คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

6. ครูคำสอนฆราวาส

121.       โดยทางการปรากฏตัวอยู่ในโลก  ฆราวาสให้บริการอันมีค่าแก่การประกาศข่าวดี ชีวิตของพวกเขาในฐานะศิษย์ของพระคริสตเจ้าเป็นรูปแบบหนึ่งของการประกาศพระวรสาร พวกเขาแบ่งปันในทุกรูปแบบจากการประกอบอาชีพกับผู้อื่น โดยผสมผสานความเป็นจริงทางโลกเข้ากับจิตตารมณ์ของพระวรสารการประกาศข่าวดี “รับเอาคุณภาพที่เฉพาะเจาะจงและพละกำลังพิเศษในการดำเนินการในสภาพแวดล้อมธรรมดาของโลก” (LG 35) ฆราวาสในการเป็นประจักษ์พยานถึงพระวรสารในบริบทที่แตกต่างกัน  มีโอกาสให้การตีความแบบคริสตชนเกี่ยวกับความเป็นจริงของชีวิต  เพื่อพูดถึงพระคริสตเจ้าและคุณค่าของคริสตชน เพื่อนำเสนอเหตุผลในการเลือกของพวกเขา การสอนคำสอนนี้ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเองและไม่ได้คาดคิด ดังนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเชื่อมโยงโดยทันทีกับประจักษ์พยานแห่งชีวิตของพวกเขา

 

122.       กระแสเรียกศาสนบริการของการสอนคำสอนเกิดขึ้นจากศีลล้างบาป และได้รับการทำให้เข้มแข็งด้วยศีลกำลัง  โดยศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองประการนี้ที่ฆราวาสมีส่วนร่วมในฐานะสงฆ์  ประกาศก  และกษัตริย์ของพระคริสตเจ้า  นอกเหนือจากกระแสเรียกทั่วไปของการเป็นธรรมทูตแล้ว สัตบุรุษบางคนรู้สึกถึงการเรียกของพระเจ้าให้รับบทบาทของครูคำสอนในชุมชนคริสตชน  ให้รับใช้ด้านการสอนคำสอนที่มีองค์ประกอบและมีโครงสร้างมากขึ้น  การเรียกของพระเยซูคริสตเจ้าเป็นการส่วนตัวนี้และความสัมพันธ์กับพระองค์เป็นกลไกที่แท้จริงของกิจกรรมของครูคำสอน “ความปรารถนาที่จะประกาศพระคริสตเจ้า ‘ประกาศข่าวดี’ และนำผู้อื่นให้เข้ามา ‘ยอมรับความเชื่อ’ ในพระเยซูคริสตเจ้าเช่นนี้เกิดจากความรู้จักพระคริสตเจ้าซึ่งผุดขึ้นมาจากความรักต่อพระองค์”[15]  พระศาสนจักรเอาใจใส่และตระหนักถึงกระแสเรียกอันศักดิ์สิทธิ์นี้ และมอบพันธกิจในการสอนคำสอนให้

 

123.       “การรู้สึกว่าได้รับเรียกให้มาเป็นครูคำสอนและยอมรับพันธกิจนี้จากพระศาสนจักรทำให้เกิดการอุทิศตนในระดับต่างๆ ที่สอดคล้องกับลักษณะพิเศษเฉพาะบุคคล  บางครั้งครูคำสอนอาจร่วมมือทำงานบริการด้านการสอนคำสอนในช่วงเวลาจำกัดสักระยะหนึ่ง หรือเพียงแต่ในโอกาสอันควรเท่านั้น ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นงานบริการอันทรงคุณค่าและการร่วมงานที่น่ายกย่องอยู่เสมอๆ อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของศาสนบริการด้านการสอนคำสอน ขอแนะนำว่าในสังฆมณฑลควรมีนักบวชจำนวนหนึ่งและฆราวาสซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปและได้อุทิศตัวอย่างถาวรให้กับการสอนคำสอน ผู้ซึ่งในความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับบาทหลวงและบิชอปให้บริการด้านการสอนคำสอนในรูปแบบที่เหมาะสมกับสังฆมณฑล”[16]

