วัดคาทอลิกในบางประเทศมีสัตบุรุษเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีศาสนบริกรศีลมหาสนิทหลายคนช่วยพิธี เช่น หลายวัดในประเทศสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ หรือใน
งานชุมนุมเยาวชนโลก
ที่ ริโอ เด จาไนโร ประเทศบราซิล ในระหว่างพิธีมิสซา วันที่ 25 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 มีเยาวชนเป็นล้านคน จึงมีศาสนบริกรแจกศีลมหาสนิทพิเศษ ในบางวัด ในบางโอกาส ในสังฆมณฑลของเรา จึงน่าพิจารณาศาสนบริกรศีลมหาสนิทพิเศษ
ตามแนวปฏิบัติของพระศาสนจักรคาทอลิก ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร CIC 910 วรรค 1 บอกว่า ศาสนบริกรแจกศีลมหาสนิทปกติ
(Ordinary minister) คือ พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร
ศาสนบริกรแจกศีลมหาสนิทพิเศษ
(Extraordinary minister) คือ ผู้ช่วยพิธีกรรม หรือคริสตชนที่ได้รับแต่งตั้งเพื่อการนี้ ตามกฎเกณฑ์ของมาตรา 230 วรรค 3
ในมาตรา 230 วรรค 3 เขียนไว้ว่า เมื่อพระศาสนจักรมีความจำเป็นและขาดศาสนบริกร ฆราวาสแม้มิใช่เป็นผู้อ่าน
หรือผู้ช่วยพิธีกรรมก็สามารถปฏิบัติหน้าที่บางอย่างแทนได้ เช่น ทำหน้าที่ศาสนบริการพระวาจา เป็นประธานนำการภาวนาในพิธีกรรม โปรดศีลล้างบาป และแจกศีลมหาสนิท ทั้งนี้ตามข้อกำหนดของกฎหมาย
เพราะฉะนั้น เราจึงเห็นว่าพระศาสนจักรอนุญาตให้ที่ใดมีศาสนบริกรไม่เพียงพอ
ฆราวาสที่มิได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยพิธีกรรม หรือผู้อ่านพระคัมภีร์แบบสามเณรที่วิทยาลัยแสงธรรม ก็สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นศาสนบริกรพระวาจา เป็นประธานนำการภาวนาในพิธีกรรม โปรดศีลล้างบาป และแจกศีลมหาสนิทได้ คำว่าฆราวาสคริสตชน หมายความถึงทั้งหญิงและชาย
หน้าที่รับผิดชอบของศาสนบริกรพิเศษนี้
คือ แจกศีลมหาสนิท ทั้งในพิธีมิสซา หรือนำไปส่งให้แก่ผู้ป่วย เมื่อศาสนบริกรปกติ (พระสังฆราช พระสงฆ์ สังฆานุกร) ไม่อยู่ หรือทำหน้าที่ไม่ได้ (Redemptionis Sacramentum 133)
ผู้ช่วยพิธีกรรม
(Acolyte) เป็นศาสนบริกรพิเศษที่ได้รับการแต่งตั้ง เช่นที่วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน พวกเขาเป็นสามเณรใหญ่ที่เรียนปรัชญาและเทววิทยา ในกรณีที่เรากล่าวนี้ หมายถึง นักบวชและ
ฆราวาสที่กฎหมายพระศาสนจักรอนุญาต โดยมีอายุและคุณสมบัติตามที่สภาพระสังฆราชกำหนด พระสังฆราชท้องถิ่นสามารถมอบอำนาจให้นักบวชและฆราวาสปฏิบัติหน้าที่นี้ ทั้งในโอกาสเดียว หรือระยะเวลาเ
จาะจง (เช่น 2-3 ปี) หากมีเหตุผลเหมาะสมจริงๆ ไม่จำเป็นต้องมีพิธีแต่งตั้งทางการ แต่มีการอวยพรที่เหมาะสม ซึ่งไม่เหมือนกับพิธีบวชพระสงฆ์ ในกรณีพิเศษที่คาดไม่ถึง พระสงฆ์ผู้เป็นประธานพิธีมิสซาสาม
ารถอนุญาตบุคคลที่เหมาะสมในครั้งเดียวนั้นได้
ถ้าโดยปรกติศาสนบริกรที่ได้รับศีลบวชมีจำนวนเพียงพอสำหรับแจกศีลมหาสนิทแล้ว ก็จะแต่งตั้งศาสนบริกรแจกศีลในกรณีพิเศษไม่ได้ ในกร
ณีเช่นนี้ ผู้ที่เคยได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติศาสนบริกรนี้แล้ว ยังจะต้องไม่ปฏิบัติภารกิจดังกล่าวด้วย วิธีปฏิบัติของพระสงฆ์บางองค์ซึ่งละเว้นไม่แจกศีล แม้ได้ร่วมถวายมิสซา แต่มอบหน้าที่นี้ไห้ฆราวาสท
ำ จึงเป็นการปฏิบัติที่ยอมรับไม่ได้ (Rs 157)
ศาสนบริกรพิเศษจะส่งศีลมหาสนิทเฉพาะกรณีขาดพระสงฆ์และสังฆานุกร หรือพระสงฆ์ป่วย หรือชรามาก หรือมีเหตุผลสมควร หรือเมื่อม
ีสัตบุรุษที่เข้ามารับศีลจำนวนมาก จนทำให้พิธีมิสซาต้องยืดเยื้อนานเกินไป... การต้องยืดเวลามิสซาเพียงเล็กน้อยไม่ใช่เหตุผลเพียงพอเลย เมื่อพิจารณาสภาพแวดล้อมและขนมธรรมเนียมของท้องถิ่นแล้ว (Rs 158)
ศาสนบริกรแจกศีลมหาสนิทในกรณีพิเศษ จะมอบให้ผู้อื่นแจกศีลมหาสนิทแทนไม่ได้เป็นอันขาด เช่น ให้บิดามารดา สามีภรรยา หรือบุตร
ของผู้ป่วยที่ต้องการรับศีลมหาสนิทแจกศีลแทน (Rs 159)
พระสังฆราชปกครองสังฆมณฑลต้องวางกฎเกณฑ์เป็นพิเศษ กำหนดวิธีการปฏิบัติหน้าที่นี้ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย โดยคำนึง
ถึงธรรมประเพณีของพระศาสนจักรด้วย (Rs 160)
|