คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

2. การสอนคำสอนในกระบวนการการประกาศข่าวดี

การประกาศครั้งแรกและการสอนคำสอน

66.  ด้วยการประกาศครั้งแรก พระศาสนจักรประกาศพระวรสารและกระตุ้นให้เกิดการกลับใจในการปฏิบัติการอภิบาลตามปรกติ  ช่วงเวลานี้ของกระบวนการการประกาศข่าวดีเป็นรากฐานสำคัญ  ในพันธกิจการแพร่ธรรมสู่นานาชาติ  เป็นที่รับรู้ในช่วงเวลาที่เรียกว่าก่อนการเป็นคริสตชนสำรอง  ในเวลาปัจจุบันของการประกาศข่าวดีใหม่สิ่งที่ชอบคือการพูด ตามที่ได้นำเสนอไปแล้วในการสอนคำสอนเรื่องพระเยซูเจ้า

 

67.  ในบริบทของการแพร่ธรรมสู่นานาชาติ การประกาศครั้งแรกจะต้องเข้าใจเป็นหลักในมิติตามลำดับเวลา ในความเป็นจริงคือ “การเผยแสดงองค์พระเยซูคริสตเจ้าแก่บรรดาผู้ที่ไม่รู้จักพระองค์และพระวรสาร ตั้งแต่เช้าวันพระจิตเจ้าเสด็จลงมา โครงการพื้นฐานซึ่งพระศาสนจักรใช้โดยถือว่าได้รับจากพระผู้ก่อตั้ง” พระศาสนจักรดำเนินการการประกาศครั้งแรก “ด้วยวิธีการต่างๆ ด้วยกิจกรรมที่ซับซ้อนและหลากหลาย ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ‘การเตรียมงานประกาศข่าวดี’ แต่ก็นับว่าเป็นการประกาศข่าวดีอย่างแท้จริง แม้จะอยู่ในขั้นเริ่มต้นและยังไม่ครบถ้วน”[20] การสอนคำสอนจะพัฒนาช่วงเวลาเริ่มต้นนี้และนำไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น การประกาศครั้งแรกและการสอนคำสอน แม้ว่าจะแตกต่างกัน แต่ก็เสริมกัน

 

68.  ในบริบทของพระศาสนจักรในหลายๆ แห่ง  การประกาศครั้งแรกยังมีความหมายประการที่สองด้วย “การประกาศครั้งแรกนี้เป็นการประกาศ ‘ครั้งแรก’ มิใช่เพราะว่าเกิดขึ้นเมื่อเริ่มแรก และหลังจากนั้นก็ถูกลืม หรือถูกแทนที่ด้วยเนื้อหาสำคัญมากกว่าอื่นๆ มันเป็นการประกาศครั้งแรกในความหมายเชิงคุณภาพ เพราะเป็นการประกาศที่สำคัญ ซึ่งเราต้องรับฟังอยู่เสมอในวิธีที่แตกต่างออกไป เราต้องประกาศใหม่อีกครั้งในการสอนคำสอน  ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในทุกขั้นตอนและทุกเวลา”[21] การประกาศครั้งแรกเป็นงานของคริสตชนทุกคนที่อยู่บนพื้นฐาน “จงไป” (มก 16:15; มธ 28 :19) ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงสั่งบรรดาอัครสาวกของพระองค์ และหมายถึงการออกไป อย่างเร่งรีบ ไปด้วยกัน จึงกลายเป็นศิษย์ธรรมทูตที่แท้จริง ดังนั้นจึงไม่สามารถทำให้ลดลงเป็นการถ่ายทอดข้อความ แต่เป็นสิ่งแรกของการแบ่งปันชีวิตที่มาจากพระเจ้าและสื่อสารถึงความชื่นชมยินดีที่ได้พบกับองค์พระผู้เป็นเจ้า “การเป็นคริตชนไม่ได้เป็นผลมาจากการเลือกทางจริยธรรมหรือความคิดที่สูงส่ง  แต่เป็นการพบปะกับเหตุการณ์  พระบุคคลผู้ทรงทำให้ชีวิตมีขอบฟ้าใหม่และทิศทางที่แน่นอน”[22]

 

การสอนคำสอนของการเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชน

69.  การสอนคำสอนของการเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชนเชื่อมโยงกับกิจกรรม ธรรมทูต  ซึ่งเรียกร้องให้มีความเชื่อ  ด้วยกิจกรรมการอภิบาลที่หล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง การสอนคำสอนเป็นส่วนสำคัญของการเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชน และผูกพันกับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มชีวิตคริสตชนอย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะ  ศีลล้างบาป  “การสอนคำสอนและศีลล้างบาปมีการเชื่อมโยงร่วมกันนั้นเป็นการยืนยันอย่างชัดเจนถึงความเชื่อของบุคคลนั้น ซึ่งเป็นองค์ประกอบโดยธรรมชาติในศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้และเป็นเป้าหมายของการสอนคำสอน”[23] “พันธกิจเพื่อทำพิธีล้างบาปจึงเป็นพันธกิจเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์ รวมอยู่ในพันธกิจการประกาศข่าวดี”[24] ดังนั้น พันธกิจเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์จึงไม่สามารถแยกออกจากกระบวนการการประกาศข่าวดี ความจริง จารีตการเริ่มต้นของการเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชนเป็นกระบวนการดำเนินการของหลักคำสอนซึ่งไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในพระศาสนจักรเท่านั้น  แต่ประกอบขึ้นเป็นพระศาสนจักรด้วย  ในการเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชนไม่ใช่ข้อซักถามของการประกาศถึงพระวรสารเพียงอย่างเดียวแต่ยังรวมถึงการนำไปปฏิบัติด้วย

 

70.  ศีลศักดิ์สิทธิ์ของการเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชนประกอบขึ้นเป็นเอกภาพเพราะ “ถือว่าเป็นพื้นฐานของชีวิตคริสตชน คริสตชนเกิดใหม่โดยศีลล้างบาป ได้รับการเพิ่มพละกำลังด้วยศีลกำลัง และได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยศีลมหาสนิท”[25] ที่จริงแล้วต้องย้ำอีกครั้งว่า “การรับศีลล้างบาปและศีลกำลังของเราเพื่อที่จะไปพบศีลมหาสนิท ดังนั้น การปฏิบัติงานอภิบาลของเราควรสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจของการร่วมกันให้มากขึ้นในเรื่องกระบวนการเริ่มชีวิตคริสตชน”[26]ดังนั้น จึงเป็นการสมควรที่จะประเมินและพิจารณาลำดับศีลศักดิ์สิทธิ์ทางเทววิทยา  ศีลล้างบาป  ศีลกำลัง  ศีลมหาสนิท  เพื่อที่จะ “(ดู)ว่าวิธีปฏิบัติใดจะช่วยสัตบุรุษให้ยึดศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิทเป็นศูนย์กลางได้ดีกว่า ที่เป็นเป้าหมายของกระบวนการเริ่มชีวิตคริสตชนทั้งหมด”[27] เป็นที่น่ายินดีว่าการทดสอบที่ดำเนินการ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่กรณีที่แยกออกจากกัน แต่เป็นผลจากการไตร่ตรองของการประชุมของสภาบิชอปที่ยืนยันการตัดสินใจในทางปฏิบัติสำหรับ ดินแดนภายใต้การดูแลของสภานั้น

 

71.  การสอนคำสอนของการเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชนเป็นการอบรมพื้นฐาน จำเป็น เป็นองค์ประกอบ เป็นระบบ และเป็นการอบรมที่ครบถ้วนในความเชื่อ

 

        ก. เป็นพื้นฐานและจำเป็น (basic and essential) ซึ่งเป็นการค้นพบเบื้องต้นของการประกาศเรื่องพระเยซูเจ้า ที่นำเสนอธรรมล้ำลึกพื้นฐานของความเชื่อและคุณค่าพื้นฐานของการประกาศข่าวดี “จะต้องวางรากฐานของชีวิตฝ่ายจิตของชีวิตคริสตชน หล่อเลี้ยงรากแห่งชีวิตความเชื่อของเขา และช่วยให้เขาสามารถรับสิ่งบำรุงเลี้ยงที่ดีและสม่ำเสมอในชีวิตตามปรกติของชุมชน คริสตชน”[28]

 

       ข. เป็นองค์ประกอบ (organic) ในนั้นสอดคล้องกันและได้จัดตั้งอย่างดี เป็นระบบหมายถึงไม่ใช่การกระทำที่ไม่มีการเตรียมการหรือโดยบังเอิญ เป็นองค์ประกอบและเป็นระบบเป็นการแสดงออกถึงธรรมล้ำลึกของคริสตชนที่แยกการสอนคำสอนออกจากรูปแบบอื่นๆ ของการประกาศพระวาจาของพระเจ้า

 

        ค. ครบถ้วน (integral) เพราะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เปิดกว้างสำหรับทุกองค์ประกอบของชีวิตคริสตชน การสอนคำสอนค่อยๆ ดูแลเอาใจใส่การซึมซับภายในและการรวมส่วนขององค์ประกอบเหล่านี้ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากมนุษย์เก่าและให้การอบรมปัญญาความคิดแบบ  คริสตชน

 

