คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

1. ธรรมชาติของการสอนคำสอน

55.  การสอนคำสอนเป็นกิจการของพระศาสนจักร  เกิดจากพระบัญชาขององค์พระผู้เป็นเจ้าให้เป็นธรรมทูต (เทียบ มธ 28:19-20) และมุ่งเป้าไปดังชื่อที่บ่งบอก[1]ถึงการประกาศพระทรมาน  การสิ้นพระชนม์  และการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ ซึ่งยังคงดังก้องอยู่ในใจของทุกคน เพื่อชีวิตของเขาจะได้รับการเปลี่ยนแปลง  การรับใช้พระวาจาของพระเจ้าเป็นความจริงที่มีพลังและซับซ้อน  เป็นการก้าวเดินไปด้วยกัน เป็นการศึกษาและเป็นการอบรมในความเชื่อและเพื่อความเชื่อ  เป็นการนำไปสู่การเฉลิมฉลองของธรรมล้ำลึก  เป็นการส่องสว่างและการตีความชีวิตและประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ด้วยการผสมผสานลักษณะเหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน การสอนคำสอนเป็นการแสดงออกถึงความร่ำรวยของแก่นแท้และเสนอการมีส่วนช่วยเหลืออย่างเจาะจงต่อพันธกิจการอภิบาลของพระศาสนจักร

 

56.  การสอนคำสอนซึ่งเป็นขั้นตอนที่ได้รับสิทธิพิเศษในกระบวนการประกาศข่าวดี โดยทั่วไปจะมุ่งตรงไปยังบุคคลที่ได้รับการประกาศครั้งแรกแล้ว ภายในกระบวนการที่ส่งเสริมการเริ่มต้นการเติบโต และการเป็นผู้ใหญ่ในความเชื่อ อย่างไรก็ตามเป็นความจริงว่า หากยังคงมีประโยชน์ในการกระทำตามความแตกต่างทางแนวคิด ระหว่าง ก่อนการประกาศข่าวดี การประกาศครั้งแรก การสอนคำสอน การอบรมอย่างต่อเนื่อง ในบริบทปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะเน้นย้ำถึงความแตกต่างดังกล่าวอีกต่อไป ในความเป็นจริง ในแง่หนึ่ง ผู้ที่ขอหรือผู้ที่ได้รับพระหรรษทานของศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในปัจจุบันแล้ว มักจะไม่มีประสบการณ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเชื่อ หรือไม่รู้จักพลังและความอบอุ่นของความเชื่ออย่างลึกซึ้ง อีกประการหนึ่ง การประกาศอย่างเป็นทางการได้จำกัดเฉพาะการประกาศแนวคิดของความเชื่อ ไม่ยอมให้มีความเข้าใจในความเชื่อ ซึ่งแทนที่จะเป็นขอบฟ้าใหม่ของชีวิตที่เปิดกว้าง ที่เริ่มต้นจากการพบปะกับพระเยซูเจ้าองค์พระผู้เป็นเจ้า

 

ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันระหว่างการประกาศเรื่องพระเยซูเจ้า (Kerygma) และการสอนคำสอน

57.  ข้อเรียกร้องนี้ซึ่งพระศาสนจักรต้องตอบสนองในเวลาปัจจุบันนำมาสู่การมุ่งเน้นที่จำเป็นสำหรับการสอนคำสอนในลักษณะที่สอดคล้องกัน   สามารถเรียกได้ว่าการประกาศเรื่องพระเยซูเจ้า หมายถึงการสอนคำสอนที่เป็น “การทำให้การประกาศนี้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น”[2] การสอนคำสอนซึ่งไม่สามารถถูกแบ่งแยกจากการประกาศครั้งแรก ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่แรกในการประกาศความเชื่อ และต้องไม่ส่งต่อไปยังการกระทำอื่นๆ ของพระศาสนจักร ซึ่งเป็นงานช่วยเหลือในการค้นพบความงดงามของพระวรสาร จำเป็นที่ี่ทุกคนควรค้นพบว่าความเชื่อนั้นคุ้มค่าอย่างแน่นอนผ่านทางการสอนคำสอน  ซึ่งด้วยวิธีนี้ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การนำมาซึ่งช่วงเวลาแห่งการเติบโตที่กลมกลืนกันมากขึ้นในความเชื่อ แต่ก่อให้เกิดความเชื่อในตัวเองและช่วยให้ค้นพบความยิ่งใหญ่และความน่าเชื่อถือของความเชื่อ ดังนั้นการประกาศจึงไม่สามารถถือได้ว่าเป็นเพียงขั้นตอนแรกของความเชื่ออีกต่อไป ซึ่งเป็นขั้นต้นของการสอนคำสอน แต่เป็นมิติที่สำคัญของทุกช่วงเวลาของการสอนคำสอน

