มีการรายงานข่าวในเว็ปไซต์ ส่งต่อๆกันมากกว่า 230 คน ว่า “เอาจริง!...สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งฟิลิปปินส์ นำโดยพระสังฆราช  เลโอนาร์โด  เมโดรโซ่ นักกฎหมายของพระศาสนจักรออกโรงเรียกร้องให้สงฆ์คาทอลิกในประเทศทุกองค์  “สวมเสื้อเคลอยีร์ให้ถูกต้องตาม ระเบียบ เวลาออกไปทำธุระในที่สาธารณะ” โดยย้ำการใส่เสื้อเคลอยี่ร์ไปเดินตามที่สาธารณะ  อาทิ  ห้างสรรพสินค้า  ไม่ใช่เรื่องต้องอับอาย  เพราะนี่คือการแสดงออกถึงการเป็นสงฆ์คาทอลิกที่พร้อมรับใช้ทุกสถานการณ์”
http://www.ucanews.com /2011/09/09/Bishop-to-enforce-public-dress-code/

        พระสังฆราช เลโอนาร์โด เมโดรโซ่ ยังกล่าวอีกว่า ชุดของพระศาสนจักรมิใช่เป็นเครื่องหมายภายนอกของสงฆ์เท่านั้น แต่  เป็นตัวชี้วัดประการหนึ่งของชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณ  และชีวิตสงฆ์ของบุคคลนั้น

        สงฆ์บางองค์เปลี่ยนชุดสงฆ์  เป็นชุดธรรมดา เวลาไปสถานที่สาธารณะ ไม่ได้หมายความว่า  พระสงฆ์องค์นั้นอายชุดเอกลักษณ์ฐานะพระสงฆ์คาทอลิก หรือ มิได้หมายความว่า พระสงฆ์มีความรู้สึกด้อยเวลาใส่ชุดพระสงฆ์เพียงแต่ไม่ชอบให้ประชาชนสนใจเขา  เพราะชุดพระสงฆ์ หรือให้สิทธิพิเศษ  หรือ ดูถูกเหยียดหยาม  หรือมองด้วยสายตาแปลกๆพระสงฆ์ชอบอยู่ธรรมดา อิสระ  และไม่ต้องการให้ใครมารบกวน

        จุดประสงค์ของการใส่ชุดสงฆ์ ตามทัศนะของพระสังฆราชองค์นี้ คือ เพื่อรับใช้ด้วยการเป็นประจักษ์พยาน ว่า  บุคคลที่สวมชุดนี้เป็นศาสนบริกรสงฆ์เพราะฉะนั้น พระศาสนจักรจึงยืนยันให้บรรดาสงฆ์ สวมชุดตามที่พระศาสนจักรกำหนด ชีวิต(สงฆ์)  ความประพฤติ ชีวิตภาวนาการแต่งกาย  การพูดจา  ทั้งหมดของพวกเขาต้องสื่อสาร และแสดงออกว่าเป็นพระสงฆ

        สำหรับ เครื่องแบบพระสงฆ์  ในประเทศไทย สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้ออกข้อกำห นด เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม  1992 กฤษฎีกา 3 ว่า

        “บรรดาสมณะต้องสวมเครื่องแบบของพระศาสน  จักรที่  เหมาะสมตามข้อกำหนดที่สภาพระสังฆราชเป็นผู้ ออก และตามขนบประเพณีท้องถิ่นที่ชอบด้วยกฎหมาย”  (CICม.284)

        เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 284  สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยประกาศ ว่า  บรรดาสมณะต้องสวมเครื่องแบบแบบใดแบบหนึ่งดังต่อไปนี้โดยไม่ตัดสิทธิ์ที่กล่าวไว้ในมาตรา 288
1)เสื้อหล่อ
2)ชุดเคลอจีแมน (Clergyman)
3)ชุดที่สุภาพ  สีเรียบๆ  และมีเครื่องหมายกางเขนชัดเจนที่กำหนด  และออกแบบ โดยสภาพระสังฆราชฯ  ติดที่อกเสื้อ

         *เนื่องจากเครื่องหมายกางเขนที่กำหนดและออกแบบโดยสภาพระสังฆราชฯยังไม่พร้อม จึงให้ใช้เครื่องหมายกางเขนที่ใช้ในปัจจุบันต่อ ไปอีกระยะหนึ่ง

         พ่อขอบใจที่สัตบุรุษหลายคน  “หวงแหนสงฆ์ของพระคริสต์ และช่วยภาวนาเพื่อให้สงฆ์ของพระคริสต์ทุกองค์พ้นจากการถูกประจญใน รูปแบบต่างๆของโลกสมัยใหม่”

                                                                                                                   (พระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภร ณ์รัตน์)

Home