คุณพ่อปีเตอร์  โอนีล เป็นสงฆ์ธรรมทูตคณะนักบุญโคลัมบัน ตั้งแต่ตุลาคม ค.ศ. 2006  เป็นจิตตาธิก ารรับผิดชอบคนงานต่างชาติ ที่มาทำงานในสังฆมณฑลชินจู  ไต้หวัน รวมทั้งผู้อพยพและครอบครัว    พระสังฆราชยอห์น  แบปติส  ลี  เป็นประมุขสังฆมณฑล

สังฆมณฑลนี้มีศูนย์บริการผู้อพยพ  3 แห่ง  ศูนย์ความหวังของกรรมกร (Hope Workers’ Center - HWC )  อยู่ที่เมืองชุนลี ก่อตั้งโดยคณะโคลัมบัน  ในปี ค.ศ. 1986 (27 ปีแล้ว)  คอยช่วยเหลือกรรมกรไทยที่มาทำงานที่นั่น  ตั้งแต่ ค.ศ. 1997

ในปี ค.ศ. 1997 พระสังฆราชได้เคยขอสภาพระสังฆราชไทย ให้ส่งบุคลากรไปทำงานกับกรรมกรไทยที่น ั่น  จึงได้ส่งผู้หญิงคนหนึ่งไปทำงานที่นั่น 7 ปี และย้ายไปทำงานกับคนไทยในประเทศเกาหลี ตั้งแต่ ค.ศ. 1997-2007  สภาพระสังฆราชไทยได้ส่ง  4 คน ไปทำงานกับคนงานไทยในสังฆมณฑลชินจู

ในปี ค.ศ. 1997 มีคนงานไทยในไต้หวันประมาณ  133,000 คน  เป็นคนงานกลุ่มใหญ่ที่สุดร้อยละ  50 ของคนงานอพยพทั้งหมด  คนงานไทยทำงานเป็นจำนวนมากที่สุดในปี ค.ศ. 2000 ราว  142,000 คน    ปี ค.ศ. 2001  จำนวนคนงานไทยค่อยๆ ลดจำนวนลง    ปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013  มีจำนวน 62,000 คน  คิดเป็นร้อยละ 14 ของจำนวนคนงานอพยพทั้งหมด

ตั้งแต่ ค.ศ. 2008  คนงานไทยมีจำนวนน้อยที่สุด คนงานไทยหลายพันคนทำงานด้านก่อสร้าง ปัจจุบ ันเหลือเพียง 2,000 คน ทำงานด้านก่อสร้าง  แต่ 60,000 คน  ทำงานในโรงงาน   ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 จำนวนคนงานไทยในไต้หวันลดลงร้อยละ 53 ขณะที่จำนวนคนงานอพยพทั้งหมดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ  73

ใน ค.ศ. 2006 กระทรวงศึกษาธิการไทยได้เชิญเจ้าหน้าที่ของศูนย์กลางความหวังของคนงาน (HWC) ให้ช่วยประสานงานโครงการให้การศึกษ าแก่คนงานอพยพไทย เพื่อช่วยให้คนงานสามารถศึกษาในโรงเรียนให้ได้รับวุฒิบัตรขณะที่ทำงานในไต้หวัน    ค.ศ. 2007 สถานทูตไทยในไทเ ปสนับสนุนให้ นางสาวสีนัทชา  พันธิรัตน์  ประสานงานโครงการการศึกษาที่ศูนย์  HWC ได้สอนบางวิชาแก่คนงาน  เช่น  คอมพิวเตอร์ คณิ ตศาสตร์  ภาษาไทย และประวัติศาสตร์ คนงานไทย 300 คน ได้รับวุฒิบัตรจากโครงการนี้ ปัจจุบันมี 35 คนงานไทยกำลังศึกษาโครงการนี้

นอกจากประสานงานโครงการให้การศึกษา  คุณสีนัทชาเป็นสมาชิกทีมร่วมงานของศูนย์  HWC มีหน้าที่อภิบาลสังคม ด้วยการไปเยี่ยมคนงานไ ทยที่อยู่ในศูนย์กักขัง เยี่ยมคนงานไทยที่ประสบปัญหา  และให้การศึกษาเรื่องสิทธิตามกฎหมายของไต้หวัน  คุณสีนัทชาเป็นคาทอลิกที่มีจิตใจธรรมทูตดีมาก

บรรดาคนงานไทยส่วนมากที่มาทำงานในไต้หวันนับถือศาสนาพุทธ เราเน้นเรื่องการเสวนาระหว่างศาสนา  เคารพความเชื่อของคนงาน  มีคนงา นไทยจำนวนน้อยจากภาคอีสานเป็นชาวคริสต์  เรายังไม่เคยพบคนงานไทยคาทอลิกเลยสักคน คนงานไทยมาจากครอบครัวยากจน คุณสีนัทชามีความสัมพันธ์ดีมากกับคนงานไทยที่นั่น

คณะธรรมทูตไทยกำลังส่งบุคลากรไปศึกษางานในกลางธันวาคมนี้

สำหรับประเทศไทย  มีคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการอภิบา ลสังคม แผนกผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ถูกคุมขัง (National Catholic Commission on Migration - NCCM) ตั้งแต่ ค.ศ. 1987

“พระเยซูเจ้าตรัสว่า  เราหิวท่านให้เรากิน เรากระหายท่านให้เราดื่ม  เราเป็นแขกแปลกหน้า  ท่านก็ต้อนรับ...  ท่านท ำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา”  (มธ 25:35,40)

“เนื่องจากความรักที่มีต่อคนจนในเอเชีย  พระศาสนจักรจึงให้ความสนใจกับผู้อพยพ ชนพื้นเมืองและชนเผ่าต่างๆ  ตล อดจนสตรีและเด็กเป็นพิเศษ เหตุว่าบุคคลเหล่านั้นมักจะเป็นเหยื่อของการเอารัดเอาเปรียบในรูปแบบที่เลวร้ายมาก” (พระศาสนจักรในเอเชีย  ข้อที่ 34 หน้า 101.)

พระสังฆราช วีระ อาภรณ์รัตน์  รายงาน

Home