คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

4. ชุมชนวัด

298.       โดยที่การขยายงานเผยแผ่ศาสนาของพระศาสนจักรมีขึ้นนี้ ชุมชนวัดทั้งหลายมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับพระศาสนจักรท้องถิ่นที่ตนสังกัดเหมือนเป็นเซลล์หนึ่ง (เทียบ AA 10) “จัดตั้งขึ้นตามท้องที่ต่างๆ และอยู่ใต้ปกครองของผู้อภิบาลซึ่งทำหน้าที่แทนบิชอป กล่าวได้ว่า ชุมชนวัดเหล่านี้เป็นผู้แทน และแสดงถึงพระศาสนจักรที่แลเห็นได้ซึ่งตั้งอยู่ทั่วโลก” (SC 42) โดยอาศัยชุมชนวัดเหล่านี้หมู่คณะของมนุษยชาติถูกนำเข้ามาแม้กระทั่งการติดต่อทางกาย โดยมีเครื่องมือแห่งการไถ่กู้ ซึ่งหลักๆ คือพระวาจาของพระเจ้า ศีลล้างบาปและศีลมหาสนิท “ชุมชนวัดก่อตั้งขึ้นอย่างชัดเจนและเรียบง่ายบนความจริงทางเทววิทยา เพราะเป็นชุมชนที่ร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณ[19] ศีลมหาสนิท สายสัมพันธ์แห่งความรักเมตตา ผลักดันให้เป็นหนึ่งเดียวกับผู้ยากจนที่สุด “และการประกาศข่าวดีของพวกเขาถือเป็นเครื่องหมายของกิจกรรมแห่งการไถ่กู้” (PO6)

 

299.       ชุมชนวัดตั้งอยู่บนเสาหลักของพระวาจา ศีลศักดิ์สิทธิ์ และงานเมตตาจิต ซึ่งเปรียบเหมือนเครือข่ายของการให้บริการ ศาสนบริการ และกลุ่มพระพรต่างๆ ซึ่งให้ “แบบอย่างที่เด่นชัดของการเป็นศิษย์ในระดับชุมชน  อันเป็นการนำความแตกต่างๆ ของมนุษย์ที่อยู่ในเขตปกครองมาผสมผสานกันในความเป็นสากลของพระศาสนจักร” (AA10) ชุมชนวัดแสดงให้เห็นโฉมหน้าของประชากรของพระเจ้าที่เปิดตัวเองสู่ทุกคน โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  ชุมชนวัดเป็น “สถานที่ที่ให้กำเนิดความเชื่อเช่นเคย และเป็นแหล่งที่ความเชื่อเติบโตขึ้น ดังนั้น วัดจึงสร้างรูปแบบพื้นที่ของชุมชนที่เหมาะสมยิ่งสำหรับการทำให้ศาสนบริการด้านพระวาจา ทั้งโดยการสั่งสอน  การให้การศึกษา  และประสบการณ์ชีวิต”[20]

 

300.       ความสำคัญของชุมชนวัดไม่สามารถนำไปสู่การละเลยในเรื่องความยากลำบากในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่เป็นผลกระทบจากบรรยากาศทางด้านประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมที่ชุมชนวัดได้ก่อตัวขึ้น ปรากฎการณ์ที่มี  ผลอย่างมากคือ สังคมเมือง การย้ายถิ่น การอพยพและจำนวนของบาทหลวง  ที่ลดน้อยลง  กระบวนการเผยแผ่ศาสนาเพื่อการกลับใจจะต้องได้รับการริเริ่มขึ้น ซึ่งจะต้องไม่ยึดเพียงแค่รักษาสภาพที่เป็นอยู่หรือประกันในเรื่องการจัดการเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์  แต่จะต้องมุ่งไปสู่ทิศทางของการประกาศข่าวดี “วัด ไม่ใช่สถาบันที่ล้าสมัย เพราะมีความยืดหยุ่น  มีรูปแบบที่หลากหลาย มีการผ่อนปรน  และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แบบธรรมทูตของผู้อภิบาลและชุมชน อย่างไรก็ตามชุมชน มิได้เป็นสถาบันเดียวในการประกาศพระวรสาร หากชุมชนสามารถปฏิรูปตนเอง และปรับตนเองอยู่ตลอดเวลา ชุมชนก็จะเป็น ‘พระศาสนจักรที่ดำเนินชีวิตท่ามกลางบ้านเรือนของบรรดาบุตรธิดา’ จึงจำเป็นที่ชุมชนต้องติดต่อสัมพันธ์กับครอบครัวและชีวิตของผู้คน และไม่กลายเป็นโครงสร้างไร้ประโยชน์  ไม่สัมผัสประชาชนหรือเป็นกลุ่มของผู้ที่ได้รับเลือกสรรที่มองแต่เรื่องของตนเอง”[21]

