คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

4. การประกาศข่าวดีในโลกร่วมสมัย

ขั้นตอนใหม่ของการประกาศข่าวดี

38.         พระศาสนจักรพบว่าตนเองกำลังเผชิญกับ “ขั้นตอนใหม่ของการประกาศข่าวดี”[32] เพราะแม้ในการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยนี้ องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพยังคงสร้างทุกสิ่งขึ้นใหม่ (เทียบ วว 21:5)  ยุคสมัยของเรา   มีความซับซ้อน  แผ่ซ่านไปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้ง  ธรรมประเพณีโบราณในพระศาสนจักรต่างๆ มักถูกทำเครื่องหมายด้วยปรากฏการณ์ของการแยกตัวออกจากการมีชีวิตในพระศาสนจักรและประสบการณ์แห่งความเชื่อ การเดินทางของพระศาสนจักรเองนั้นมีความยากลำบากและมีความจำเป็นในการฟื้นฟูฝ่ายจิต ศีลธรรม และการอภิบาล แต่พระจิตเจ้ายังคงปลุกเร้าความกระหายหาพระเจ้าภายในผู้คน และภายในพระศาสนจักรให้มีความเร่าร้อนใหม่ วิธีการใหม่  และการแสดงออกใหม่สำหรับการประกาศข่าวดีของพระเยซูคริสตเจ้า

 

39.         พระจิตเจ้าเป็นวิญญาณของพระศาสนจักรผู้ประกาศข่าวดี ด้วยเหตุนี้ การเรียกสู่การประกาศข่าวดีใหม่[33] จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับมิติของเวลาน้อยลงเช่นเดียวกับการทำให้ทุกช่วงเวลาของกระบวนการประกาศข่าวดีเปิดกว้างมากขึ้นสำหรับการดำเนินการฟื้นฟูของพระจิตของพระองค์ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ความท้าทายที่เกิดขึ้นในครั้งใหม่สำหรับพระศาสนจักรสามารถระบุได้ในขั้นแรกคือด้วยพลังแห่งการฟื้นฟู และในลักษณะเดียวกันพลังนี้มีความเป็นไปได้โดยรักษาความไว้วางใจอย่างมั่นคงในพระจิตเจ้า “ไม่มีอิสรภาพใดใหญ่ยิ่งกว่าการยอมให้พระจิตเจ้าทรงส่องสว่างเรา เป็นผู้แนะแนวทาง และทรงนำเราไปยังที่พระองค์ทรงปรารถนา พระองค์ทรงทราบดีถึงสิ่งที่เราต้องการในแต่ละยุคและในแต่ละขณะ”[34]

 

40.         ในลักษณะเฉพาะ สภาพชีวิตจิตของการประกาศข่าวดีใหม่ ได้รับการตระหนักถึงในทุกวันนี้ในการการกลับใจในการอภิบาล ซึ่งพระศาสนจักรกำชับเพื่อบรรลุผลในการออกไป ตามพลังที่แทรกซึมอยู่ในการเผยแสดง และทำให้พระศาสนจักรอยู่ใน “สภาพการแพร่ธรรมอยู่ตลอดเวลา[35] แรงกระตุ้นของธรรมทูตนี้ยังนำไปสู่การปฏิรูปโครงสร้างและพลังของพระศาสนจักรอย่างแท้จริงในลักษณะที่พวกเขาทุกคนอาจกลายเป็นธรรมทูตมากขึ้น ซึ่งหมายความว่าสามารถทำให้มีชีวิตชีวาด้วยความกล้าหาญและความคิดสร้างสรรค์ ทั้งในภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมและทางศาสนา และขอบฟ้าส่วนบุคคลของมนุษย์ทุกคน ทุกคนที่ได้รับศีลล้างบาป  เขาเป็น “ศิษย์ธรรมทูต”[36] เป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในพันธกิจนี้ของพระศาสนจักร

 

41.         ขั้นตอนใหม่ของการประกาศข่าวดีนี้เกี่ยวกับชีวิตทั้งครบของพระศาสนจักร และกำหนดเป็นหลักในสามอันดับคือ