 

ผู้ปกครอง ผู้มีส่วนร่วมที่กระตือรือร้นในการสอนคำสอน

124.       “สำหรับบิดามารดาที่เป็นคริสตชนพันธกิจในการให้ความรู้  เป็นภารกิจ ที่หยั่งรากลึก  ดังที่เราได้กล่าวไปแล้ว  ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสร้างของพระเจ้า มีแหล่งที่มาใหม่เฉพาะในศีลสมรส ซึ่งอุทิศตนเองเพื่อการศึกษาคริสตศาสนาอย่างเคร่งครัดของลูกๆ ของตน”[17] บิดามารดาที่มีความเชื่อพร้อมกับการเป็นแบบอย่างในชีวิตประจำวัน  มีความสามารถที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการถ่ายทอดความงดงามของความเชื่อคริสตชนไปยังลูกๆ ของพวกเขา “ทำให้ครอบครัวสามารถเข้ามามีบทบาทในฐานะตัวแทนที่แข็งขันของครอบครัวในการเรียกสู่การแพร่ธรรม ‘ความพยายามในการประกาศข่าวดีและการสอน  คำสอนในครอบครัว”[18] ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสถานการณ์เช่นนี้สำหรับคู่สามีภรรยา  มารดาและบิดา  ผู้มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในการสอนคำสอน เพื่อเอาชนะความคิดของการมอบหมายไว้สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาทางศาสนาที่เป็นเรื่องธรรมดามาก ตามความเชื่อที่กำหนด บางครั้ง ความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนที่พยายามจัดระเบียบการสอนคำสอนที่มีครอบครัวเป็นศูนย์กลางซึ่งเริ่มจากครอบครัวของพวกเขาเอง “พระศาสนจักรได้รับเรียกให้ร่วมมือกับผู้ปกครองโดยทางการริเริ่มงานอภิบาลที่เหมาะสม  ช่วยเหลือพวกเขาในการบรรลุพันธกิจด้านการศึกษาของพวกเขา”[19] เพื่อให้เป็นครูคำสอนคนแรกของลูกๆ ของตน

 

พ่อ-แม่อุปถัมภ์ เพื่อนร่วมงานกับผู้ปกครอง

125.       ในการเดินทางการเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชน พระศาสนจักรเรียกร้องให้มีการประเมินค่าของเอกลักษณ์และพันธกิจของพ่อและแม่อุปถัมภ์อีกครั้ง  เป็นการสนับสนุนความพยายามทางการศึกษาของผู้ปกครอง งานของพวกเขาคือ “แสดงให้ผู้สมัครทราบถึงวิธีการปฏิบัติตามพระวรสารในชีวิตส่วนตัวและสังคม เพื่อดูแลเอาใจใส่ผู้สมัครในช่วงเวลาที่มีความลังเลและวิตกกังวล เพื่อเป็นประจักษ์พยาน และชี้แนะความก้าวหน้าของผู้สมัครในชีวิตศีลล้างบาป”[20] เป็นที่ทราบกันดีว่าบ่อยครั้งการเลือกพ่อแม่อุปถัมภ์ไม่ได้รับแรงบันดาลใจจากความเชื่อ แต่ขึ้นอยู่กับประเพณีของครอบครัวหรือสังคม สิ่งนี้มีส่วนไม่น้อยที่ทำให้ตัวเลขการศึกษาเหล่านี้ลดน้อยลง ในมุมมองของความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับบทบาทนี้ ชุมชนคริสตชนควรแสดงด้วยความตระหนักและด้วยจิตตารมณ์ที่สร้างสรรค์ วิถีทางของการสอนคำสอนสำหรับพ่อแม่อุปถัมภ์ซึ่งอาจช่วยให้พวกเขาค้นพบพระพรของความเชื่อและการเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรอีกครั้ง ผู้ที่ได้รับเลือกให้รับบทบาทนี้มักจะรู้สึกว่าได้รับการเรียกให้ปลุกความเชื่อแห่งศีลล้างบาปของพวกเขาอีกครั้ง และเริ่มต้นฟื้นฟูการเดินทางของการอุทิศตนและการเป็นประจักษ์พยาน เป็นไปได้ที่พวกเขาอาจปฏิเสธที่จะยอมรับความรับผิดชอบนี้อาจมีผลสำหรับพวกเขาที่ควรได้รับการประเมินด้วยการเอาใจใส่ในการอภิบาลที่ดี  ในกรณีที่ต้องการตามวัตถุประสงค์[21] สำหรับบุคคลที่จะสามารถปฏิบัติงานนี้ได้ (ข้อกำหนดที่ควรระบุให้ชัดเจนในการอภิปรายก่อนการคัดเลือก) ตามการตกลงกับครอบครัวและตามความตระหนักของบาทหลวงเจ้าอาวาส   เราสามารถเลือกพ่อแม่อุปถัมภ์ได้จากบรรดาผู้ทำงานอภิบาล (ครูคำสอน ครู ผู้จัดงาน) ที่อยู่ในฐานะผู้เป็นประจักษ์พยานแห่งความเชื่อและการปรากฏตัวในพระศาสนจักร