 

58.  การประกาศเรื่องพระเยซูเจ้า “ไฟของพระจิตเจ้าที่ปรากฏเป็นรูปลิ้นไฟ และทำให้เราเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า ซึ่งโดยอาศัยการสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ ได้เผยแสดงและถ่ายทอดพระเมตตากรุณาอันไม่มีสิ้นสุดของพระบิดาแก่เรา”[3]  เป็นการกระทำการประกาศและเนื้อหาของการประกาศเอง  ซึ่งเปิดเผยพระวรสารและทำให้เป็นปัจจุบัน[4]  ในการประกาศเรื่องพระเยซูเจ้า รูปแบบที่มีประสิทธิภาพ คือ พระเยซูเจ้าองค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเผยแสดงพระองค์เองในการเป็นพยานยืนยันให้กับผู้ที่ประกาศพระองค์ ดังนั้น ชีวิตการเป็นประจักษ์พยานของผู้มีประสบการณ์ของการช่วยให้รอดพ้นจึงกลายเป็นสิ่งที่สัมผัสและกระตุ้นผู้ฟังพระคัมภีร์ พันธสัญญาใหม่นำเสนอสูตรต่างๆ ของการประกาศเรื่องพระเยซูเจ้า[5] ที่ตอบสนองต่อวิธีการต่างๆ ในการทำความเข้าใจเรื่องความรอดพ้น  เนื่องจากมีการประกาศเน้นในหลายวัฒนธรรม และสำหรับบุคคลที่แตกต่างกัน ในทำนองเดียวกัน พระศาสนจักรต้องสามารถทำให้การประกาศเรื่องพระเยซูเจ้าเป็นรูปร่างตามความต้องการของคนร่วมสมัยของตนได้ ให้ความช่วยเหลือและกำลังใจที่ริมฝีปากของครูคำสอน (เทียบ รม 10:8-10) จากความอิ่มเอมใจของพวกเขา (เทียบ มธ 12:34)  ในการมีพลังในการฟังซึ่งกันและการเสวนา (เทียบ ลก 24:13-35)  อาจมีการเบ่งบานในประกาศที่น่าเชื่อถือ การยืนยันความเชื่อที่มีชีวิต เพลงสรรเสริญพระคริสตเจ้าใหม่ๆเพื่อบอกเล่าข่าวดีให้กับทุกคน “พระเยซูคริสตเจ้าทรงรักท่าน  ทรงมอบชีวิตของพระองค์เพื่อช่วยท่านให้รอดพ้น และบัดนี้ พระองค์ทรงพระชนม์อยู่เคียงข้างท่านในแต่ละวัน เพื่อส่องสว่างเสริมกำลัง และปลดปล่อยท่านให้เป็นอิสระ”[6]

 

59.  ความเป็นศูนย์กลางของการประกาศเรื่องพระเยซูเจ้าสำหรับการประกาศนำไปสู่แนวทางหลายประการสำหรับการสอนคำสอนเช่นกัน “ต้องแสดงออกถึงความรักที่ช่วยให้รอดพ้นของพระเจ้า ซึ่งอยู่เหนือกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมและศาสนา การประกาศนี้ไม่บังคับความจริง  แต่เรียกร้องอิสรภาพ  การประกาศนี้มีลักษณะของความชื่นชมยินดี การให้กำลังใจ ความมีชีวิตชีวา และสมดุลย์กลมกลืนซึ่งไม่ลดทอนการเทศน์ให้กลายเป็นเพียงข้อความเชื่อบางประการที่มีลักษณะเป็นปรัชญา มากกว่าที่จะเป็นพระวรสาร”[7] องค์ประกอบของการสอนคำสอนเป็นดั่งเสียงสะท้อนของการประกาศเรื่องพระเยซูเจ้าเรียกร้องให้เน้นย้ำคือ ธรรมชาติของสิ่งที่ถูกนำเสนอ การเล่า ความรู้สึก และคุณภาพเกี่ยวกับการดำรงอยู่ มิติของการเป็นประจักษ์พยานถึงความเชื่อ  มีทัศนคติของความสัมพันธ์มุ่งเน้นการช่วยให้รอดพ้น ความจริงคือ ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดคำถามสำหรับพระศาสนจักรเองว่า การได้รับเรียกเป็นคนแรกให้กลับมาค้นพบพระวรสารที่ตนประกาศอีกครั้ง การประกาศข่าวดีใหม่ของพระวรสารขอให้พระศาสนจักรฟื้นฟูการฟังพระวรสารพร้อมกับผู้ฟังของตน

