชาวคาทอลิกจากธรรมประเพณีของพระศาสนจักรที่แตกต่างอยู่ร่วมกัน ครูคำสอนควรมีความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับกฎระเบียบทางเทววิทยา พิธีกรรม และที่เกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์ของพี่น้องของพวกเขา ในที่สุด ในบริบทของการฟื้นฟูเอกภาพคริสตจักรและพหุนิยมทางศาสนาเหล่านั้น ครูคำสอนควรให้ความใส่ใจในการทำความคุ้นเคยกับองค์ประกอบที่สำคัญของชีวิตและเทววิทยาของคริสตจักรและชุมชนคริสต์อื่นๆ และของศาสนาอื่น ด้วยความเคารพในเอกลักษณ์ของทุกคน การเสวนาอาจเป็นที่น่าเชื่อถือและเกิดผล

 

145.       ในการนำเสนอสาร ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม จำเป็นต้องเอาใจใส่วิธีการทำเพื่อจะได้รับการต้อนรับและการยอมรับอย่างกระตือรือร้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการประสมประสาน

          ก. มีลักษณะกระชับและประกาศเรื่องพระเยซูเจ้า ในลักษณะที่องค์ประกอบต่างๆ ของความเชื่อซึ่งอาจนำเสนอในวิสัยทัศน์ที่เป็นหนึ่งเดียวและเป็นธรรมชาติซึ่งสามารถดึงดูดประสบการณ์ของมนุษย์ได้

          ข. คุณภาพการเล่าเรื่องของการอธิบายพระคัมภีร์ ซึ่ง “งานสอนคำสอนจะต้องเข้าถึงพระคัมภีร์ตามความเชื่อและธรรมประเพณีของพระศาสนจักร นั่นคือเข้าใจว่าถ้อยคำเหล่านั้นยังเป็นปัจจุบัน...  เพื่อผู้มีความเชื่อคนจะได้รู้สึกว่าประวัติศาสตร์นี้เป็นชีวิตส่วนหนึ่งของตนด้วย”[9]

          ค. ลักษณะคำสอนของเนื้อหาเกี่ยวกับเทววิทยา ซึ่งคำนึงถึงสภาพชีวิตของผู้คน

          ง.  ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบการสนทนาธรรม (apologetics) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเชื่อไม่ขัดแย้งกับเหตุผลและเน้นย้ำความจริงของมานุษยวิทยาที่ถูกต้อง  สว่างไสวด้วยเหตุผลทางธรรมชาติ  บทบาทของคำนำของความเชื่อ ถูกเน้นเพื่อ “มุ่งพัฒนาเนื้อหาใหม่เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นการปกป้องความเชื่อคริสตศาสนาที่สร้างสรรค์ ที่ช่วย สร้างความพร้อม เปิดกว้างให้ทุกคนได้ยินได้ฟังพระวรสาร”[10]

 

146.       พร้อมกับความซื่อสัตย์ต่อสารแห่งความเชื่อ  ครูคำสอนได้รับเรียกให้เข้าใจมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมและในบริบททางวัฒนธรรมทางสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่ ดังเช่นที่คริสตชนทุกคนกระทำ  ครูคำสอนก็ควรเป็นให้มากยิ่งขึ้น “เจริญชีวิตในความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนอื่นๆ ในยุคสมัยของตน และขอให้พวกเขาพยายามทำความเข้าใจวิธีคิดและการตัดสินของพวกเขาอย่างถ่องแท้ตามที่แสดงออกในวัฒนธรรมของพวกเขา” (GS 62) ความรู้นี้ได้มาจากประสบการณ์และการไตร่ตรองอย่างต่อเนื่อง แต่ยังต้องขอบคุณการมีส่วนร่วมอันมีค่าของวิทยาการของมนุษย์ ในแง่ของหลักคำสอนทางด้านสังคมของพระศาสนจักร ในบรรดาสิ่งเหล่านี้ควรคำนึงถึงจิตวิทยา สังคมวิทยา วิชาครู วิทยาการทางการศึกษา การอบรมและการสื่อสาร พระศาสนจักรรู้สึกว่าได้รับการเรียกให้มีส่วนร่วมกับวิทยาการเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของการมีส่วนร่วมอันมีค่าที่พวกมันสามารถทำได้ทั้งในการอบรมครูคำสอนและกิจกรรมทางด้านคำสอนเองด้วย  ในความเป็นจริงแล้วเทววิทยาและวิทยาการของมนุษย์สามารถเสริมสร้างซึ่งกันและกันได้

 

147.       เกณฑ์ที่ช่วยในการพิจารณาการใช้วิทยาการของมนุษย์ในการอบรมครูคำสอน (เทียบ GDC 243)

     -  เคารพในความเป็นอิสระของวิทยาการ  กล่าวคือ พระศาสนจักร “ยืนยันว่า วัฒนธรรมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งของวิทยาการ มีความเป็นอิสระที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม” (GS 59)

     -  ความสามารถแยกแยะไตร่ตรองและการประเมินผลของทฤษฎีทางจิตวิทยา สังคมวิทยา และการเรียนการสอนที่แตกต่างกันเพื่อที่จะสามารถเห็นคุณค่าและตระหนักถึงข้อจำกัดของมัน