 

301.       ในปัจจุบันนี้ชุมชนวัดจะต้องทำการฟื้นฟูพลวัตในการสร้างความสัมพันธ์และทำให้โครงสร้างของวัดเปิดกว้างขึ้น  และไม่เต็มไปด้วยกฎระเบียบจนยากจะเข้าถึง  โดยอาศัยการเสนอตัวเองเป็นชุมชนของชุมชนทั้งหลาย[22]  ซึ่งชุมชนหรือหมู่คณะเหล่านี้จะกลายเป็นแหล่งที่ให้การสนับสนุนให้แก่กระบวนการ  บรรดากลุ่มย่อยและจุดอ้างอิงของการดำเนินกิจกรรมการประกาศข่าวดีอย่างมีส่วนร่วม ในพระศาสนจักรบางแห่งมีองค์กรรูปแบบใหม่ๆ ในสังฆมณฑลกำลังเกิดขึ้นซึ่งถูกเรียกว่าหน่วยงานอภิบาล ซึ่งเตรียมพร้อมสำหรับการขยายการมีส่วนร่วมในงานศาสนบริการ  โดยที่ปรากฎมีคุณลักษณ์ที่หลากหลายเช่นนี้ก็เพื่อเป้าประสงค์ในการเติมเต็มการประกาศข่าวดีด้วยวิธีการอภิบาลที่เป็นองค์รวมและมีความเข้าอกเข้าใจกัน ด้วยวิธีการใหม่ๆ และสร้างสรรค์

 

302.       พลวัตของการกลับใจอันเนื่องมาจากธรรมทูตนั้นหมายถึงชุมชนวัดจะต้องตรวจสอบรูปแบบของการสอนคำสอนที่มีอยู่ เหนือสิ่งอื่นใดในบริบทของสังคมและวัฒนธรรมใหม่ การสอนความเชื่อยังคงเป็นสิทธิพิเศษ ขณะที่จะต้องตระหนักว่า ไม่ใช่เป็นศูนย์รวมหน้าที่ของคำสอนทุกอย่าง เพราะว่ามีหนทางในพระศาสนจักรอีกหลายวิธีซึ่งไม่ได้จำกัดว่าจะต้องยึดติดกับโครงสร้างที่มีอยู่แล้ว ชุมชนวัดจะต้องเข้าไปในการเสวนากับความเป็นจริงเหล่านี้ โดยรับรู้ถึงคุณค่าของสิ่งเหล่านั้นและทำให้เกิดความตระหนักในการอภิบาลโดยรูปแบบใหม่ๆ ของการประกาศข่าวดีเป็นพื้นฐาน

 

303.       ความจำเป็นเพื่อจะฟื้นฟูความกระตือรือร้นในการประกาศข่าวดีทำให้ต้องมีการตัดสินใจในการทบทวนแนวทางในการธรรมทูต ในกิจกรรมอภิบาลต่างๆ ของชุมชนคริสตชน แม้แต่ส่วนที่เป็นรูปแบบและประเพณีปฏิบัติที่เคยทำกันมานานด้วยเช่นกัน การสอนคำสอนก็เช่นเดียวกันย่อมถูกเรียกร้องให้สอดแทรกการประกาศครั้งแรกในกระบวนการสอนซึ่งอันที่จริงเป็นบทบาทของการสอนคำสอนในตัวมันเองอยู่แล้ว เพื่อการฟื้นฟูการสอนคำสอนในชุมชนวัดเราควรจะต้องพิจารณาในหลากหลายมุมมองดังนี้

 