72.  คุณลักษณะเหล่านี้ของการสอนคำสอนของการเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชนแสดงออกในลักษณะที่เป็นแบบอย่างในบทสรุปของความเชื่อที่อธิบายไว้แล้วในพระคัมภีร์ (เช่น สามประการของความเชื่อ ความหวัง และความรัก) และตามธรรมประเพณี (เชื่อ การเฉลิมฉลอง การดำเนินชีวิต และการสวดภาวนา) บทสรุปเหล่านี้เป็นวิธีการทำความเข้าใจชีวิตและประวัติศาสตร์อย่างกลมกลืน เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ประกาศสถานะทางเทววิทยาที่อาจจะน่าสนใจแต่มักจะเป็นเพียงบางส่วน  แต่พวกเขาประกาศความเชื่อของพระศาสนจักร

 

การสอนคำสอนและการอบรมต่อเนื่องในชีวิตคริสตชน

73.  การสอนคำสอนถูกจัดขึ้นเพื่อให้บริการการตอบสนองต่อความเชื่อของผู้มีความเชื่อ ทำให้เขาสามารถดำเนินชีวิตคริสตชนในสถานะของการกลับใจ นี่เป็นสาระสำคัญของการส่งเสริมการทำให้สารของคริสตชนได้รับการซึมซับภายใน โดยทางพลวัตของคำสอน ซึ่งในพลวัตนี้รู้ถึงความก้าวหน้าของวิธีบูรณาการในการฟัง การแยกแยะ และการชำระให้บริสุทธิ์ การสอนคำสอนดังกล่าวไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้มีความเชื่อแต่ละคน แต่ส่งผลถึงชุมชนคริสตชนทั้งหมดเพื่อสนับสนุนความมุ่งมั่นแบบธรรมทูตในการประกาศข่าวดี การสอนคำสอนยังสนับสนุนการรวมตัวกันของบุคคลและของชุมชนเข้ากับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ช่วยคริสตชนในการตีความของประวัติศาสตร์ และส่งเสริมความมุ่งมั่นทางสังคมของบรรดาคริสตชน

 

74.  การสอนคำสอนคือการให้บริการการศึกษาทางความเชื่ออย่างต่อเนื่องมีความสัมพันธ์กับมิติต่างๆ ของชีวิตคริสตชน

 

        ก. การสอนคำสอนและพระคัมภีร์ ความรู้เรื่องพระคัมภีร์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความก้าวหน้าในชีวิตแห่งความเชื่อ เป็นศูนย์กลางในการสอนคำสอนทำให้สามารถถ่ายทอดประวัติศาสตร์แห่งความรอดได้อย่างมีชีวิตชีวา และ “ความรู้เกี่ยวกับบุคคลในพระคัมภีร์ เหตุการณ์ และข้อความสำคัญควรได้รับการสนับสนุน”[29]

 

        ข. การสอนคำสอน พิธีกรรม และศีลศักดิ์สิทธิ์ การสอนคำสอนมุ่งเน้นไปที่การเฉลิมฉลองพิธีกรรม จำเป็นที่จะต้องมีทั้งคำสอนที่เตรียมไว้สำหรับศีลศักดิ์สิทธิ์ และการสอนคำสอนหลังรับศีลล้างบาปที่ส่งเสริมความเข้าใจและประสบการณ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นของพิธีกรรม

 

        ค. การสอนคำสอน เมตตาจิต และการเป็นประจักษ์พยาน ขณะที่การสอนคำสอน สะท้อนพระวรสาร หล่อหลอมผู้มีความเชื่อเพื่อเมตตาจิต  การกระทำการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นส่วนหนึ่งของการประกาศแบบคำสอน เมตตาจิตไม่ได้เป็นเพียงเครื่องหมายของการรับพระวรสารเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีพิเศษในการเข้าถึงพระวรสารด้วย “ทุกคนที่มีความรัก ย่อมบังเกิดจากพระเจ้าและรู้จักพระองค์” (1 ยน 4 ;7)

 

[20] EN 51    

[21] EG 164   

[22] Benedict XVI, Encyclical Letter Deus Caritas Est (25th December 2005). 1    

[23] GDC 66 

[24]  CCC 1122              

[25] Compendium of the Catechism of the Catholic Church, 251          

[26] Benedict  XVI, Apostolic Exhortation Sacramentum Caritatis (22nd February 2007). 17   

[27] Ibid, 18  

[28] GDC 67 

[29] Benedict XVI, Post-Synodal  Apostolic Exhortation Verbum Domini (30th September 2010), 74. Appreciation should be shown for all the initiatives that present Sacred Scripture in its pre-eminent pastoral role, like the Sunday of the word of God: cf Francis, Apostolic Letter Aperuit illis (30th September 2019)