พี่น้องชายหญิงที่รัก

        พ่อดีใจมากที่เช้าวันนี้มาอยู่ท่ามกลางพวกท่าน  ก่อนที่จะสมโภชวันพระคริสตสมภพ  สวัสดี  รัฐ มนตรีกระทรวงยุติธรรม Paolo  Severino จิตตาธิการ นายแพทย์ ผู้อำนวยการ  ผู้ร่วมงาน  และบรรดาอาสาสมัคร  และทุกท่าน  ณ ที่นี้ (Casa  Circondariale Rebibbia-โรมา)

          “เราอยู่ในคุก ท่านก็มาหา”  (มธ. 25:38) เป็นพระวาจาของพระเยซูเจ้าสำหรับการพิพากษาครั้งสุดท้าย  ที่นักบุญมัทธิวบรรยาย ทำใ ห้พ่อจึงมาเยี่ยมวันนี้   ที่ใดที่มีคนหิวโหย คนแปลกหน้า ผู้ป่วย  ผู้ต้องขัง  ที่นั่นมีพระคริสตเจ้ารอให้เราไปเยี่ยมและช่วยเหลือ นี่จึงเป็นเหตุ ผลหลักให้พ่อดีใจและมาที่แห่งนี้  เพื่ออธิษฐานภาวนา สนทนาและรับฟังพวกท่าน  พระศาสนจักรพยายามฟื้นฟูงานเมตตาสงเคราะห์  และเยี่ ยมผู้ต้องขัง (เทียบ CCC  2447) ... พ่อจึงอยากฟังแต่ละคน แต่ก็เป็นไปไม่ได้  พ่ออยากบอกว่าพระเจ้าทรงรักพวกท่านอย่างไม่มีสิ้นสุด  พวกท่านเป็นบุตรของพระเจ้า  พระเยซูเจ้า พระบุตรแต่องค์เดียวของพระเจ้าได้มีประสบการณ์ในคุก  ได้ถูกตัดสินต่อหน้าศาล  และถูกประณามให้รับโทษประหารชีวิตอย่างโหดร้าย

         ในโอกาสที่พ่อไปเยี่ยมอภิบาลที่เบนิน  (อาฟริกา) เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา  พ่อได้เซ็นจดหมายเตือนใจหลังสมัชชา ซึ่งพ่อได้ยืนยั นให้พระศาสนจักรสนใจเรื่องความยุติธรรมในรัฐ พ่อเขียนว่า  “เป็นเรื่องด่วนที่ต้องให้มีระบบยุติธรรม และนักโทษอิสระ ให้มีความยุติธรรม  และให้การศึกษาแก่ผู้ทำผิด... มีหลายกรณีที่ประยุกต์ใช้กฎหมายไม่ได้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน... พระศาสนจักรตระหนักดีถึงพันธกิจด้านประก าศก  ต่อหน้าบรรดาผู้ถูกตัดสินกระทำอาชญากรรม  พวกเขาต้องได้รับการคืนดี  ความยุติธรรม  และสันติสุข ผู้ถูกคุมขังเป็นบุคคล  แม้ได้ทำ ผิดร้ายแรง แต่ก็สมควรได้รับความเคารพและมีศักดิ์ศรี  พวกเขาต้องการให้เราสนใจและมีเมตตา”  (เลขที่ 83)

         ความยุติธรรมของมนุษย์แตกต่างมากจากของพระเจ้า แน่นอนว่า  มนุษย์ไม่สามารถประยุกต์ความยุติธรรมของพระเจ้า แต่อย่างน้อยต้ องดูและแสวงหาจิตตารมณ์เช่นนี้  เพราะจะช่วยให้ความยุติธรรมของมนุษย์ดีขึ้น พระเจ้าทรงประกาศพระยุติธรรม  แต่ในเวลาเดียวกันก็ทรงรักษาเยียวยาด้วยพระเมตตา