 

60.  เนื่องจาก “การประกาศเรื่องพระเยซูเจ้ามีเนื้อหาสาระด้านสังคมอย่างชัดเจน”[8]  เป็นสิ่งสำคัญที่มิติทางสังคมของการประกาศข่าวดีจะต้องทำให้ชัดเจนในลักษณะที่จะเข้าใจถึงการเปิดกว้างสำหรับทุกสิ่งที่ดำรงอยู่ ซึ่งหมายความว่าสามารถมองเห็นได้ถึงประสิทธิภาพของการสอนคำสอนไม่เพียงแต่ผ่านการประกาศโดยตรงถึงธรรมล้ำลึกปัสกาขององค์พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น แต่ยังผ่านทางการเผยแสดงวิสัยทัศน์ใหม่ของชีวิต ของมนุษยชาติ ของความยุติธรรมของการดำรงอยู่ของสังคม ของจักรวาลทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากความเชื่อและซึ่งทำให้เครื่องหมายต่างๆ ปรากฏเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุนี้ การนำเสนอแสงสว่างซึ่งพระวรสารมอบความกระจ่างแก่สังคมไม่ใช่ช่วงที่สองที่แตกต่างตามลำดับเวลาจากการประกาศความเชื่อ การสอนคำสอนเป็นการประกาศความเชื่อ และด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถช่วยแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกมิติของชีวิตมนุษย์แม้ว่าจะอยู่ในรูปของตัวอ่อนของมนุษย์

 

ช่วงการเตรียมเป็นคริสตชนฐานะเป็นแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจในการสอนคำสอน

61.  ข้อเรียกร้องคือ “ไม่คิดไปว่าผู้ฟังจะเข้าใจเบื้องหลังทั้งหมดในสิ่งที่เรากำลังพูด หรือสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เราพูดถึงแก่นแท้ของพระวรสาร”[9] เป็นเหตุผลทั้งเพื่อการยืนยันถึงธรรมชาติของการสอนคำสอนในเรื่องการประกาศพระเยซูเจ้า และทั้งสำหรับการคำนึงถึงแรงบันดาลใจในการสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน ช่วงการสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนเป็นการปฏิบัติของพระศาสนจักรมาตั้งแต่โบราณ มีการปรับปรุงหลังสภาสังคายนาวาติกัน (เทียบ SC 64-66; CD 14; AG 14) มอบให้กับผู้กลับใจที่ยังไม่ได้รับศีลล้างบาป  ดังนั้นจึงมีความตั้งใจแบบธรรมทูตอย่างชัดเจน และโครงสร้างทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบและเพิ่มมากขึ้นเพื่อการเริ่มเข้าสู่ความเชื่อและชีวิตของคริสตชน  เพราะเป็นลักษณะของธรรมทูตชัดเจน ช่วงการสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจในการสอนคำสอนที่มุ่งตรงไปยังผู้ที่แม้ว่าพวกเขาจะได้รับพระพรแห่งพระหรรษทานในศีลล้างบาปมาแล้ว  แต่ก็ไม่ได้ลิ้มรสความมั่งคั่งของศีลศักดิ์สิทธิ์นี้[10] ในแง่นี้ กล่าวได้ว่าการสอนคำสอนได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบของการสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน หรือการเรียนคำสอนหลังจากรับศีลล้างบาปแล้วหรือการสอนคำสอนของการเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชน[11]  แรงบันดาลใจนี้ต้องไม่ลืมว่า ผู้ที่ได้รับศีลล้างบาป “โดยทางศีลล้างบาป...ได้กลายป็นสมาชิกของพระศาสนจักร และเป็นบุตรของพระเจ้า ดังนั้นการกลับใจของพวกเขายึดหลักอยู่บนการรับศีลล้างบาปที่พวกเขาได้รับแล้ว และส่งผลให้พวกเขาต้องพัฒนา”[12]