      -  การมีส่วนร่วมแบ่งปันของวิทยาการของมนุษย์รวมอยู่ในมุมมองของความเชื่อและบนพื้นฐานของมานุษยวิทยาแบบคริสตชน 

 

การรู้ - ปฎิบัติ (Savoir-faire) : การอบรมด้านวิชาครูและวิธีการ

148.       ในมิติของการรู้ - ปฏิบัติ  ครูคำสอนได้รับการอบรมเพื่อเติบโตในฐานะนักการศึกษาและนักสื่อสาร “ครูคำสอนคือผู้อบรมคนหนึ่งผู้ซึ่งก่อให้เกิดการเป็นผู้ใหญ่ทางความเชื่อ ซึ่งผู้เตรียมตัวเป็นคริสตชนและผู้ที่กำลังเรียนคำสอนได้รับความช่วยเหลือจากพระจิตเจ้า ความเป็นจริงประการแรกที่จะต้องคำนึงถึงในขอบเขตของการอบรมซึ่งถูกกำหนดนี้ คือความจริงเกี่ยวกับวิธีสอนความเชื่อแบบดั้งเดิม”[11] ครูคำสอนตระหนักว่าผู้ฟังเป็นผู้เข้าร่วมที่กระตือรือร้น ผู้ที่พระหรรษทานของพระเจ้าทำงานอย่างมีพลัง จะแสดงตนเองเป็นผู้อำนวยความสะดวกด้วยความเคารพในประสบการณ์แห่งความเชื่อซึ่งเขาไม่ใช่ผู้รับผิดชอบ

 

149.       การอบรมด้านการเรียนการสอนของครูคำสอนควรพัฒนาทัศนคติหลายประการในตัวเขา ได้แก่

          ก. ความสามารถของอิสรภาพภายในและการให้เปล่า ของการอุทิศตนและความสม่ำเสมอ เพื่อที่จะเป็นประจักษ์พยานแห่งความเชื่อที่น่าเชื่อถือ

          ข. ความเชี่ยวชาญในการสื่อสารและการเล่าเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ในฐานะที่มีความสามารถในการนำเสนอประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นในรูปแบบที่สำคัญยิ่งนี้ เพื่อให้ผู้คนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นนี้

          ค.  ความเป็นผู้ใหญ่ทางความคิดทางการศึกษา  ที่แสดงถึงความเต็มใจที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นผู้ใหญ่กับบุคคล และความสามารถในการนำทางการขับเคลื่อนของกลุ่ม ส่งเสริมการกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้สำหรับทั้งบุคคลและชุมชน

          ง.  การจัดการที่สงบของความสัมพันธ์ทางการศึกษาในความสามารถที่เกี่ยวกับอารมณ์ของพวกเขา ปรับตัวให้เข้ากับโลกภายในของผู้อื่น และจัดการกับตนเองเพื่อแสดงอารมณ์ของคนๆ หนึ่ง

           จ.  ความสามารถในการจัดเตรียมเส้นทางแห่งความเชื่อซึ่งประกอบด้วยการพิจารณา  สถานการณ์ทางวัฒนธรรม-สังคม  การใช้ประโยชน์จากภาษา เทคนิคต่างๆ และเครื่องมือด้วยความคิดสร้างสรรค์  เพื่อทำการประเมินผล

กระบวนการการศึกษา การเติบโตและการสนทนาที่มีคุณค่า ซึ่งรวมถึงประสบการณ์ของความผิดพลาดและข้อจำกัด ต้องการความอดทนและความทุ่มเท เป็นความคิดที่ดีที่จะพัฒนาความเต็มใจที่จะให้ตนเองได้รับการศึกษาในขณะที่คนหนึ่งให้การศึกษา ในความเป็นจริง ประสบการณ์เป็นห้องปฏิบัติการของการอบรมซึ่งทำให้การเรียนรู้นั้นลึกซึ้งที่สุด

 

150.       ในฐานะผู้ให้การศึกษา ครูคำสอนยังมีหน้าที่ในการเป็นสื่อกลางในการเป็นสมาชิกในชุมชน  และเจริญชีวิตในการให้บริการทางด้านคำสอนด้วยทัศนคติของความสนิทสัมพันธ์  ในความเป็นจริง  ครูคำสอนดำเนินการกระบวนการทาง การศึกษานี้ไม่ใช่ในฐานะปัจเจกบุคคล แต่ร่วมกับชุมชนและในนามของชุมชน  ด้วยเหตุนี้  เขาจึงรู้วิธีการทำงานร่วมกัน แสวงหาการมีส่วนร่วมกับกลุ่มครูคำสอน และผู้ทำงานด้านการอภิบาลคนอื่นๆ ยิ่งกว่านั้น เขาได้รับเรียกให้ดูแลคุณภาพของความสัมพันธ์และส่งเสริมพลังในกลุ่มที่ได้รับการสอนคำสอน

 

[5] EG 21 

[6] GDC 239           

[7] On this particular aspect, cf nn. 88-89 (Introduction to community life) of the present Directory.      

[8] Francis, Apostolic Letter Vos estis lux mundi (7th May 2019)        

[9] Benedict XVI, Post-synodal Apostolic Exhortation Verbum Domini (30th September 2010), 74              

[10] EG 132; cf also Synod of Bishops, General Assembly XIII, The new Evangelisation for the transmission of the Christian faith. List of final propositions (27th October 2012), 17.          

[11] GDC 244