          ก. ในอันดับแรก มีพื้นที่ของการดูแลเอาใจใส่การอภิบาลตามปรกติ ซึ่งดำเนินการใน “ชุมชนคริสตชนซึ่งมีโครงสร้างตามแบบพระศาสนจักรที่เหมาะสมและมั่นคง  พวกเขามีความเชื่ออย่างแรงกล้าและในการดำเนินชีวิตแบบคริสตชน พวกเขาเป็นประจักษ์พยานถึงพระวรสารในสภาพแวดล้อมและมีความรู้สึกผูกพันต่อการแพร่ธรรมสากล”[37] “เราต้องรวมบรรดาสัตบุรุษที่รักษาความเชื่อคาทอลิกไว้อย่างมั่นคงและจริงใจในมิตินี้ด้วย พวกเขาแสดงออกถึงความเชื่อในลักษณะต่างๆ แม้ว่าเขามิได้มีส่วนร่วมในจารีตพิธีกรรมบ่อยนัก ศาสนบริการในงานอภิบาลนี้มุ่งเน้นการเจริญเติบโตของผู้มีความเชื่อ เพื่อให้เขาตอบสนองความรักของพระเจ้าได้ดียิ่งขึ้นเสมอในชีวิตของพวกเขา”[38]

          ข.  ในอันดับที่สอง มี “พื้นที่...ของ ‘บุคคลที่ได้รับศีลล้างบาป แต่มิได้ดำเนินชีวิตตามข้อเรียกร้องของศีลล้างบาป’ เป็นผู้ที่ขาดความสัมพันธ์อย่างมีความหมายกับพระศาสนจักร และมิได้มีประสบการณ์ความบรรเทาใจที่เกิดจากความเชื่อ”[39] ในกลุ่มนี้มีหลายคนที่จบโครงการการเริ่มเข้าสู่   ชีวิตคริสตชนแล้ว และได้เดินทางไปตามเส้นทางของการสอนคำสอนหรือการศึกษาศาสนาที่โรงเรียนมาแล้ว สำหรับผู้ที่ “นอกเหนือจากวิธีการอภิบาลตามธรรมประเพณีและถูกต้องอยู่เสมอแล้ว พระศาสนจักรพยายามที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ การพัฒนาภาษาใหม่ที่ปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของโลกที่แตกต่างกัน การนำเสนอความจริงของพระคริสตเจ้าด้วยทัศนคติของการเสวนาและมิตรภาพ”[40]

          ค. ในอันดับที่สาม มีพื้นที่ของ “ผู้ที่ยังไม่รู้จักพระเยซูคริสตเจ้า หรือผู้ที่มักปฏิเสธพระองค์ บุคคลเหล่านี้จำนวนมากแสวงหาพระเจ้าอย่างเงียบๆ ด้วยความปรารถนาอยากพบพระพักตร์ของพระองค์ แม้ในประเทศที่มีธรรมประเพณีคริสตชนอันเก่าแก่ ทุกคนมีสิทธิได้รับพระวรสาร บรรดาคริสตชนมีหน้าที่ประกาศพระวรสาร โดยไม่ยกเว้นผู้ใดคริสตชนมิใช่ผู้ที่ให้กฎเกณฑ์ข้อบังคับใหม่  แต่เป็นผู้แบ่งปันความชื่นชมยินดี ชี้ให้เห็นขอบฟ้าที่งดงาม และเชิญคนมาร่วมงานเลี้ยงที่น่าปรารถนา   พระศาสนจักรมิได้เจริญเติบโตด้วยการชักชวนคนให้เปลี่ยนศาสนา (Proselytising) แต่ ‘ด้วยการดึงดูด’”[41] แรงกระตุ้นของธรรมทูตที่เกิดขึ้นเองนี้ต้องได้รับการสนับสนุนจากศาสนบริการการอภิบาลที่แท้จริงของการประกาศครั้งแรก   สามารถดำเนินการริเริ่มเพื่อนำเสนอข่าวดีแห่งความเชื่อในลักษณะที่ชัดเจน แสดงให้เห็นถึงพลังแห่งความเมตตาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นหัวใจของพระวรสาร และให้การสนับสนุนการรวมตัวกันของผู้ที่กลับใจให้เข้ามาในชุมชนของพระศาสนจักร

 

การประกาศข่าวดีในวัฒนธรรมและการนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรม

42.         เพื่อที่จะเป็นการรับใช้ต่อการเผยแสดง พระศาสนจักรได้รับเรียกให้มองประวัติศาสตร์ด้วยสายตาของพระเจ้าเพื่อรับรู้การกระทำของพระจิตเจ้า ผู้ทรงพัดไปในที่ที่ต้องการ (เทียบ ยน 3:8) “ในประสบการณ์ร่วมกันของมนุษยชาติ สำหรับความขัดแย้งทั้งหลาย...ไม่เปิดเผยสัญญาณการปรากฏตัวของพระองค์บ่อยนัก ซึ่งช่วยให้ผู้ติดตามพระคริสตเจ้าเข้าใจสารที่พวกเขาได้รับได้ลึกซึ้งมากขึ้น”[42] สิ่งนี้ทำให้พระศาสนจักรสามารถรับรู้เครื่องหมายของกาลเวลา(เทียบ GS 4) ในหัวใจของทุกบุคคลและทุกวัฒนธรรม ในทุกสิ่งที่เป็นมนุษย์อย่างแท้ จริงและส่งเสริมความเป็นมนุษย์ “แม้ในขณะที่พระศาสนจักรมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น และการสังเกตอย่างรอบคอบมุ่งเป้าไปที่ความเข้าใจถึง‘เครื่องหมายที่แท้จริงของการประทับอยู่หรือจุดประสงค์ของพระเจ้า’ (GS 11) พระศาสนจักรยอมรับว่าตนเองไม่เพียงแต่ให้เท่านั้น  แต่ยัง ‘ได้รับจากประวัติศาสตร์และจากพัฒนาการของเผ่าพันธุ์มนุษย์’ (GS 44)”[43]

 

43.         การประกาศข่าวดีไม่ได้หมายถึงการครอบครองอาณาบริเวณที่กำหนด  แต่เป็นการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการฝ่ายจิตในชีวิตของบุคคล  เพื่อให้ความเชื่อนั้นฝังรากและมีความหมาย การประกาศข่าวดีในวัฒนธรรมต้องการการเข้าถึงหัวใจของวัฒนธรรม ซึ่งมีการสร้างสาระสำคัญและกระบวนทัศน์ใหม่ๆ เข้าถึงแกนกลางที่ลึกที่สุดของแต่ละบุคคลและของสังคมเพื่อส่องสว่างพวกเขาจากภายในด้วยแสงของพระวรสาร “ความต้องการที่จะประกาศข่าวดีในวัฒนธรรมเพื่อปลูกฝังพระวรสารนั้นเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก  ในประเทศที่มีประเพณีคาทอลิก   เป็นเรื่องของการเดินทางไปด้วยกัน การเอาใจใส่ และการทำให้ความมั่งคั่งที่มีอยู่แล้วเข้มแข็งมากขึ้น และในประเทศที่มีประเพณีของศาสนาอื่นๆ หรือลักษณะทางโลกอยู่มาก  ก็จะต้องเป็นเรื่องการส่งเสริมกระบวนการใหม่ๆ ในการประกาศข่าวดีต่างวัฒนธรรม แม้จะเป็นโครงการระยะยาว”[44]

 

44.         ความสัมพันธ์ระหว่างพระวรสารและวัฒนธรรมก่อให้เกิดความท้าทายต่อชีวิตของพระศาสนจักรมาโดยตลอด หน้าที่ของพระศาสนจักรคือการปกป้องคลังแห่งความเชื่ออย่างซื่อสัตย์ แต่ในขณะเดียวกัน “จำเป็นที่หลักคำสอนที่แน่นอนและเปลี่ยนไม่ได้นี้ ซึ่งจะต้องได้รับการยินยอมจากความเชื่อ ถูกสำรวจ  แล้ว และถูกนำเสนอตามความต้องการของยุคสมัยของเรา”[45] ในสถานการณ์ปัจจุบัน มีระยะห่างอย่างมากระหว่างความเชื่อและวัฒนธรรม จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณาใหม่เกี่ยวกับงานการประกาศข่าวดีด้วยลักษณะใหม่และภาษาใหม่ๆ ที่อาจให้การส่งเสริมในการเน้นมิติด้านธรรมทูต

 

