ผมได้รับจดหมายจากพระสังฆราชมัตธีอัส รี ของสังฆมณฑลซูวอน ประเทศเกาหลี ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ
ภายใต้สภาพระสังฆราชคาทอลิกเกาหลี ให้ร่วมมือกับสถาบันเทววิทยาวูรี จากเกาหลี จัดการประชุมด้านเทววิทยาของเอเชีย ระหว่าง 12 21 สิงหาคม 2013 ที่เชียงใหม่ ภายใต้หัวข้อ
การพัฒนาไร้ขอบเขตและชีวิตของชนพื้นเมือง ท่ามกลางวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมในเอเชีย
สมาชิกที่มาจากต่างประเทศมีประมาณ 40 คน และจากประเทศไทยประมาณ 50 60 คน มีการีตัสไทยและเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพ
ที่น่าสนใจสมาชิกจากต่างประเทศในเอเชียเป็นเยาวชน เพราะสถาบันเทววิทยาวูรีเน้นผู้นำฆราวาสเยาวชน ให้ตระหนักถึงปัญหาสังคมที่รุนแรงผิดต่อสิทธิมนุษยชน ความยุติธรรม สันติ สิ่งแวดล้อม ชนพื้นเมือง ฯลฯ
สมาชิกจากประเทศในเอเชีย คือ
เกาหลี จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ กัมพูชา ลาว วิทยากรจากอินเดีย ฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส และคุณพ่อนิพจน์ เทียนวิหาร
วิธีการจัดให้พักที่ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมศาสนาและวัฒนธรรมชุมชน (RTRC) และพาสมาชิกต่างประเทศไปสัมผัสชีวิตในหมู่บ้าน 2 วัน และมาที่
ศูนย์มิสซังเชียงใหม่ ประชุม 2 วัน และกลับไปที่ RTRC อีก 5 วัน
มีวิทยากรนำเสนอประเด็น บางประเทศรายงานสภาพจริง และอภิปราย
คุณพ่อเฟลิกซ์ วิลเฟรด ได้นำเสนอหัวข้อเศรษฐกิจด้านการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ และการมีส่วนร่วมของคริสตชน เป็นพิเศษต่อชนพื้นเมือง
เศรษฐกิจเป็นเรื่องใกล้ตัวที่มีผลกระทบต่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจเพื่อดำรงชีวิตรอด
และเศรษฐกิจเพื่อผลกำไร มักมีความขัดแย้งกันเสมอ ในเอเชีย เศรษฐกิจเพื่อดำรงชีวิตรอดมักแพ้เศรษฐกิจที่เน้นผลกำไร รัฐบาลมีบทบาทหน้าที่เรื่องนี้โดยตรง มีผลต่อชีวิตและความตายของประชาชนเป็นล้านๆ มีผลกระทบต่อ
คนจน ต่อสตรี มีผลต่อชนพื้นเมือง ชนเผ่าของเราเป็นอย่างมาก
คำสอนของพระศาสนจักร
ในพันธสัญญาเดิมถือว่าความร่ำรวยเป็นพระพรจากพระเจ้า แต่อย่างไรก็ดีก็มีคำสอนให้หยุดพักจากการสะสมทรัพย์สมบัติ ให้มีการตอบแทนที่ยุติธรรม มีการยกหนี้สินในปีสับบาโต
ประกาศกอาโมสสอนให้ปกป้องคนยากจน ให้มีความยุติธรรม
คำสอนของพระเยซูเจ้าเน้นคนยากจน
เราไม่สามารถรับใช้พระเจ้าและเงินทองพร้อมกัน (ลก 16: 13 ; มธ 6: 24) ความร่ำรวยเป็นโอกาสช่วยเหลือคนอื่น ช่วยเหลือกันและกัน สร้างความสัมพันธ์ สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง (กจ 4: 34-35)
ความรักเงินตราเป็นรากเหง้าของความชั่วร้ายทุกประการ (1 ทธ 6: 10) โลภมากมักก่อให้เกิดความรุนแรง เพราะเกิดการแข่งขันกัน ซึ่งเป็นหลักเศรษฐกิจทั่วไป
แนวทางของเรา พระศาสนจักรพยายามสอนและดำเนินการเพื่อการร่วมมือแบ่งปัน ช่วยเหลือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
-มีชีวิตเศรษฐกิจแบบช่วยเหลือ มีส่วนร่วม ให้โอกาส -เศรษฐกิจแบบดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน -เศรษฐกิจที่เน้นสิทธิประโยชน์ของคนจน และชนพื้นเมือง
ผมกำลังอยู่กับพวกเขาในการประชุมที่ศูนย์มิสซังเชียงใหม่ แต่เขียนรายงานให้ท่านทราบขบวนการคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ที่กำลังเกิดขึ้น
พี่น้องชนเผ่ามิใช่เป้าหมายของการประกาศข่าวดี แต่เป็นผู้ประกาศข่าวดี
|