คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน - DIRECTORY FOR CATECHESIS (2020)

1. ธรรมชาติและเป้าหมายของการนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรม

395.      ในงานแห่งการประกาศพระวรสาร พระศาสนจักรถูกเรียกร้องให้เลียนแบบ “แบบเดียวกับที่พระคริสตเจ้าเมื่อทรงเสด็จมารับสภาพมนุษย์ ทรงนำพระองค์มาผูกพันกับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ซึ่งพระองค์เสด็จมาอยู่ด้วย” (AG 10) การปรับรูปแบบวัฒนธรรมแรกแห่งพระวจนาตถ์ของพระเจ้าดำรงเรื่อยมาจนถึงวันนี้ดุจดังต้นแบบแห่งการประกาศพระวรสารของพระศาสนจักร พวกเราไม่อาจที่จะคิดถึงการปรับวัฒนธรรม เป็นเพียงการปรับการประกาศพระวรสารให้เข้ากับวัฒนธรรม ตรงกันข้ามนี่เป็นการเดินทางที่ล้ำลึก ครบถ้วน และเจริญก้าวหน้า นี่เป็นการเจาะแก่นสารของพระวรสารเข้าสู่ส่วนลึกของบุคคลและประชากรทีละเล็กทีละน้อย “ต้องมุ่งไปสู่การเทศน์สอนพระวรสาร ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรมที่พระวรสารนั้นได้รับการประกาศ  และก่อให้เกิดการสังเคราะห์ขึ้นใหม่ให้เข้ากับวัฒนธรรมนั้น”[3]

 

396.       การสอนคำสอน “ได้รับเรียกให้นำเอาพลังของพระวรสารเข้าสู่หัวใจของวัฒนธรรมต่างๆ”[4] และมีความรับผิดชอบยิ่งใหญ่ในกระบวนการที่ต้องปรับวัฒนธรรมให้เข้ากับความเชื่อ การเข้าใจวัฒนธรรมแบบอรรถปริวรรตศาสตร์ (hermeneutics) เพื่อความเชื่อทำให้การสอนคำสอนมีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้นเพื่อการเข้าถึงอย่างมีนัยสำคัญสู่เป้าหมายของการศึกษาเพื่อความเชื่อและในความเชื่อ สิ่งพิเศษที่การสอนคำสอนจะมอบให้กับการประกาศพระวรสารคือความพยายามที่จะเข้าไปสู่ความสัมพันธ์กับประสบการณ์ของบุคคล พร้อมวิถีการเจริญชีวิตของพวกเขา และกระบวนการเจริญเติบโตทั้งส่วนตัวและชุมชน การปรับวัฒนธรรมต้องเป็นหัวใจที่มุ่งเพื่อชีวิตภายในแห่งประสบการณ์แห่งความเชื่อ นี่ยิ่งจะมีความสำคัญเร่งด่วนยิ่งขึ้นไปอีกในบริบทปัจจุบันที่การถ่ายทอดวัฒนธรรมแห่งพระวรสาร ซึ่งในอดีตเคยมีการปฏิบัติกันภายในครอบครัวและสังคมนั้น ทว่าบัดนี้น่าเสียดายที่ธรรมเนียมเช่นนี้ได้สูญหายไป ความอ่อนแอแห่งกระบวนการดังกล่าวได้นำไปสู่วิกฤตของการยึดถือความเชื่อเอาตามใจชอบ เพราะฉะนั้นจึงมีความสำคัญที่การสอนคำสอนจะต้องไม่มุ่งไปเพียงแค่การถ่ายทอดเนื้อหาสาระแห่งความเชื่อแต่ประการเดียวเท่านั้น แต่จำต้องใส่ใจถึงกระบวนการแห่งการรับความเชื่อเป็นการส่วนตัว  เพื่อการปฏิบัติตนของผู้มีความเชื่อต้องแสดงออกมาได้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยเหตุผลแห่งเสรีภาพและความรับผิดชอบต่อความเชื่อที่เป็นแรงผลักดัน

 

397.       เกี่ยวกับการปรับวัฒนธรรมให้เข้ากับความเชื่อ การสอนคำสอนต้องมีการพิจารณากันถึงคำแนะนำด้านวิธีการสอนดังต่อไปนี้[5]

        ก. เรียนรู้วัฒนธรรมอย่างลึกซึ้งแห่งความเชื่อของบุคคล สร้างพลวัตแห่งความสัมพันธ์ซึ่งการปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมความเข้าใจใหม่แห่งพระวรสาร

        ข. รับรู้ว่าพระวรสารมีมิติวัฒนธรรมของตนเองซึ่งตลอดเวลาหลายศตวรรษที่ผ่านมาแทรกซึมเข้าไปในวัฒนธรรมต่างๆ

        ค. สื่อสารการกลับใจจริงจังว่าพระวรสารในฐานะที่เป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและการเกิดใหม่  มีผลดีภายในวัฒนธรรมต่างๆ

        ง. ทำให้เกิดความเข้าใจว่าเมล็ดพันธุ์แห่งพระวรสารมีอยู่แล้วในวัฒนธรรม ต่างๆ แม้ว่าพระวาจาพระเจ้าอยู่เหนือสิ่งใด และไม่สิ้นสุดในวัฒนธรรมดังกล่าว

        จ. สร้างหลักประกันว่าการถ่ายทอดพระวรสารแบบใหม่ตามวัฒนธรรมที่กำลังได้รับการประกาศพระวรสารจะไม่ถูกละเลยความครบถ้วนแห่งเนื้อหาความเชื่อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระศาสนจักร

 

