คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

9. การสอนคำสอนกับบุคคลชายขอบ

279.       โดยที่บุคคลชายขอบหมายถึงผู้ที่ใกล้กับหรือผู้ที่ตกอยู่ในความเป็นชายขอบแล้ว ผู้ลี้ภัยจะถูกนับให้อยู่ท่ามกลางคนยากจน คนเร่ร่อน คนไม่มีที่อยู่อาศัย ผู้ป่วยเรื้อรัง คนติดยาเสพติด  ผู้ต้องขัง  ผู้เป็นทาสจากการค้าประเวณีฯลฯ พระศาสนจักรมอง “โดยเฉพาะในส่วนของมนุษยชาติที่ทนทุกข์และนองไปด้วยน้ำตา เพราะพระศาสนจักรรู้ว่าบุคคลเหล่านี้เป็นของตนจากสิทธิของการประกาศพระวรสาร”[43] “พระศาสนจักรต้องตื่นตัวอยู่เสมอและพร้อมที่จะวินิจฉัยงานใหม่ๆ แห่งเมตตาจิต และการฝึกฝนพวกเขาด้วยความใจกว้างและความกระตือรือร้น”[44] เพราะพระศาสนจักรตระหนักดีว่าความน่าเชื่อถือของสารของตนนั้นขึ้นอยู่กับประจักษ์พยานของงานที่ตนกระทำเป็นอย่างมาก  พระวาจาของพระเยซูเจ้า (เทียบ มธ 25:31-46) สนับสนุนและเป็นสาเหตุของความพยายามของผู้ที่ทำงานเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าในการรับใช้ “ผู้ต่ำต้อยที่สุดเหล่านี้”

 

280.       ยิ่งกว่านั้น พระศาสนจักรตระหนักว่า “การกีดกันอันเลวร้ายซึ่งบรรดาคนยากจนต้องทนทุกข์ทรมานนั้น  คือการไม่ได้รับความใส่ใจในด้านฝ่ายจิต” ดังนั้น “การเลือกอยู่ข้างผู้ยากไร้ ต้องแสดงออกมาด้วยการใส่ใจด้านศาสนาเป็นพิเศษ และเป็นอันดับแรก”[45] การประกาศความเชื่อต่อบุคคลชายขอบมักเกิดขึ้นในบริบทและสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นทางการและด้วยวิธีการที่ไม่เป็นทางการ เนื่องจากบทบาทซึ่งชี้ขาดถึงความสามารถในการพบปะกับผู้คนในสถานการณ์ที่พวกเขาพบตนเอง  ความเต็มใจที่จะยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไข  และความสามารถในการเกี่ยวเนื่องกับพวกเขาด้วยความเป็นจริงและความเมตตา  ในเรื่องเกี่ยวกับการประกาศครั้งแรกและการสอนคำสอนจึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงความหลากหลายของสถานการณ์ เข้าใจความต้องการ และปัญหาของแต่ละคนและการควบคุมความสัมพันธ์ส่วนตัว ชุมชนได้รับการเรียกร้องให้ให้การสนับสนุนฉันพี่น้องสำหรับบรรดาอาสาสมัครที่อุทิศตนเพื่อการรับใช้นี้

 

การสอนคำสอนในเรือนจำ

281.       เรือนจำ โดยทั่วไปถือว่าเป็นสถานที่เส้นเขตแดน  เป็นดินแดนแห่งพันธกิจที่แท้จริงสำหรับการประกาศข่าวดี แต่ยังเป็นห้องปฏิบัติการแนวเขตแดนสำหรับการดำเนินการอภิบาลที่คาดการณ์แนวทางการดำเนินการของพระศาสนจักร ด้วยสายตาแห่งความเชื่อเป็นไปได้ที่จะมองเห็นพระเจ้าในการทำงานท่ามกลางผู้ต้องขังแม้ในสถานการณ์ที่ในแง่ของมนุษย์นั้นสิ้นหวัง อันที่จริง  พระองค์ตรัสกับหัวใจของมนุษย์ไม่ว่าที่ใดก็ตาม ให้เสรีภาพแก่ผู้ที่ถูกกีดกัน “เป็นการให้บริการในช่วงเวลาที่แย่ที่สุด เพราะส่งผลกระทบต่อเราอย่างมาก”[46] ด้วยเหตุนี้ การล้วงเอาความจริงในหัวใจของพี่น้องของตนออกมา“ความปรารถนาอิสรภาพที่แท้จริง...คือหน้าที่ของพระศาสนจักรซึ่งพระศาสนจักรไม่อาจละทิ้งได้”[47] โดยไม่ลังเลที่จะสื่อสารถึงความดีงามและความเมตตาที่ให้เปล่าของพระเจ้า

 

282.       เนื้อหาพื้นฐานของการสอนคำสอนในหมู่ผู้ต้องขัง ซึ่งมักจะไม่เป็นทางการและเป็นลักษณะของประสบการณ์ เป็นการประกาศเรื่องพระเยซูเจ้า(kerygma) ผู้ทรงช่วยให้รอดพ้นในพระคริสตเจ้า ซึมทราบถึงการให้อภัยและการเป็นอิสระ การพบปะโดยตรงกับพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์เป็นการเตรียมการสำหรับการประกาศความเชื่อ  ซึ่งหากได้รับการยอมรับก็สามารถปลอบประโลมและรักษาได้แม้กระทั่งชีวิตที่ได้รับความเสียหายจากบาปมากที่สุด รวมทั้งการเปิดพื้นที่สำหรับการศึกษาใหม่และการทำให้กลับคืนดี ด้วยเหตุนี้จึงเป็นความสัมพันธ์ที่ดีที่ผู้ถูกจองจำสร้างขึ้นกับผู้ทำงานอภิบาล ซึ่งทำให้การประทับอยู่ของพระเจ้าปรากฏให้เห็นในเครื่องหมายของการยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขและการรับฟังอย่างเอาใจใส่ ความสัมพันธ์ฉันพี่น้องเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงใบหน้าของมารดาที่ถูกจองจำของพระศาสนจักร ซึ่งบ่อยครั้งบรรดาบุตรของพระศาสนจักรจำนวนมากมีการกลับใจหรือกลับมาค้นพบความเชื่อใหม่อีกครั้งในเรือนจำที่ขอรับศีลศักดิ์สิทธิ์ของการเริ่มชีวิตคริสตชน  ความเอาใจใส่ของพระศาสนจักรยังควบคู่ไปกับผู้ที่สิ้นสุดระยะเวลาการถูกจองจำและสมาชิกในครอบครัวของพวกเขาด้วย

 

[43] Paul VI, At the beginning of the Second Session of the Second Vatican Council (29th September 1963) Cf EG 209-212.             

[44] Francis, Apostolic Letter Misericordia et misera (20th November 2016), 19.         

[45] EG 200.            

[46] Francis, Homily in the Holy Mass for the Jubilee for Prisoners (6th November 2016).        

[47] Ibidem.