คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

1. ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาและวิธีการสอน

194. ธรรมล้ำลึกของการรับสภาพมนุษย์เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการเรียนการสอนคำสอน  นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อวิธีการในการสอนคำสอน  ซึ่งต้องอ้างถึงพระวาจาของพระเจ้าและในขณะเดียวกันก็ต้องปฏิบัติตามความต้องการที่แท้จริงของประสบการณ์ของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าและมนุษยชาติ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่าง  การแบ่งแยก หรือความไม่สนใจระหว่างวิธีการและเนื้อหา ในฐานะที่เป็นจุดหมายของความเชื่อ เนื้อหาของการสอนคำสอนไม่สามารถไม่สนใจใยดีอยู่ภายใต้วิธีการใดๆ แต่ต้องการให้สิ่งนี้สะท้อนถึงธรรมชาติของสารของพระวรสาร พร้อมกับแหล่งที่มา และพิจารณาสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมของชุมชนของพระศาสนจักรและของบุคคลที่รับศีลล้างบาปแล้วแต่ละคนด้วย สิ่งสำคัญคือ ต้องจำไว้ว่าเป้าหมายทางการศึกษาของการสอนคำสอนเป็นตัวกำหนดทางเลือกของระเบียบวิธีการสอน

 

ความหลากหลายของวิธีการ

195. แม้ว่าพระศาสนจักรจะยึดถือความเป็นอันดับหนึ่งของพระหรรษทาน แต่พระศาสนจักรก็มีความรับผิดชอบและมีความกระตือรือร้นในการศึกษาอย่างจริงใจเมื่อพูดถึงกระบวนการและวิธีการทางคำสอน การสอนคำสอนไม่มีวิธี การเดียว แต่เปิดกว้างสำหรับการประเมินวิธีการที่แตกต่าง การมีส่วนร่วมในหน้าที่ครูและการสอนและยอมให้ตนเองได้รับคำแนะนำจากพระวรสารซึ่งจำเป็นสำหรับการยอมรับความจริงของธรรมชาติมนุษย์ ตลอดเส้นทางประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร พระพรพิเศษแห่งการรับใช้พระวาจาของพระเจ้าได้เปิดหนทางในวิธีการที่แตกต่างกัน  ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความมีชีวิตชีวาและความร่ำรวย “วัยและการเจริญเติบโตทางสติปัญญาของคริสตชนซึ่งหมายถึง ระดับวุฒิภาวะในเรื่องเกี่ยวกับพระศาสนจักร และด้านจิตใจ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่นๆเรียกร้องให้การสอนคำสอนต้องกระทำด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้บรรลุ   เป้าหมายที่ตั้งไว้”[1] การสื่อสารเรื่องความเชื่อในการสอนคำสอน ซึ่งผ่านการ เป็นสื่อกลางของมนุษย์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามยังคงเป็นเหตุการณ์ของพระหรรษทาน  ที่เกิดจากการพบปะกับพระวาจาของพระเจ้าด้วยประสบการณ์ของบุคคล นักบุญเปาโลอัครสาวก ได้กล่าวว่า “เราแต่ละคนได้รับพระหรรษทานตามสัดส่วนที่พระคริสตเจ้าประทานให้ (อฟ 4:7) ดังนั้น พระหรรษทานแสดงออกทั้งผ่านทางเครื่องหมายต่างๆ ที่มองเห็นได้ซึ่งเปิดให้เราเข้าสู่ธรรมล้ำลึกและโดยทางวิธีอื่นๆ ที่เราไม่รู้จัก

 

196. เนื่องจากพระศาสนจักรไม่มีวิธีของตนเองเพื่อการประกาศพระวรสาร  จึงจำเป็นต้องมีความพยายามในการไตร่ตรองแยกแยะ  เพื่อทดสอบทุกสิ่งและรักษาสิ่งที่ดีงามไว้ (เทียบ 1 ธส 5:21) การสอนคำสอนสามารถประเมินได้  อย่างที่เคยทำมาแล้วตลอดประวัติศาสตร์ ระเบียบวิธีเน้นไปที่ความเป็นจริงของชีวิตหรือยึดหลักอยู่บนสารของความเชื่อมากกว่า  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เป็นรูปธรรมของหัวข้อในการสอนคำสอน ในทั้งสองกรณีสิ่งสำคัญคือต้องใช้หลักการของความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงทั้งสองลักษณะ เหตุการณ์ส่วนบุคคลและสังคมของชีวิตและประวัติศาสตร์ พบแสงสว่างในการตีความในเนื้อหาของความเชื่อ ในทางกลับกัน เนื้อหานี้จะต้องถูกนำเสนอโดยการแสดงผลกระทบที่มีต่อชีวิตเสมอขั้นตอนนี้คาดว่าจะมีความสามารถในสิ่งที่เราตีความตามตัวบท การดำรงอยู่ ถ้าได้ตีความโดยสัมพันธ์กับการประกาศของคริสตชน จะปรากฏในความจริง ในอีกทางหนึ่ง การประกาศเรื่องพระเยซูเจ้า (Kerygma) มีคุณค่าแห่งความรอดพ้นและความสมบูรณ์ของชีวิตเสมอ

 

[1]  CT 51