398.       “การสอนคำสอนในขณะที่หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทุกรูปแบบ มิได้ถูกจำกัดให้เป็นเพียงเรื่องการนำเอาพระวรสารมาเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม “ในลักษณะการตกแต่ง” บางอย่างเท่านั้น แต่ต้องนำเสนอพระวรสารในรูปแบบที่ “เป็นทางอันจำเป็นสำหรับชีวิต มีความลึกซึ้ง โดยการเข้าถึงรากแท้ของวัฒนธรรมและสังคมของมนุษยชาติ” หลักการที่กล่าวมานี้เองเป็นสิ่งกำหนดกระบวนการที่มีพลัง ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลายประการที่มีผลต่อกันคือ การรับฟังเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประชาชน  เพื่อสังเกตถึงผลที่สะท้อนตอบพระวาจาของพระเป็นเจ้า(ลางนิมิต (omen) การวิงวอน (invocation) เครื่องหมาย (sign) ความสามารถในการเข้าใจว่าวัฒนธรรมใดมีคุณค่าที่แท้จริงของพระวรสารหรืออย่างน้อยก็เปิดรับพระวรสาร  การชำระล้างสิ่งที่สนับสนุนเครื่องหมายแห่งบาป (ความรู้สึกที่รุนแรงต่างๆ  โครงสร้างแห่งความชั่วร้าย) หรือเครื่องหมายแห่งความอ่อนแอทางจิตใจของมนุษย์ ผลกระทบต่อประชาชนโดยการกระตุ้นให้มีท่าทีแห่งการกลับใจมาหาพระเป็นเจ้า ท่าทีแห่งการเสวนา  และลักษณะของการเติบโตภายในอย่างสมบูรณ์ด้วยความเพียรทน”[6]

 

399.       การนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องภายในสำหรับพระศาสนจักรท้องถิ่น “ต้องเป็นเรื่องของประชากรทั้งมวลของพระเจ้าให้เห็นความหมายที่แท้จริงของความเชื่อ ซึ่งต้องระวังมิให้ลืมเลือน...จะต้องเป็นการแสดงออกถึงวิถีชีวิตชุมชน ซึ่งต้องเติบโตในชุมชนเอง และไม่ใช่เป็นผลจากการวิจัยเชิงศึกษาเท่านั้น”[7] หากพระวรสารถูกนำมาปรับวัฒนธรรมในประชากรโดยผ่านวัฒนธรรม การถ่ายทอดความเชื่อก็จะเป็นไปในทำนองที่มีชีวิตชีวา ซึ่งจะทำให้มันดูเป็นของใหม่และดึงดูดความสนใจ

 

400.       การสอนคำสอนที่กระทำเพื่อรับใช้การปรับวัฒนธรรมเข้าสู่ความเชื่อ  ต้องพยายามใช้ทุกประเด็นแห่งวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมที่ประชากรแสดงออกมาให้เป็นประโยชน์ ทั้งที่เป็นธรรมเนียมเก่าแก่ ธรรมเนียมของท้องถิ่นและธรรมเนียมในโลกาภิวัตน์ที่เป็นผลของการวิจัยค้นคว้า[8]  แล้วนำทุกสิ่งมาประยุกต์ให้เข้ากับการแสดงออกที่เป็นรูปธรรมต่างๆ ที่ประชากรมีพฤติกรรมกับประสบการณ์แห่งความเชื่อของพวกเขา  เพราะเหตุนี้การสอนคำสอนจึงต้องอุทิศให้กับความห่วงใยในบางประเด็นแห่งการอภิบาลของพระศาสนจักร ซึ่งเรียกร้องอย่างชัดเจนให้ใช้ภาษาและการแสดงออกที่จะกระทำแบบใหม่ให้เห็นถึงรูปแบบของงานธรรมทูตที่สงบเรียบง่ายและมีความชื่นชมยินดี  เช่น การสอนคำสอนให้กับผู้ใหญ่ก่อนรับศีลล้างบาป การสอนพระคัมภีร์ การสอนเรื่องจารีตพิธีกรรม การสื่อสารพระวรสาร “การประกาศพระวรสารได้รับการถ่ายทอดในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะบรรยายหรือแยกประเภทได้ เพราะประชากรของพระเจ้ามีทั้งกิจการและเครื่องหมายมากมาย  ที่มีลักษณะเป็นส่วนรวม  ด้วยเหตุนี้  หากพระวรสารก่อกำเนิดขึ้นในวัฒนธรรมหนึ่ง พระวรสารจึงต้องสื่อสาร มิใช่โดยการประกาศจากบุคคลไปสู่บุคคลเท่านั้น สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงคือในประเทศที่คริสตศาสนาเป็นชนกลุ่มน้อย เรายิ่งต้องให้กำลังใจผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปแต่ละคน ให้เขาประกาศพระวรสาร พระศาสนจักรท้องถิ่นต้องพัฒนารูปแบบอย่างน้อยก็โดยการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม”[9]

 

[3] EG 129.            
[4] CT 53. On the issue of the inculturation of the Faith in the different geographical areas, the apostolic exhortations following the continental synods are important: John Paul II, Ecclesia in Africa (14th September 1995): Id., Ecclesia in America 22nd January 1999); Id., Ecclesia in Asia (6th November 1999); Id., Ecclesia in Oceana (22nd November 2001); Id., Ecclesia in Europa (28th June 2003); Benedict XVI.  Africae munus (19th November 2011); Id., Ecclesia in Medio Oriente  (14th September 2012); Francis, Querida Amazonia (2nd February 2020)    
[5] Cf  GDC 203; cf also CT 53.        
[6]  GDC 204; cf also EN 20. 
[7] John Paul II, Encyclical Letter Redemptoris missio (7th December 1990), 54.         
[8] On the contemporary cultural scenarios, cf chapter X of the present Directory.  
[9] EG 129.