 

การให้บริการของปู่ย่าตายายในการส่งผ่านความเชื่อ

126.       นอกเหนือจากพ่อแม่แล้ว เหนืออื่นใด ในบางวัฒนธรรมปู่ย่าตายายคือผู้ที่มีบทบาทพิเศษในการถ่ายทอดความเชื่อไปยังเด็ก[22] ในพระคัมภีร์ยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อของปู่ย่าตายายในฐานะประจักษ์พยานสำหรับลูกหลานของพวกเขา (เทียบ 2 ทธ 1: 5) “พระศาสนจักรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับปู่ย่าตายายเสมอ  โดยถือว่าพวกท่านเป็นสมบัติอันยิ่งใหญ่จากทั้งในแง่ของมนุษย์และสังคม เช่นเดียวกับมุมมองทางศาสนาและฝ่ายจิต”[23] เมื่อเผชิญกับวิกฤตในครอบครัว ปู่ย่าตายายซึ่งมักหยั่งรากลึกในความเชื่อคริสตชนได้มากกว่า และมีอดีตที่มั่งคั่งด้วยประสบการณ์ กลายเป็นประเด็นสำคัญในการเอ่ยถึง ที่จริง บ่อยครั้งที่หลายคนเป็นหนี้ปู่ย่าตายายของพวกเขาในการเริ่มต้นความเชื่อคริสตชน การมีส่วนร่วมของปู่ย่าตายายกลายเป็นสิ่งสำคัญในการสอนคำสอน เนื่องจากทั้งเวลาที่มากขึ้นที่พวกเขาสามารถอุทิศให้ และความสามารถในการส่งเสริมคนรุ่นใหม่ด้วยความรักที่มีลักษณะเฉพาะของพวกเขา การภาวนาอ้อนวอน และเพลงสรรเสริญจากปู่ย่าตายายค้ำจุนชุมชนในการทำงานและการต่อสู้ดิ้นรนของชีวิต

 

การมีส่วนร่วมอย่างมากของสตรีในการสอนคำสอน

127.       สตรีมีบทบาทอย่างมีคุณค่าในครอบครัวและในชุมชนคริสตชน  ให้บริการในฐานะภรรยา  แม่  ครูคำสอน  คนงาน  และผู้เชี่ยวชาญ  พวกเธอมีพระนางมารีย์เป็นแบบอย่าง “เป็นแบบอย่างความรักของมารดา  โดยที่ทุกคนควรมีชีวิตชีวาในการให้ความร่วมมือในพันธกิจการแพร่ธรรมของพระศาสนจักรเพื่อการฟื้นฟูมนุษย์” (LG 65)  พระเยซูเจ้าทรงสอนบรรดาศิษย์ให้ตระหนักถึงคุณค่าของสตรีทั้งด้วยคำพูดและการกระทำ อันที่จริง พระองค์ต้องการให้พวกเธอเป็นศิษย์ของพระองค์ (เทียบ มก 15:40-41) และมอบความชื่นชมยินดีให้มารีย์ชาวมักดาลา และสตรีคนอื่นๆ ในการประกาศถึงการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ให้กับบรรดาอัครสาวก (เทียบ มธ 28:9-10; มก 16:9-10; ลก 24:8-9; ยน 20:18)  ในทำนองเดียวกัน พระศาสนจักรจักรในสมัยแรก รู้สึกว่าจำเป็นต้องทำให้คำสอนของพระเยซูเจ้าเป็นของตัวเอง และยินดีที่สตรีมีอยู่ในงานการประกาศข่าวดีซึ่งเป็นดั่งของขวัญอันมีค่า (เทียบ ลก 8:1-3; ยน 4:28-29)