 

62.  ในการอ้างถึงผู้เข้าร่วม เราสามารถพูดถึงการนำเข้าสู่การสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนสามประการคือ

      -  ช่วงการสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนในความหมายที่เคร่งครัดสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับศีลล้างบาป ไม่ว่าจะเป็นคนหนุ่มสาว และผู้ใหญ่ หรือเด็กและวัยรุ่นในวัยเรียน

      -  ช่วงการสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนในความหมายที่คล้ายคลึงกันสำหรับผู้ที่รับศีลล้างบาปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มชีวิตคริสตชนอย่างสมบูรณ์

      -  การสอนคำสอนของแรงบันดาลใจจากการสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนสำหรับผู้ที่ได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มชีวิตคริสตชนแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการประกาศข่าวดีหรือให้คำสอนอย่างเพียงพอ หรือสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นสู่เส้นทางแห่งความเชื่อใหม่

 

63.  การปรับปรุงช่วงการสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนได้รับการสนับสนุนจากสภาสังคายนาวาติกันที่สอง ที่ได้ตระหนักด้วยการตีพิมพ์ กระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน (RCIA) ช่วงการสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน“เป็นระยะเวลาการฝึกอบรมในชีวิตคริสตชนทั้งครบ”(AG 14) เป็นกระบวนการที่มีโครงสร้างเป็นสามช่วงหรือสามระยะ มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำผู้เรียนคำสอนไปสู่การพบปะอย่างสมบูรณ์กับธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าในชีวิตของชุมชน และดังนั้นจึงถือว่าเป็นลักษณะที่เป็นแบบอย่างของการเริ่มเข้าเป็นคริสตชน การสอนคำสอน และการสอนคำสอนก่อนและหลังรับศีลล้างบาป พิธีกรรมของการเปลี่ยนระหว่างขั้นตอน[13] จะเน้นถึงลักษณะของการอบรมที่ค่อยเป็นค่อยไปของผู้เริ่มเรียนคำสอน

      -  ในขั้นก่อนการเป็นคริสตชนสำรอง การประกาศข่าวดีครั้งแรกเพื่อให้เกิดการกลับใจ และเสนอการประกาศเรื่องพระเยซูเจ้าเป็นการประกาศแรก

      -  ระยะเวลาของการเป็นคริสตชนสำรองโดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่าถูกสงวนไว้สำหรับการสอนคำสอนเพื่อให้เข้าใจ เข้าสู่พิธีต้อนรับซึ่งจะมี “การมอบพระวรสาร”[14]

      -  ช่วงระยะเวลาแห่งการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์และการส่องสว่าง  เป็นการเตรียมที่เข้มข้นขึ้นสำหรับการรับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มชีวิตคริสตชน ช่วงเวลานี้ซึ่งเข้าสู่พิธีเลือกสรรหรือการจดชื่อโดยมี “การมอบบทข้าพเจ้าเชื่อ” และ “การมอบบทข้าแต่พระบิดา”[15]

      -  การเฉลิมฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มชีวิตคริสตชนในวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นการเข้าสู่คำสอนหลังศีลล้างบาป เพื่อมีประสบการณ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นของธรรมล้ำลึกแห่งความเชื่อและการรวมเข้าอยู่ในชีวิตชุมชน[16]

 

64.  แรงบันดาลใจของการสอนคำสอนแบบคริสชนสำรอง ไม่ได้หมายถึงการทำซ้ำการสอนคำสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนในลักษณะการยอมรับใช้ แต่เป็นการใช้รูปแบบและพลังของการอบรม ตอบสนองต่อ “ความจำเป็นที่ต้องฟื้นฟูคำสอนหลังรับศีลล้างบาป ซึ่งอาจยอมรับรูปแบบที่แตกต่าง โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากการพิจารณาของแต่ละชุมชน”[17] การสอนคำสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนมีลักษณะเป็นธรรมทูตโดยธรรมชาติ  ซึ่งการสอนคำสอนกลายเป็นเรื่องที่อ่อนแอลงในเมื่อกาลเวลาผ่านไป องค์ประกอบที่สำคัญของการสอนคำสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนกำลังถูกนำกลับมา และหลังจากการพิจารณาเห็นถึงความจำเป็นที่สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับความเข้าใจ  เห็นคุณค่า และดำเนินการอีกครั้งในปัจุบันนี้ด้วยความกล้าหาญและความคิดสร้างสรรค์ ด้วยความพยายามในการนำเข้าสู่วัฒนธรรมอย่างแท้จริง องค์ประกอบดังกล่าวคือ