45.         ทุกวัฒนธรรมมีลักษณะเฉพาะของตนเอง  แต่ในปัจจุบันการแสดงออกทางวัฒนธรรมจำนวนมากแผ่กระจายผ่านปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ สิ่งนี้ได้รับการเสริมกำลังจากสื่อมวลชนและการเคลื่อนไหวของผู้คน “การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เราได้เห็นในทศวรรษที่ผ่านมามีประวัติศาสตร์อันยาวนานและซับซ้อน และพวกเขาได้เปลี่ยนแปลงวิธีการมองโลกของเราอย่างมาก  เราจำเป็นต้องคิดถึงความก้าวหน้ามากมายทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความเป็นไปได้ที่ขยายมากขึ้นในการคำนึงถึงชีวิตและเสรีภาพส่วนบุคคล การเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งในแวดวงเศรษฐกิจ และการผสมผสานของเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่เกิดจากการอพยพในระดับโลก และการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพาซึ่งกันและกันของผู้คน”[46]

 

46.         อย่างไรก็ตามโอกาสที่แตกต่างกันที่ก่อตัวขึ้นในภาพรวมใหม่นี้ ไม่มีใครช่วยได้แต่พึงจำไว้ว่าความคลุมเครือและบ่อยครั้งของความยากลำบากที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังดำเนินอยู่ ร่วมกับความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมที่น่ากังวลซึ่งส่งผลให้เกิดความตึงเครียดทั่วโลกอย่างน่ากลัว  การเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งกำลังเกิดขึ้นภายในขอบฟ้าของความหมายของประสบการณ์ของมนุษย์เอง “ในวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน ความสำคัญอันดับแรก เป็นเรื่องของสิ่งภายนอก ทันใจ มองเห็นได้ รวดเร็ว ผิวเผิน และชั่วคราว”[47] ศูนย์กลางบทบาทในปัจจุบันคือการให้ความไว้วางใจกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ราวกับว่าสิ่งเหล่านี้สามารถให้คำตอบสำหรับคำถามที่ลึกที่สุดได้ โครงการการศึกษาบางโครงการจัดขึ้นบนพื้นฐานของสมมุติฐานดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายของการอบรมทั้งครบที่จะรับรู้แรงบันดาลใจที่แท้จริงที่สุดของจิตวิญญาณมนุษย์   การปฏิวัติทางมานุษยวิทยาที่แท้จริงกำลังดำเนินอยู่ ซึ่งส่งผลต่อประสบการณ์ทางศาสนาและก่อให้เกิดความท้าทายที่สำคัญสำหรับชุมชนของพระศาสนจักร

 

47.         ในการอบรมในบริบททางวัฒนธรรมนี้ สื่อมวลชนมีบทบาทอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งได้กำหนดปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ขึ้นใหม่ได้อย่างดี เกินกว่าเป้าหมายที่เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดที่สุดกับความต้องการของการสื่อสาร “เทคโนโลยีใหม่ๆ  ไม่เพียงเปลี่ยนโลกแห่งการสื่อสาร  แต่ยังนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางอีกด้วย วิธีใหม่ในการเรียนรู้และการคิดกำลังพัฒนา พร้อมโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อนในการสร้างความสัมพันธ์และการสร้างมิตรภาพ”[48] การเปลี่ยนแปลงจึงสัมผัสกับขอบเขตของเอกลักษณ์และเสรีภาพส่วนบุคคล แต่ยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับรู้และวิธีการเรียนรู้  ซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบความสัมพันธ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในที่สุด ก็เปลี่ยนแนวทางประสบการณ์แห่งความเชื่อ  ดังนั้น สำหรับพระศาสนจักร “การปฏิวัติที่เกิดขึ้นในเครื่องมือการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่และน่าตื่นเต้น ขอให้เราตอบสนองต่อความท้าทายนั้นด้วยพลังที่สดใหม่และความสามารถในการคิดหาหนทางในขณะที่เราพยายามแบ่งปันความงดงามของพระเจ้ากับผู้อื่น”[49]

 