 

128.       ชุมชนคริสตชนได้รับแรงบันดาลใจจากอัจฉริยะของบรรดาสตรีอย่างต่อเนื่อง เพื่อตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของพวกเธอในการทำให้ชีวิตการอภิบาลของพระศาสนจักรเป็นจริงที่เป็นสิ่งสำคัญและขาดไม่ได้ การสอนคำสอนเป็นหนึ่งในบริการเหล่านี้ที่นำไปสู่การรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมอันยิ่งใหญ่ของบรรดาครูคำสอนสตรีที่อุทิศตนให้กับศาสนบริการนี้ด้วยความทุ่มเท ความรัก และความเชี่ยวชาญ ในชีวิตของพวกเธอนั้นได้รวบรวมภาพลักษณ์ของความเป็นมารดา รู้วิธีการเป็นประจักษ์พยาน แม้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก มีความอ่อนโยนและการอุทิศตนของพระศาสนจักร พวกเธอสามารถเข้าใจ มีความรู้สึกไว ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้า การรับใช้ในสิ่งเล็กน้อย และในสิ่งที่ยิ่งใหญ่เป็นทัศนคติของผู้ที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความรักที่พระเจ้าทรงมีต่อมนุษยชาติ และไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากใจป้ำต่อเพื่อนบ้านของตน ดูแลผู้คนและสิ่งต่างๆ ของโลก

 

129.        การชื่นชมความรู้สึกที่เฉพาะเจาะจงต่อสตรีในการสอนคำสอนไม่ได้หมายความว่าจะบดบังการมีอยู่ของบุรุษที่มีนัยสำคัญเท่าเทียมกัน ในทางตรงกันข้าม ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงทางมานุษยวิทยา สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อเป็นมนุษย์ที่มีสุขภาพดีและมีการเติบโตฝ่ายจิตนั้นไม่มีใครสามารถทำได้  หากไม่มีทั้งหญิงและชาย ดังนั้น ชุมชนคริสตชนควรให้ความสำคัญกับการมีทั้งครูคำสอนหญิง ซึ่งมีจำนวนที่โดดเด่นอย่างยิ่งสำหรับการสอนคำสอน และ ครูคำสอนชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับวัยรุ่นและคนหนุ่มสาวในปัจจุบันซึ่งมีบทบาทที่ขาดไม่ได้ ควรให้ความชื่นชมเป็นพิเศษเมื่อมีครูคำสอนรุ่นหนุ่มสาว ผู้ให้ความกระตือรือร้น ความคิดสร้างสรรค์ และความหวัง พวกเขาได้รับเรียกให้รู้สึกถึงความรับผิดชอบในการส่งผ่านความเชื่อ

 

[15] CCC 429           

[16] GDC 231           

[17] John Paul II, Apostolic Exhortation Familiaris consortio (22nd November 1981), 38            

[18] AL 200              

[19] AL 85 

[20] RCIA 43 (11)    

[21] Cf CIC c.874; CCEO c.685.          

[22] Cf Francis, General Audience (4th and 11th March 2015) 

[23] Benedict XVI, Address to participants in the PLENARY Assembly of the Pontifical Council for the Family on the theme Grandparents: their Witness and Presence in the Family (5th April 2008)