 

       ก. คุณลักษณะของปัสกา ช่วงการสอนคำสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนทุกอย่างมุ่งเน้นไปที่ธรรมล้ำลึกแห่งพระทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการ กลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า การสอนคำสอนสื่อสารถึงหัวใจของความเชื่อในวิธีที่เป็นเนื้อแท้และเข้าใจได้จริงๆ  การนำแต่ละบุคคลสัมผัสกับพระผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ และช่วยให้เขาตีความใหม่ และเจริญชีวิตช่วงเวลาที่เข้มข้นที่สุดในชีวิตของพวกเขาว่าเป็นเหตุการณ์ปัสกา

 

       ข. คุณลักษณะของการเริ่ม ช่วงการสอนคำสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนเป็นการเริ่มเข้าสู่ความเชื่อที่นำผู้สมัครเรียนคำสอนให้ค้นพบกับธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าและของพระศาสนจักร การสอนคำสอนเตรียมการนำเข้าสู่ทุกมิติของชีวิตคริสตชน ช่วยให้แต่ละคนเริ่มต้น ภายในชุมชน การเดินทางส่วนตัวของเขาเพื่อตอบรับต่อพระเจ้าผู้ทรงตามหาเขา

 

       ค. คุณลักษณะของพิธีกรรม จารีต และสัญลักษณ์ ช่วงเรื่องการสอนคำสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนผสมผสานสัญลักษณ์ จารีต และการเฉลิมฉลองที่สัมผัสกับความรู้สึกและความชื่นชอบ การสอนคำสอนต้องขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ “มีการใช้สัญลักษณ์ที่มีความหมาย” ผ่านทาง “การส่งเสริมคุณค่าที่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่เกี่ยวกับสัญลักษณ์ในพิธีกรรมการเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชน”[18] สามารถตอบสนองในลักษณะนี้กับความต้องการของคนร่วมสมัยได้  ซึ่งมักจะเห็นว่ามีความสำคัญเฉพาะประสบการณ์ที่สัมผัสทางกายภาพและอารมณ์ของพวกเขา

 

       ง. คุณลักษณะของชุมชน ช่วงการสอนคำสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนเป็น กระบวนการที่เกิดขึ้นในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ที่มอบประสบการณ์ของการมีส่วนร่วมที่พระเจ้าประทานให้และด้วยเหตุนี้จึงตระหนักถึงความรับผิดชอบในการประกาศความเชื่อ การสอนคำสอนได้รับแรงบันดาลใจจากการบูรณาการการสอนคำสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนให้มีส่วนร่วมแบ่งปันพระพรพิเศษและศาสนบริการต่างๆ (ครูคำสอนผู้ทำงานด้านพิธีกรรมและงานเมตตาจิต หัวหน้ากลุ่มต่างๆ ของพระศาสนจักรร่วมกับศาสนบริกรที่ได้รับศีลบวช..)  เผยให้เห็นว่าครรภ์แห่งการเกิดใหม่ในความเชื่อคือทั้งชุมชน

 

      จ. คุณลักษณะของการกลับใจและการเป็นประจักษ์พยานอย่างต่อเนื่อง ช่วงการสอนคำสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนได้คาดหวังในสิ่งเหล่านี้ ในฐานะที่เป็นการเดินทางของการกลับใจและการชำระให้บริสุทธิ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้ยังได้รับการเสริมด้วยพิธีการที่เป็นเครื่องหมายของการบรรลุถึงการดำรงอยู่และการคิดในวิถีใหม่  การสอนคำสอนตระหนักว่าการกลับใจไม่เคยประสบความสำเร็จอย่างเต็มที่  แต่ยืดเยื้ออยู่ตลอดชีวิต สอนผู้มีความเชื่อให้ค้นพบว่าพวกเขาเป็นคนบาปที่ได้รับการอภัย และดึงดูดด้วยมรดกอันมั่งคั่งของพระศาสนจักร  นอกจากนี้ยังมีเส้นทางของความสำนึกผิดและการอบรมที่ส่งเสริมการ กลับใจของหัวใจและความคิดในวิถีชีวิตใหม่ที่ควรปรากฏให้เห็นได้จากภายนอก

