คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

3. เกณฑ์ในการอบรม

135.       ในการอบรมครูคำสอนต้องคำนึงถึงเกณฑ์หลายประการที่ใช้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับโครงการในการอบรม  เนื่องจากครูคำสอนต้องได้รับการอบรมเพื่อการประกาศข่าวดีในโลกปัจจุบัน  จึงจำเป็นต้องใช้ปรีชาญาณในการประสานความสนใจอันเนื่องมาจากบุคคลและความจริงของความเชื่อ การเติบโตส่วนบุคคลและมิติของชุมชน การเอาใจใส่ดูแลพลังฝ่ายจิตและการอุทิศตนในความพยายามเพื่อความดีส่วนรวม เกณฑ์บางประการควรได้รับการพิจารณาด้วยวิธีที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น

 

          ก. สภาพชีวิตจิตของพันธกิจและการประกาศข่าวดี เป็นสิ่งสำคัญที่กระบวนการการอบรมทั้งครบจะซึมผ่านศูนย์กลางของประสบการณ์ฝ่ายจิตในมุมมองของการเป็นธรรมทูต  เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในความพยายามในการอภิบาลที่หักโหมเกินไป ครูคำสอนควรได้รับการอบรมให้เป็นศิษย์ธรรมทูตที่สามารถเริ่มต้นใหม่จากการมีประสบการณ์กับพระเจ้า ผู้ทรงส่งเขาไปร่วมกับพี่น้องในการเดินทาง ของพวกเขา สภาพชีวิตจิตธรรมทูตนี้ เป็นที่เข้าใจว่าเป็นการพบปะกับผู้อื่น  เป็นความพยายามในโลก  และความหลงใหลในการประกาศข่าวดี หล่อเลี้ยงชีวิตของครูคำสอน และช่วยเขาให้พ้นจากความเป็นปัจเจกบุคคล จากการหมกมุ่นอยู่กับตนเอง จากวิกฤตของเอกลักษณ์  และจากการพังพินาศของความเร่าร้อน

 

           ข. การสอนคำสอนฐานะเป็นการอบรมที่ครบถ้วน นี่เป็นเรื่องของ “การฝึกอบรมครูคำสอนเพื่อให้สามารถถ่ายทอดได้ทั้งคำสั่งสอนและการฝึกอบรมคริสตชนอย่างสมบูรณ์แบบ โดยการพัฒนา‘งานทั้งหลายที่เกี่ยวกับการนำเข้าสู่ชีวิตคริสตชน การให้การศึกษา และการอบรม’ครูคำสอนจะต้องทำหน้าที่ทั้งในฐานะครู ผู้ฝึกอบรม และประจักษ์พยานแห่งความเชื่อในเวลาเดียวกัน”[2] ด้วยเหตุนี้ การอบรมครูคำสอนก็ควรสามารถสร้างแรงบันดาลใจจากประสบการณ์การสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน องค์ประกอบอื่นๆ นั้นมีความโดดเด่นอย่างชัดเจนด้วยวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับชีวิตคริสตชน

 

            ค. รูปแบบของการเป็นเพื่อนร่วมทาง   พระศาสนจักรรู้สึกถึงหน้าที่ในการอบรมครูคำสอนในศิลปะการเป็นเพื่อนร่วมทางส่วนบุคคล ทั้งโดยเสนอให้พวกเขามีประสบการณ์ในการไปด้วยกันเพื่อเติบโตในการเป็นศิษย์ และโดยการเปิดโอกาสให้พวกเขาและส่งพวกเขาไปด้วยกันกับพี่น้องของพวกเขา รูปแบบนี้เรียกร้องให้มีความเต็มใจอย่างนอบน้อมที่จะปล่อยให้ตนเองได้สัมผัสกับ    ปัญหาและเผชิญหน้ากับสถานการณ์ในชีวิต ด้วยสายตาที่เต็มไปด้วยความสงสาร แต่ยังคงเคารพในเสรีภาพของอีกฝ่ายด้วย การพัฒนาใหม่ที่เรียกว่าครูคำสอนอยู่ในความใกล้ชิด ในการยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไข และในการที่เขาทำให้ตัวเองพร้อมที่จะเดินเคียงข้างคนอื่นๆ เพื่อฟังพวกเขาและอธิบายพระคัมภีร์ (เทียบ ลก 24:13-35; กจ 8:26-39) โดยไม่กำหนดเส้นทางล่วงหน้า โดยไม่เรียกร้องที่จะเห็นผล และไม่รั้งสิ่งใดไว้สำหรับตัวเอง

 

            ง. ความสอดคล้องระหว่างรูปแบบต่างๆ ในการอบรม “ในฐานะที่เป็นเกณฑ์ทั่วไป จำเป็นต้องเน้นความจำเป็นในการเชื่อมโยงกันระหว่างวิธีการสอนทั่วไปของการอบรมครูคำสอนกับวิธีการสอนที่เหมาะสำหรับกระบวนการการสอนคำสอน  มันจะยากมากสำหรับครูคำสอนในการใช้งานของเขาที่จะต้องหารูปแบบและใช้ไหวพริบในการสอนซึ่งเขามิได้รับการเตรียมการไว้ ในช่วงที่ได้รับการอบรม”[3]

 

            จ. ทัศนคติของความอ่อนน้อมและการอบรมตนเอง  ศาสตร์ของการอบรมบ่งบอกทัศนคติหลายประการฐานะเป็นเงื่อนไขสำหรับการเดินทางในการอบรมอย่างมีประสิทธิผล ในตำแหน่งแรก จำเป็นที่ครูคำสอนจะต้องพัฒนาความอ่อนน้อม ซึ่งหมายถึงความเต็มใจที่จะได้รับการสัมผัสจากพระหรรษทาน โดยชีวิต โดยบุคคล ในทัศนคติที่สงบเงียบและเป็นบวกต่อความเป็นจริงเพื่อเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ ยิ่งกว่านั้น ความเต็มใจในการอบรมตนเองเป็นสิ่งที่ช่วยให้ครูคำสอนสามารถสร้างวิธีการอบรมของตนเอง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองและในการรับใช้พระศาสนจักร ในแง่ที่เป็นรูปธรรม นี่เป็นเรื่องของการเข้าใจตนเองในฐานะผู้เข้าร่วมที่อยู่ในการอบรมและเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ของพระจิตเจ้าอยู่เสมอ  สามารถดูแลและหล่อเลี้ยงชีวิตความเชื่อของตนเองอย่างอิสระการยอมรับกลุ่มครูคำสอนในฐานะเป็นแหล่งการเรียนรู้ ของการดูแล
ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

 

            ฉ. พลวัติของห้องปฏิบัติการ[4] ในบริบทของกลุ่ม ฐานะเป็นการปฏิบัติการอบรมความเชื่อที่เรียนรู้โดยการกระทำ ซึ่งหมายถึงการให้คุณค่ากับประสบการณ์ การมีส่วนร่วม และการปฏิรูปของแต่ละคน ในมุมมองของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลง

 

[2] GDC 237, cf also Congregation for Clergy, General Directory for Catechesis (11th April 1971), 31.        

[3] GDC 237. Cf EG 171: “Today more than ever we need men and women who, on the basis of their experience of accompanying others, are familiar with process which call for prudence.”              

[4] Cf John Paul II, Address at the vigil of prayer at Tor Vergata for the 15th World Youth Day (19th August 2000): the process for concretely experiencing a maturation of the act of faith as an element of inner transformation was presented by John Paul II as a laboratory of faith.