การสอนคำสอนในการให้บริการของการประกาศข่าวดีใหม่

48.         ในบริบทของการฟื้นฟูการประกาศพระวรสารในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของวัฒนธรรมร่วมสมัย พระศาสนจักรใส่ใจที่จะให้กิจกรรมทุกอย่างของตนเชื่อมโยงกับการประกาศข่าวดีและการแพร่ธรรม เนื่องจาก “กิจการธรรมทูตเป็นกระบวนทัศน์พันธกิจทุกประการของพระศาสนจักร[50]  จึงจำเป็นที่การสอนคำสอนจะต้องให้บริการกับการประกาศข่าวดีใหม่  และพัฒนาจากการพิจารณาพื้นฐานบางประการนี้  เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการพบปะกับพระคริสตเจ้าได้อย่างเปิดเผยและเป็นส่วนตัว ในบริบทต่างๆ ของพระศาสนจักร แม้ว่าจะใช้ภาษาที่แตกต่างกัน ลักษณะจำเพาะหลายประการของการสอนคำสอนกลายเป็นสิ่งชัดเจน การเป็นประจักษ์พยานของการแบ่งปันทัศนคติในการกระทำขององค์พระผู้เป็นเจ้าได้รับการยอมรับ

 

การสอนคำสอน “ในการออกไปเป็นธรรมทูต”

49.         พันธกิจที่พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพทรงมอบหมายให้พระศาสนจักรเป็นหนึ่งเดียว แต่มีความหลากหลายในการนำไปปฏิบัติบนพื้นฐานของบุคคลและพื้นที่ที่ได้รับการกล่าวถึง   การแพร่ธรรมสู่นานาชาติเป็นกระบวนทัศน์ของการดำเนินงานการอภิบาลของพระศาสนจักร  สิ่งนี้กล่าวกับ “ประชากรทั้งหลายกลุ่มต่างๆ และบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่รู้จักพระคริสตเจ้าและพระวรสารของพระองค์ หรือไม่มีชุมชนคริสตชนที่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะสามารถสร้างความเชื่อในสภาพแวดล้อมของตนเอง และประกาศความเชื่อให้กับกลุ่มอื่นๆ”[51] ในกระบวนทัศน์นี้ ในปัจจุบันพระศาสนจักรได้รับเรียกให้ตั้งตนอยู่ในสถานะถาวรของพันธกิจทั่วโลก และเปลี่ยนแปลงทุกคนด้วยการกระทำของตนจากมุมมองของธรรมทูต

50.         ในความตระหนักถึงการฟื้นฟูกระแสเรียกของตน พระศาสนจักรยังแลเห็นถึงการแก้ไขในการสอนคำสอนในฐานะที่เป็นหนึ่งในงานของตนในการออกไปเป็นธรรมทูต ซึ่งหมายความว่าเต็มใจที่จะแสวงหาความจริงที่มีอยู่แล้วในกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ มีความไว้ใจว่าพระเจ้าทรงมีบทบาทอย่างลึกลับในหัวใจมนุษย์ก่อนหน้าพระวรสารจะมาถึงอย่างชัดเจน ในแง่นี้ พระศาสนจักรจะหาวิธีเข้าใกล้ผู้คนในยุคสมัยของเรา เดินเคียงข้างพวกเขาไม่ว่าจะอยู่ที่ใดยิ่งกว่านั้น การสอนคำสอนสร้างผู้มีความเชื่อเพื่อการแพร่ธรรม ร่วมไปกับพวกเขาในการเติบโตทางทัศนคติแห่งความเชื่อ และทำให้พวกเขาตระหนักว่าพวกเขาเป็นศิษย์ธรรมทูต ได้รับเรียกให้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการประกาศพระวรสาร และสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้าให้ปรากฏในโลก “ความสนิทสัมพันธ์ของพระศาสนจักรกับพระเยซูเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทาง ซึ่ง ‘แสดงออกมาเป็นความสนิทสัมพันธ์แบบธรรมทูต’”[52]

 