 

      ฉ. ความก้าวหน้าที่จำเป็นในประสบการณ์การอบรม[19] ช่วงการสอนคำสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนเป็นกระบวนการที่มีพลัง   โดยมีโครงสร้างในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกันและกันอย่างค่อยเป็นค่อยไปและแบบก้าวหน้า คุณลักษณะที่พัฒนาขึ้นนี้ตอบสนองต่อเรื่องราวชีวิตจริงของบุคคล ที่เติบโตและเป็นผู้ใหญ่ขึ้นตามกาลเวลา  พระศาสนจักรดูแลลูกๆ ของตนอย่างอดทนและเคารพต่อขั้นตอนของการเติบโต แสดงตนเองว่าเป็นแม่ที่ใส่ใจ

 

65.  การสอนคำสอนในเรื่องการประกาศเรื่องพระเยซูเจ้าและการเป็นธรรมทูต  ต้องการการเรียนการสอนของการเริ่มต้นที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการเดินทางของการสอนผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน ตอบสนองด้วยปรีชาญาณของการอภิบาลต่อสถานการณ์มากมาย อีกนัยหนึ่งคือ ตามความเข้าใจที่ได้รับการพัฒนาใน    พระศาสนจักรต่างๆ นี่เป็นเรื่องของการสอนคำสอนของการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน เป็นการเดินทางเพื่อการเรียนการสอนที่มอบให้ในชุมชนของพระศาสนจักร ซึ่งนำผู้มีความเชื่อไปสู่การพบปะส่วนบุคคลกับพระเยซูคริสตเจ้าโดยทางพระวาจาพระเจ้า  การปฏิบัติในพิธีกรรม  และเมตตาจิต  บูรณาการมิติทั้งหมดของบุคคลเพื่อให้เขาเติบโตในความคิดแห่งความเชื่อ  และเป็นประจักษ์พยานแห่งชีวิตใหม่ในโลก

 

[1] The Greek verb katechein means “resound”, “make resound”.      

[2] EG 165   

[3] EG 164   

[4] On the term “gospel”: Cf. Benedict XVI, Meditation Pope Benedict XVI during the first General Congregation (8th October 2012): “Gospel’ means: God has broken his silence, God has spoken, God exits. This fact in itself is salvation: God knows us, God loves us, he has entered into history. Jesus in his Word, God with us, God showing us that he loves us. That he suffers with us until death and rises again. This is the Gospel. God has spoken, he is no longer the great unknown, but has shown himself: and this is salvation.      

[5] Among the many formulation of the Kerygma, by way of example, cf. the following: “Jesus is the son of God, Emmanuel, God with us” (Cf. Matt 1:23); “the kingdom of God is at hand; repent, and believe in the gospel” (Mark 1:15); “For God so loved the world that he gave his only Son, that whoever believes in him should not perish but have eternal life” (John 3:16); “I came that they may have life, and have it abundantly.” (John 10:10); Jesus of Nazareth “went about doing good and healing all” (Acts 10:38); “Jesus our Lord, who was put to death for our trespasses and raised for our Justification” (Rom 4:25); “Jesus is Lord” (1 Cor 12:3); “Christ died for our sins” (1 Cor 15:3); “the Son of God, who loved me and gave himself for me.” (Gal 2:20); 

[6] EG 164   

[7] EG 165   

[8] EG 177   

[9] EG 34    

[10] These persons can be called quasi-catechumens: cf CT 44.          

[11] Cf  CCC 1231 and Benedict  XVI , Address at the inaugural session of the faith General Conference of the Bishop of Latin America and the Caribbean, (30th May 2007), 286-288.         

[12] RCIA 295              

[13] RCIA 6: “These three steps are to be regarded as the major, more intense moments of initiation and are marked by three liturgical rites: the first by the rite of acceptance into the order of catechumens;  the second by the rite of election or enrolment of names; and the third by the celebration of the sacraments of Christian initiation.”  

[14] This period provides for celebration of the word of God, exorcisms, blessings, and other ceremonies. Cf. RCIA 68-132     

[15] Together  with the conferrals mentioned, during this period the catechumen experiences the examinations and other ceremonies preparatory to the celebration of the sacraments. Cf. RCIS 133-207    

[16] EG 166  

[17] EG 166  

[18] EG 166  

[19] EG 166; cf. also RCIA 4-6