         อุปมาในพระวรสารนักบุญมัทธิว  (20:1-16) เรื่องคนงานในสวนองุ่น  ช่วยให้เราเข้าใจความแตกต่างระหว่างความยุติธรรมภาษามนุษ ย์ และของพระเจ้า  มีความละเอียดระหว่างความยุติธรรมและความเมตตา  อุปมาบรรยายเรื่อง พ่อบ้านออกไปจ้างคนงานมาทำงานในสวน  ในเวลาต่างกัน  บางคนทำงานทั้งวัน บางคนทำงานชั่วโมงเดียว เมื่อถึงเวลาจ่ายค่าตอบแทน  เจ้าของสวนได้ตอบข้อโต้แย้งระหว่างคนงาน  ปัญหาเรื่องความใจดี บางคนถือว่าเป็นสิ่งอยุติธรรม ที่เจ้าของสวนจ่ายค่าจ้างให้คนงานที่ทำตั้งแต่เช้า เท่ากับคนที่ทำงานเพียงชั่วโมงเดียวในตอนบ่าย หากตัดสินตามภาษามนุษย์ มันก็ผิดยุติธรรมอย่างแท้จริง แต่ในสายพระเนตรพระเจ้า นี่เป็นความใจดี  เพราะพระยุติธรรมให้แ ก่ทุกคน  และรวมถึงพระเมตตาและการอภัยด้วย

         ความยุติธรรมและพระเมตตา  ความยุติธรรมและความรัก  เป็นคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร  เป็นข้อเท็จจริงสองประการที่แตกต่ างกันสำหรับมนุษย์  คือ กิจการยุติธรรม และกิจการแห่งความรัก สำหรับเรา  ถูกต้อง ยุติธรรมต้องทำแก่คนอื่น  ขณะที่ความเมตตา เราต้อ งทำเพราะใจดี สำหรับมนุษย์ดูจะแยกจากกัน  แต่สำหรับพระเจ้า  ทั้งความยุติธรรมและความรักไปด้วยกัน ไม่มีกิจการอะไรยุติธรรม  หากไม่เ ป็นกิจการเมตตาและให้อภัย ในเวลาเดียวกัน ไม่มีกิจการเมตตาที่ปราศจากความยุติธรรมอย่างสมบูรณ์

         ตรรกะแบบพระเจ้า  ช่างอยู่ไกลจากตรรกะของเรา ช่างแตกต่างจากของเรา พระองค์เชิญเราให้ปฏิบัติตามกฎหมาย  ด้วยความรักแก่ผู้ ที่ต้องการ ดังที่นักบุญเปาโลกล่าวว่า  “ความรักไม่ทำความเสียหายแก่เพื่อนมนุษย์ ความรักเป็นการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติอย่างครบถ้วน” (รม. 13:10) ความยุติธรรมจะสมบูรณ์เมื่อปฏิบัติความรักต่อพระเจ้าและพี่น้อง

         ... การบังเกิดของพระเยซู ช่วยเราให้คิดถึงพันธกิจนำความรอดมาสู่มนุษย์ทุกคน พระองค์จะดีใจ  เมื่อเรากลับมาหาพระเจ้าด้วยหัวใจใ หม่  ขอให้ทุกคนเป็นอิสระจากคุกภายในใจ  จะได้เป็นอิสระจากสิ่งชั่วร้าย จากความโกรธ  และความตาย

         พระกุมารในรางหญ้าเท่านั้น  จะประทานอิสรภาพสมบูรณ์ให้เราได้ ขอให้ท่านมั่นใจว่า พ่ออยู่ใกล้ชิดท่าน กับครอบครัว  กับลูก  กับเยาวชน กับผู้อาวุโส ขอพระเจ้าอวยพรทุกคนให้มีอนาคตที่แจ่มใส

       ข้อไตร่ตรอง ฉันจะกล้าไปเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำ ในเทศกาลพระคริสตสมภพ
                           เหมือนสมเด็จพระสันตะปาปาไหม?

พระสังฆราช วีระ อาภรณ์รัตน์ 
แปลจาก www.news.va
22 ธันวาคม  2011

Home

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม
อาคารเลขที่ 122/11 ซ.นนทรี 14 (ซ.นาคสุวรรณ) ถ.นนทรี ยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120