คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

3. เป้าหมายของการสอนคำสอน

75.  ศูนย์กลางของทุกขั้นตอนของการสอนคำสอนคือการมีชีวิตที่พบปะกับ   พระคริสตเจ้า “ดังนั้น เป้าหมายสุดท้ายของการสอนคำสอนจึงมิใช่เพียงให้มนุษย์ได้สัมผัสกับพระเยซูคริสตเจ้าเท่านั้น แต่จะต้องให้เขาได้สัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ด้วย เพราะพระองค์เท่านั้นที่ทรงสามารถนำเราไปสู่ความรักของพระบิดา ในพระจิต และทำให้เรามีส่วนในชีวิตของพระตรีเอกภาพด้วย”[30]ความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางของชีวิตคริสตชน  และเป็นผลมาจากศูนย์กลางของการกระทำทางคำสอน  การสอนคำสอนมุ่งเน้นไปที่การสร้างบุคคลที่รู้จักกับพระเยซูคริสตเจ้าและพระวรสารแห่งความรอดพ้นในการปลดปล่อยของพระองค์ให้ดียิ่งๆขึ้น ผู้มีชีวิตในการพบปะกับพระองค์และผู้ที่เลือกเส้นทางชีวิตของตน และความรู้สึกนึกคิดของพระองค์ (เทียบ ฟป 2:5) มุ่งมั่นที่จะตระหนัก ในสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่พวกเขามีชีวิตอยู่ พันธกิจของพระคริสตเจ้า  ซึ่งเป็นการประกาศเรื่องอาณาจักรของพระเจ้า

 

76.  การพบปะกับพระคริสตเจ้าเกี่ยวข้องกับบุคคลทั้งครบของเขา หัวใจความคิด ความรู้สึก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับจิตใจเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงร่างกายและเหนือสิ่งอื่นใดคือหัวใจ ในแง่นี้การสอนคำสอน ทำให้เกิดความเชื่อภายใน และด้วยเหตุนี้จึงให้การสนับสนุนที่ไม่อาจแทนที่ได้ในการพบปะกับพระคริสตเจ้า ซึ่งไม่โดดเดียวในการส่งเสริมการแสวงหาเป้าหมายนี้ แต่เชื่อมโยงกับมิติอื่นๆ ของชีวิตแห่งความเชื่อ กล่าวคือ ในประสบการณ์ทางพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์ ในความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับความรู้สึก ในชีวิตชุมชน และการรับใช้เพื่อนพี่น้อง  ความจริงในบางสิ่งที่สำคัญที่เกิดขึ้นคือการเกิดของมนุษย์ใหม่ (เทียบ อฟ 4:24) และเพื่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตฝ่ายจิตของบุคคล (เทียบ รม 12:2)

 

77.  การสอนคำสอนทำให้การกลับใจขั้นต้นเติบโตเต็มที่และให้ความหมายที่สมบูรณ์ต่อการดำรงอยู่ของการเป็นคริสตชนแก่พวกเขา ให้ความรู้แก่พวกเขาในความคิดเกี่ยวกับความเชื่อในการปฏิบัติตามพระวรสาร[31] จนถึงจุดที่ค่อยๆ รู้สึก คิด และกระทำเหมือนพระคริสตเจ้า ในการเดินทางนี้ การมีส่วนร่วมอย่างแน่วแน่มาจากผู้เข้าร่วมเองด้วยบุคลิกของเขาเอง  ความสามารถในการรับพระวรสารนั้นสอดคล้องกับสถานการณ์การดำรงอยู่ของบุคคล และระยะการเติบโตของเขา[32] ทั้งนี้ต้องสังเกตว่า “การสอนคำสอนสำหรับผู้ใหญ่เป็นรูปแบบของการสอนคำสอนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเกี่ยวข้องกับบุคคลที่สามารถยึดถือด้วยความรับผิดชอบเต็มที่ การสอนคำสอนอื่นทั้งหมดแม้ว่าจำเป็นก็จริง แต่ต้องมุ่งไปสู่การสอนคำสอนผู้ใหญ่ทั้งนั้น นี่แสดงให้เห็นว่าการสอนคำสอนกลุ่มวัยต่างๆ ควรมีการสอนคำสอนผู้ใหญ่นี้เป็นจุดอ้างอิง”[33]

 

78.  ความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าหมายถึงการยืนยันความเชื่อในพระเจ้าหนึ่งเดียว พระบิดา พระบุตร พระจิต “การประกาศยืนยันความเชื่ออย่างชัดเจน อันมีรากฐานอยู่ในศีลล้างบาปนั้น มีลักษณะพระตรีเอกภาพอย่างเด่นชัด พระศาสนจักรโปรดศีลล้างบาป ‘ในพระนามของพระบิดา พระบุตรและพระจิต’ (มธ 28:19) นั่นคือพระตรีเอกภาพผู้ที่คริสตชนมอบชีวิตไว้ให้พระองค์ดูแล...เป็นเรื่องสำคัญที่การสอนคำสอนควรรวมการยืนยันความเชื่อทางคริสตวิทยา ‘พระเยซูทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า’ กับการยืนยันความเชื่อเกี่ยวกับพระตรีเอกภาพ ‘ข้าพเจ้าเชื่อในพระบิดา พระบุตร และพระจิต’ ในลักษณะที่ไม่มีการแบ่งการแสดงความเชื่อของคริสตชนเป็นสองรูปแบบ ผู้ที่กลับใจมาเชื่อในองค์พระเยซูคริสตเจ้า และยอมรับพระองค์เป็นพระเป็นเจ้าผ่านทางการประกาศพระวรสารขั้นต้น และได้รับการช่วยเหลือทางการสอนคำสอน ย่อมจะยืนยันความเชื่อในพระตรีเอกภาพอย่างชัดเจน”[34] การยืนยันนี้เป็นการกระทำส่วนบุคคลของแต่ละคนอย่างแน่นอน แต่จะได้รับความสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการทำในพระศาสนจักร

 

[30] CT 5      

[31] In EN 44, the goal of catechesis is “to form patterns of Christian living”.       

[32] 0n the process of the personal reception of the faith, cf no. 396 of the present Directory. 

[33] GDC 59; cf also Congregation for the Clergy General Directory for Catechesis (11th April 1971), 20 and CT 43

[34] GDC 82