         ก. หมู่คณะของศิษย์ธรรมทูต หัวใจของการนำเสนอการประกาศข่าวดีของชุมชนวัดต้องไม่ใช้วิธีการเพื่ออภิบาลมาเป็นหลัก โดยลดลักษณะของความเป็นกลุ่มที่ถือตัวเป็นกลุ่มเฉพาะสำหรับผู้ที่สมบูรณ์พร้อมหรือมีความเชี่ยวชาญ แต่จะต้องเป็นหมู่คณะของศิษย์ธรรมทูต ประชาชน  ที่มีประสบการณ์ในการเจริญชีวิตของพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ มีชีวิตในความสัมพันธ์ใหม่อันเนื่องมาจากพระองค์ เป็น ชุมชนคริสตชน ที่แม้ในความอ่อนแอของบรรดาสมาชิก และในความขัดสนทางทรัพยากร แต่ยังคงเจริญชีวิตในธรรมล้ำลึกแห่งภราดรภาพในความเป็นพี่เป็นน้องกัน  ซึ่งในตัวมันเองกลายเป็นการประกาศความเชื่อตั้งแต่แรกโดยธรรมชาติ

 

          ข. ทัศนคติการเป็นธรรมทูต  ก่อนอื่นใดสิ่งนี้เป็นสาระสำคัญเพื่อการพัฒนามุมมองใหม่ของความจริง  การเปลี่ยนจากการเสนอแผนงานอภิบาลอันเกิดมาจากความคิด โครงการแผนงานสำเร็จรูปที่วางไว้ก่อนแล้ว ไปสู่การเปิดให้เป็นการกระทำขององค์พระผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพและพระจิตของพระองค์ซึ่งนำทางประชากรของพระองค์อยู่เสมอ ในแนวทางนี้  การสอนคำสอนที่วัดก็เช่นกันสามารถถูกมองในสองแนวทางที่สอดประสานกันโดยเคารพต่อบุคคลต่างๆ และจำเป็นต้องมีรูปแบบใหม่ในการเชื่อมโยงและการสื่อสาร กล่าวคือมีการเปลี่ยนแปลงเป็นต้นว่าจากการให้การต้อนรับเพื่อจะได้รับการต้อนรับ จากการสงวนพระวาจาไว้และหาทางสื่อสารเป็นการมอบพระวาจาและรับรู้ว่าการริเริ่มของพระเจ้านั้นจะทำให้เราอัศจรรย์ใจเสมอ ความเข้มข้นในการเผยแผ่ความเชื่อทำให้การสอนคำสอนจะต้องไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง แต่เริ่มรับฟัง และก้าวไปสู่ประสบการณ์ชีวิตของประชาชน ส่องสว่างพวกเขาด้วยแสงสว่างแห่งพระวรสาร การไม่ทำตัวเป็นศูนย์กลางนี้ซึ่งก่อนอื่นใดจะต้องกระทำในท่าทีจิตใจ และก็ยังสามารถแสดงออกมาในทางกายภาพด้วย กล่าวคือ ความชื่นชมยินดีของพระศาสนจักรในการที่จะสื่อสารพระเยซูคริสตเจ้า “แสดงออกในความกังวลห่วงใยที่จะประกาศพระวรสารในที่อื่นๆ ซึ่งอยู่ห่างไกลกว่า และออกไปสู่เขตรอบนอกของพื้นที่ที่ตนอยู่ หรือสู่พื้นที่สังคมวัฒนธรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ”[23]

 

            ค. การนำเสนอการสอนคำสอนโดยยึดช่วงเตรียมเป็นคริสตชน ชุมชนวัดจะต้องเสนอวิธีต่างๆ ในการสอนโดยเฉพาะแก่เยาวชนและผู้ใหญ่ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะรับและที่จะได้รับการประกาศครั้งแรกอย่างมีชีวิตชีวา สัมผัสถึงความงดงามของการเรียนรู้ การนำเสนอการสอนคำสอนที่ไม่สามารถสอดประสานกับกิจกรรมอภิบาลอื่นๆ ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะนำเสนอตัวเองเป็นเพียงแค่ทฤษฎีที่ถูกต้องแต่ยากมากในการนำเข้าสู่ชีวิต จะต้องพยายามที่จะแสดงให้เห็นความดีของพระวรสารแก่ประชาชนในยุคของเรา

 

[19] John Paul II, Post-Synodal Apostolic Exhortation Christifideles laici (30th December 1988), 26.
[20] GDC 257.
[21]EG 28; cf also John Paul II, Post-Synodal Apostolic Exhortation Christifideles laici (30th December 1988),26.            
[22] Jonh Paul II, Post-Synodal Apostolic Exhortation Ecclesia in America (22nd January 1999), 41.
[23] EG 30.