การสอนคำสอนภายใต้เครื่องหมายของความเมตตา

51.         แก่นแท้ของธรรมล้ำลึกของความเชื่อคริสตชนคือความเมตตา ซึ่งปรากฏให้เห็นในพระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธ ความเมตตาเป็นศูนย์กลางของการเผยแสดงของพระเยซูคริสตเจ้า เปิดเผยถึงธรรมล้ำลึกของพระตรีเอกภาพ เป็นอุดมคติของชีวิตผู้ประกาศข่าวดี เป็นเกณฑ์ที่แท้จริงของความน่าเชื่อถือของความเชื่อและเป็นโครงเรื่องที่ลึกซึ้งที่สุดของเรื่องราวของพระศาสนจักร พระศาสนจักรได้รับเรียกให้ประกาศความจริงเบื้องต้นของตน  ซึ่งก็คือความรักของพระคริสตเจ้า[53] จะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่าจะไม่มีการประกาศถึงความเชื่อหากนี่ไม่ใช่เครื่องหมายแห่งความเมตตาของพระเจ้า การปฏิบัติด้วยความเมตตาเป็นการสอนคำสอนที่แท้จริงอยู่แล้ว เป็นการสอนคำสอนในการกระทำ ประจักษ์พยานที่คมคายสำหรับผู้มีความเชื่อและผู้ไม่เชื่อคล้ายกัน  และแสดงออกถึงความผูกพันระหว่างความเชื่อและการปฏิบัติ “การประกาศข่าวดีใหม่… ไม่สามารถทำได้  แต่ใช้ภาษาแห่งความเมตตาซึ่งแสดงออกด้วยท่าทางและทัศนคติแม้กระทั่งก่อนคำพูด”[54]

52.         ยิ่งกว่านั้น การสอนคำสอนถือได้ว่าเป็นการตระหนักถึงการทำงานฝ่ายจิตแห่งความเมตตา “สั่งสอนผู้ไม่รู้” ในความเป็นจริงแล้ว การกระทำของการสอนคำสอนประกอบด้วยการเสนอความเป็นไปได้ในการหลีกหนีจากความไม่รู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งกีดกันไม่ให้ผู้คนรู้จักเอกลักษณ์และกระแสเรียกของตนเอง ความจริงใน De catechizandis rudibus ซึ่งเป็นงานชิ้นแรกของคริสตชนในเรื่องของการเรียนการสอนคำสอน นักบุญออกัสตินยืนยันว่าการสอนคำสอนกลายเป็น “โอกาสของงานแห่งความเมตตา” ที่น่าพอใจ “พระวาจาของพระเจ้าเป็นสติปัญญาของผู้ที่หิวโหยพระวาจา”[55] สำหรับบิชอปผู้ศักดิ์สิทธิ์ การกระทำทั้งหมดในคำสอนได้รับการสนับสนุนโดยพระเมตตาที่พระเจ้าในพระคริสตเจ้าทรงมีต่อความทุกข์ยากของมนุษย์ นอกจากนี้ หากความเมตตาเป็นหัวใจสำคัญของการเผยแสดง ก็จะเป็นเงื่อนไขของการประกาศและรูปแบบการเรียนการสอนของความเมตตาด้วย  ในที่สุด การสอนคำสอนคือการสอนผู้มีความเชื่อให้เป็น “ผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด”(ลก 6:36) ทั้งโดยการส่งเสริมความรู้ การปฏิบัติฝ่ายจิต งานแห่งความเมตตาฝ่ายกาย และโดยการให้กำลังใจในการค้นหางานใหม่ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบัน

 

การสอนคำสอนฐานะเป็น “ห้องปฏิบัติการ” ของการเสวนา

53.         สถานศึกษาของการเสวนาของการช่วยให้รอดพ้นอันยอดเยี่ยมคือการเผยแสดง พระศาสนจักรเข้าใจดีขึ้นเรื่อยๆ ว่าตนถูกเรียกให้เสวนากับผู้คนในสมัยของตนอย่างไร “พระศาสนจักรต้องเข้าสู่การเสวนากับโลกที่ตนอาศัยอยู่ มีบางอย่างที่จะกล่าว มีสารที่จะให้ และมีการสื่อสารที่จะทำ”[56] กระแสเรียกนี้ซึ่งมีรากฐานมาจากธรรมล้ำลึกของพระเจ้า  ในพระเยซูเจ้าผู้ทรงเข้าสู่การสนทนาอย่างใกล้ชิดกับมนุษยชาติ เป็นรูปแบบของการเสาวนาอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ การเสวนาเป็นการริเริ่มที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย รับคำแนะนำจากความรัก  ไม่เปรียบเทียบคุณสมบัติของผู้เข้าร่วม  ไม่มีผลผูกพัน  สำหรับทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยก และเติบโตในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป[57] ในช่วงเวลาปัจจุบัน  การเสวนานี้  กับสังคม  กับวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์  กับผู้มีความเชื่ออื่นทุกคน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นการสนับสนุนอันมีค่าต่อสันติภาพ[58]

