25 ปี ผ่านไปตั้งแต่บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์ปอลที่ 2 ได้เ ชิญผู้ แทนศาสนาต่างๆมาภาวนาเพื่อสันติภาพที่ อัสซีซี  ได้เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น เราต้องทำอะไรให้เกิดสันติภาพในปัจจุบันนี้  สมัยนั้นได้มีการแบ่งแยกโลกเป็นสองฝ่าย สัญลักษณ์ของความแตกแยก   คือ กำแพงเบอร์ลิ น  ที่ใจกลางเมือง  ใน ค.ศ.1989 สามปีหลังจากการภาวนาที่  อัสซีซี กำแพงลูกทำลายลงโดยไม่มีการหลั่งเลือด  ไม่มีปืนใหญ่หลังกำแพงเป็นเครื่องหมาย (ความรุนแรง) อีก  ประชาชนไม่อยู่ในความหวาดกลัว  ประชาชนป รารถนาอิสรภาพมากกว่าความรุนแรง ไม่จำเป็นต้องถามถึงเหตุผลที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคม  เพราะซับซ้อน  และเราก็ไม่สามารถให้คำตอบง่ายๆ  แต่นอกจากองค์ประกอบการเมือง และเศรษฐกิจ  เหตุผลลึกๆสำหรับการเปลี่ ยนแปลงนั้น เป็นเรื่องจิตวิญญาณ  เบื้องหลังอำนาจวัตถุ  ซึ่งไม่มั่นใจเรื่องจิตวิญญาณ  ประชาชนปรารถนาอิสรภาพแรงกล้ามากกว่าความกลัวความรุนแรง   เราขอบคุณชัยชนะของอิสรภาพ ชัยชนะของสันติภาพ  สิ่งที่มากยิ่ง กว่า คือ  อิสรภาพที่จะเชื่อ เราจึงมาร่วมกันภาวนาเพื่อสันติภาพ 

        แต่ต่อไปจะเกิดอะไรอีก เรายังไม่สามารถกล่าวได้ว่า สังคมมีอิสรภาพ และสันติภาพแล้ว  แม้ไม่มีการคุกคาม เรื่องสงครามใหญ่  แ ต่โลกก็ยังไม่มีความสามัคคี ยังมีสงคราม การต่อสู้  ความรุนแรงในสังคม อิสรภาพเป็นสิ่งดีมากๆ  แต่โลกก็ไม่มีทิศทาง มีการตีความหมายเ สรีภาพผิดๆไม่น้อย  รวมทั้งถึงกับคิดว่ามีเสรีภาพสำหรับทำการรุนแรง มีความเห็นขัดแย้งกัน เราจึงต้องพยายามหา แนวทางใหม่เพื่อสร้างอิสรภาพ

        เราอาจจะแยกความรุนแรงเป็น  2 แบบ ในเรื่องแรงจูงใจ และการแสดงออกที่แตกต่างกันในรายละเอียด

        1) มีผู้ก่อการร้าย (Terrorism) มีการโจมตี ทำลายฝ่ายตรงข้าม แม้ชีวิตของผู้บริสุทธิ์  ถูกฆาตกรรมอย่างโหดร้าย  ไม่สนใจกฎหม ายนานาชาติที่จำกัดความรุนแรง ขาดจริยธรรม  ในกรณีนี้  ศาสนามิได้ช่วยให้เกิดสันติภาพ แต่ถูกใช้อ้างถึงเพื่อความรุนแรง

         มีบางยุค Post Enlightenment บางคนวิจารณ์ว่า  ศาสนาเป็นต้นเหตุแห่งความรุนแรง  พวกเขาจึงตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์กับศาสนาต่างๆ จึ งเป็นเหตุแห่งความรุนแรง  เมื่อใช้กำลังของศาสนาหนึ่งต่อสู้กับศาสนาอื่นๆ บรรดาผู้แทนศาสนา ที่มาชุมชนที่อัสซีซี ใน ค.ศ.1986 ว่านั่นม ิใช่ธรรมชาติแท้ของศาสนา  ที่ก่อให้เกิดการทำลาย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าธรรมชาติแท้ของศาสนาคืออะไร  นี่คืองานของศาสนสัมพันธ์

