คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

2. พระศาสนจักรตะวันออก

290.       “พระศาสนจักรคาทอลิกให้ความนับถืออย่างมากต่อสถาบัน  จารีตพิธีกรรม  ธรรมประเพณีของพระศาสนจักร และมาตรฐานชีวิตคริสตชนที่ถูกกำหนดขึ้นของพระศาสนจักรตะวันออก เพราะคุณค่าเหล่านี้โดดเด่นในฐานะที่ได้ทำการสืบทอดมาตั้งแต่ในอดีต รักษาไว้ซึ่งธรรมประเพณีที่เด่นชัดที่สืบทอดมาจากบรรดาอัครสาวกผ่านทางบรรดาปิตาจารย์และซึ่งกลายเป็นมรดกที่ได้รับการเผยแสดงจากพระเจ้าและแบ่งแยกมิได้ของพระศาสนจักรสากล” (OE 1) ขุมทรัพย์เหล่านี้ย่อมมีคุณค่าต่อการประกาศข่าวดี  พระศาสนจักรคาทอลิกยืนยันอยู่เสมอว่า “สมาชิกของพระศาสนจักรตะวันออกมีสิทธิและหน้าที่ในการปกปักรักษา เรียนรู้ และเจริญชีวิตในคุณค่าเหล่านี้”[12] ทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียอัตลักษณ์ของพวกเขา ความมุ่งมั่นนี้เพื่อจะปกป้องและส่งผ่านความเชื่อในธรรมประเพณีของศาสนจักรของพวกเขาเองนั้น การสอนคำสอนจึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่ง  ดังนั้นการนำเสนอด้านการสอนคำสอนจำเป็นที่จะ “ต้องเน้นถึงแง่มุมต่างทางด้านพระคัมภีร์และพิธีกรรมพร้อมๆ กับธรรมประเพณีของแต่ละพระศาสนจักร (sui iuris)  คำสอนของบรรดาปิตาจารย์  ประวัติของผู้ศักดิ์สิทธิ์   แม้กระทั่งการอธิบายรูปสัญลักษณ์ต่างๆ ด้วย”[13]

 

291.       “ต้องย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า พระศาสนจักรตะวันออกนั้นก็เช่นเดียวกันกับที่ี่พระศาสนจักรตะวันตกในปัจจุบันที่ได้แนะนำว่าการสอนคำสอนไม่สามารถแยกออกจากพิธีกรรม เนื่องจากการสอนคำสอนได้รับแรงบันดาลใจจากพิธีกรรมในฐานะที่เป็นธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าที่ได้รับการเฉลิมฉลองอย่างเป็นรูปธรรม (in actu) ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้สืบทอดมาจากบรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักร ในการอบรมบรรดาสัตบุรุษ แสดงออกว่า ‘การสอนคำสอน’ สำหรับคริสตชนสำรอง และ ‘การสอนคำสอนหลังรับศีลล้างบาป’ หรือ ‘การสอนคำสอนหลังรับศีลล้างบาป’ (mystagogy) เพื่อเริ่มในการนำเข้าสู่ธรรมล้ำลึกของพระเจ้า ด้วยแนวทางนี้ สัตบุรุษจะได้รับคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง ในการค้นพบความชื่นชมยินดีของพระวาจา  การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนมชีพขององค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ซึ่งพระจิตของพระบิดาได้ทรงนำเสนอให้แก่พวกเขา  ด้วยความเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาเฉลิมฉลองและจากการซึมซาบในสิ่งที่พวกเขาได้ทำการเฉลิมฉลอง ทำให้พวกเขามีแนวทางสำหรับชีวิต กล่าวคือ การสอนคำสอนหลังรับศีลล้างบาป จึงเป็นเนื้อหาของการดำรงอยู่ของพวกเขา การได้รับการไถ่กู้  การรับความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นหนทางไปสู่พระเจ้า และในลักษณะเช่นนี้จึงเป็นพื้นฐานของชีวิตฝ่ายจิตและศีลธรรมด้วย ดังนั้น พึงตระหนักว่ากระบวนการทางคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกตะวันออกนั้น  มีจุดเริ่มต้นจากการเฉลิมฉลองในพิธีกรรมต่างๆ ที่เฉพาะเจาะจงของตนอย่างเป็นรูปธรรม”[14]

 

292.       บรรดาบาทหลวงและผู้ที่เตรียมตัวรับศีลบวช์เช่นเดียวกับบรรดาผู้รับเจิมและฆราวาส ผู้ได้รับมอบพันธกิจทางคำสอนจะต้องเตรียมตัวเองและควรได้รับการอบรมและการสอนตามที่กำหนดไว้เป็นบรรทัดฐานของพระศาสนจักรเกี่ยวกับจารีตและธรรมเนียมปฏิบัติในเรื่องระหว่างพิธีกรรม โดยเฉพาะในเขตที่มีพระศาสนจักรที่มีความแตกต่างกันอยู่ในเขตพื้นที่ (เทียบ OE 4)นอกจากนี้ “คริสตชนผู้มีความเชื่อในพระศาสนจักรของแต่ละฝ่ายแม้แต่พระศาสนจักรละตินซึ่งมีความเกี่ยวพันบ่อยๆ กับคริสตชนผู้มีความเชื่อในอีกพระศาสนจักรหนึ่งนั้นไม่ว่าจะโดยหน้าที่ ศาสนบริการ หรือมีบทบาทอย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องได้รับการสอนความรู้และการปฏิบัติตนในพิธีกรรมของพระศาสนจักรนั้นๆ โดยยังคงรักษาหน้าที่  ศาสนบริการหรือบทบาทที่ตนมีอย่างครบถ้วน”[15]

 

[12] Congregation for the Oriental Churches, Instruction for the Application of the Liturgical Prescriptions of the Code of Canons of the Eastern Churches (6th January 1996), 10
[13] CCEO c.621 §2. 
[14] Congregation for the Oriental Churches, Instruction for the Application, op cit, 30. 
[15] CCEO c. 41.