54.         ในช่วงเวลาของการประกาศข่าวดีใหม่ พระศาสนจักรปรารถนาให้การสอนคำสอนควรเน้นรูปแบบการเสวนานี้เช่นกัน เพื่อให้มองเห็นพระพักตร์ของพระบุตรได้ง่ายขึ้น  ผู้ทรงอยู่กับสตรีชาวสะมาเรียที่บ่อน้ำ  ทรงหยุดเพื่อเริ่มการเสวนากับมนุษย์ทุกคนเพื่อที่จะนำพวกเขาด้วยความอ่อนโยนไปสู่การค้นพบน้ำที่ให้ชีวิต (เทียบ ยน 4:5-42)  ในแง่นี้ การสอนคำสอนของพระศาสนจักรคือ  “ห้องปฏิบัติการ” ของการเสวนาที่แท้จริง เพราะในส่วนลึกของทุกคนล้วนพบเจอกับความมีชีวิตชีวาและความซับซ้อน ความปรารถนาและการถามหา ข้อจำกัดและบางครั้งยังรวมถึงข้อผิดพลาดของสังคมและวัฒนธรรมของโลกร่วมสมัยด้วย  สำหรับการสอนคำสอนก็เช่น กัน “หมายถึงการพัฒนาการเสวนาในการอภิบาลโดยไม่มีสัมพัทธ์นิยม (Relativism) ซึ่งไม่มีการจัดการกับเอกลักษณ์ของคริสตชน แต่พยายามที่จะเข้าถึงหัวใจของผู้อื่น ของผู้อื่นที่แตกต่างจากเรา และที่นั่นเพื่อหว่านพระวรสาร”[59]

 

[32] EG 1.17            

[33] Cf EN 2; Jonh Paul II, Homily during holy Mass at the Sanctuary of Santa Croce (9th June 1979); idem, Apostolic Exhortation Christifideles Laici (30th December 1988), 34; Pontifical Council for Promoting New Evangelization, Enchiridion della nuova evangelizzazione. Testi del Magistero pontifico e conciliare 1939-2012 (2012); EG 14-18.              

[34] EG 280              

[35] Cf  EG 20-23    

[36] EG 120; cf also Fifth general conference of the episcopate of Latin America and the Carribean, document of Aparecida (30th May 2007), 129-346              

[37] John Paul II, Encyclical Letter Redemptoris mission (7th December 1990), 33.       

[38] EG 14 

[39] EG 14 

[40] Benedict XVI, Homily for Holy Mass closing the 13th Ordinary General Assembly of the Synod of Bishops (28th October 2012)      

[41] EG 14; cf also Benedict XVI, Homily at Mass for the Opening of the Fifth general conference of the

episcopate of Latin America and Carribean Bishops (13th May 2007)          

[42] John Paul II, Apostolic Letter Novo millennio ineunte (6th January 2001), 56.      

[43] Ibidem.            

[44] EG 69

[45] John XXIII, Address on the Opening of the Second Vatican Council (11th October 1962)   

[46] Benedic XVI, Apostolic Letter Ubicumque et semper (21st September 2010)        

[47] EG 62

[48] Benedict XVI, Address to Participants in the Plenary Assembly of the Pontifical Council for Social
Communicatio
ns (28th February 2011)    

[49] Francis, Message for the 48th World Communications Day (1st June 2014)          

[50] EG 15

[51] John Paul II, Encyclical Letter Redemptoris mission (7th December 1990), 33.     

[52] EG 23; cf also John Paul II, Post-Synodal Apostolic Exhortation Christifideles Laici (30th December 1988), 32             

[53] Cf Francis, Bull of Indiction of the Extraordinary Jubilee of Mercy Misericordiae vultus (11th  April 2015), 12.                

[54] Francis, Address to Participants in the Plenary of the Pontifical Council for Promoting the New

 Evangelization (14th October 2013)         

[55] Augustine of Hippo, De catechizandis rudibus, 1.14.22 (CCL 46.146.; PL 40.327).

[56] Paul VI, Encyclical Letter Ecclesiam Suam (6th August 1964), 65.

[57] Cf  ibid, 73-79.              

[58] Cf  EG 238-258             

[59]Francis, Address to participants at the International Pastoral Congress on the World’s Big Cities (27th November 2014)