         ในฐานะคริสตชน  เป็นเรื่องจริง  ในอดีต  เราเคยใช้กำลัง (ต่อสู้แย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์)ในนามของพระเป็นเจ้า เรารู้สึกอับอายมากๆ  ที่เป็นการใช้ความเชื่อคริสตชนแบบผิดๆ ขัดแย้งกับธรรมชาติแท้ของศาสนา  เราเชื่อว่า พระเจ้าพระผู้สร้างทรงเป็นบิดาของมวลมนุษย์  เรา ทุกคนเป็นพี่น้องในครอบครัวเดียวกัน   ไม้กางเขนของพระคริสตเจ้าเป็นเครื่องหมายของพระเจ้าผู้ทรงรับความทุกข์ และเปี่ยมด้วยความรัก พระนามของพระองค์คือ “พระเจ้าแห่งความรักและสันติ” (2 คร 13:11)  นี่คือภาระของทุกคนที่เป็นคริสตชน ต้องทำให้ศาสนาบริสุทธิ์ถึงแก่น  เพื่อเป็นเครื่องมือนำสันติของพระเจ้าเข้ามาในโลก ถึงแม้มนุษย์ผิดพลาดได้

        2)   ความรุนแรงชนิดที่สองคือ การปฏิเสธพระเจ้า เป็นศัตรูกับศาสนาเห็นว่าศาสนาเป็นต้นเหตุให้เกิด (ความรุนแรง) ในประวัติศาสต ร์การปฏิเสธพระเจ้ายิ่งทำให้เกิดความรุนแรงไร้จำกัด  เพราะไม่ยอมรับการตัดสินใดๆนอกเหนือตนเอง    ยึดตนเป็นมาตรฐาน    ค่ายกักกัน (ท ี่โปแลนด์) เป็นตัวอย่างให้เห็นชัดว่าเป็นผลของการไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า  ประชาชนเหล่านั้นต่างแสวงหาความจริง  แสวงหาพระเจ้าแท้ในศาส นาต่างๆ  เพราะเป็นวิถีชีวิตที่เขาเคยปฏิบัติบ่อยๆ เป็นความรับผิดชอบของเราต้องช่วยเขาให้พบพระเจ้า

        เราจึงเชิญพวกเขามาพบปะที่อัสซีซี   ข้าพเจ้าไม่ต้องการกล่าวถึง  อเทวนิยมตอนนี้ แต่ปรารถนาที่จะกล่าวถึงความตกต่ำของมนุษย์  ซึ่งตามด้วยการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศด้านจิตวิญญาณที่เกิดขึ้น และมีอันตรายยิ่ง  การนมัสการเงินทองเป็นพระเจ้า การยึดครองและอำนาจ   ดูเหมือนว่ าเป็นศาสนาใหม่ ยึดผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นใหญ่   ต้องการความสุขในรูปแบบที่ต่างจากสมัยก่อน เช่น ยาเสพติด  มีการค้ายาเสพติดเป็นเครือข่าย มีผู้คนมากมายถูกทำลาย  ทั้งร่างกายและจิตใจ เยาวชนถูกทำลาย และถู กขู่คุกคามทั่วโลก  สันติภาพถูกทำลาย  มนุษย์ทำลายตนเองไปสู่สุญญากาศสันติภาพ

        นอกจากสองปรากฏการณ์ด้านศาสนา และแอนตี้ศาสนา มนุษย์บา งส่วนจึงค่อยๆ เพิกเฉยศาสนา พวกเขามิใช่ยืนยันว่า “พระเจ้าตายแล้ว” เท่านั้นพวกเขายังทนทุกข์จากความคิดนี้ แต่เขาก็แสวงหาพระเจ้าลึกๆ  คือแสวงหาความจริง  และความดี เป็นผู้จาริกแห่งความจริง และผู้จาริกแห่ งความดีงาม...จึงเป็นความรับผิดชอบของศาสนิกชน... เพราะเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงเชิญพวกท่านมาพบกันที่อัสซีซี  มิใช่ผู้แทนศาสนาต่างๆ  ในรู ปสถาบัน  แต่ในฐานะผู้ร่วมก้าวเดินสู่สัจธรรม  เพื่อศักดิ์ศรีมนุษย์  เพื่อร่วมมือกันสร้างสรรค์สันติภาพ ต่อสู้กับพลังทำลายทุกรูปแบบ

         ในที่สุด ข้าพเจ้าขอให้พวกท่านมั่นใจได้ว่าพระศาสนจักรคาทอลิกไม่สนับสนุนความรุนแรง  เราอุทิศตนเพื่อสร้างสันติภาพในโลก   เรามีความปรารถนาเดียวกันคือ แสวงหาความจริง แสวงหาสันติภาพ

                                                                                                                                   พระสังฆราชวีระ  อาภรณ์รัตน์ แปล
 

Home

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม
อาคารเลขที่ 122/11 ซ.นนทรี 14 (ซ.นาคสุวรรณ) ถ.นนทรี ยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120