วันสตรีสากล (International Women’s  Day)  ตรงกับวันที่  8 มีนาคม  ของทุกปี  ประวัติความเป็นมาเกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า  รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พากันประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าแรงและเรียกร้องสิทธิ  แต่สุดท้ายกลับมี  119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้  เพราะมีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่ชุมนุม  เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857  (พ.ศ. 2400)

จากนั้นใน  ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450)  กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวต่อการเอารัดเอาเปรียบ  กดขี่  ทารุณของนายจ้างที่ให้ทำงานหนักวันละ 16-17 ชั่วโมง  โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วย  ล้มตายตามมาในระยะเวลารวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงน้อย  และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

คลาร่า เซทคิน ชาวเยอรมันได้ปลุกระดมกรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานวันที่  8 มีนาคม  ค.ศ. 1907 เรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ  8 ชั่วโมง อีกทั้งปรับปรุงสวัสดิการ และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ปฏิบัติตามพันธสัญ ญาต่อเวทีโลก ที่ให้ความสำคัญกับบทบาทและสถานภาพสตรี  ทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย มาตรการ และกิจกรรมต่างๆ  ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย คือ  เจตนารมณ์ให้มีความเป็นธรรมเก ิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชาย ให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้การควบคุมทรัพยากร เพื่อให้หลุดจากการกีดกันต่างๆ  ให้สตรีมีโอกาสได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน

ความสำคัญ วันสตรีสากลมิเพียงแค่การเฉลิมฉลองเหมือนงานประเพณีที่ทำกันทุกปี หากจะเป็นกา รตระหนักร่วมและให้คุณค่าของสตรี  ให้ได้รับการปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัย  จากความรุนแรง และยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ผู้ใช้แรงงานต้องได้รับการดูแลในด้านสวัสดิการ สุขภาพ ความ ปลอดภัยในการทำงาน  รวมทั้งผู้หญิงต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม  ในฐานะที่ผู้หญิงก็เป็นสมาชิกหนึ่งในสังคม
(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ได้ออกสมณลิขิตเรื่องศักดิ์ศรีและกระแสเรียกของสตร ี  ในโอกาสปีแม่พระ (15 สิงหาคม ค.ศ. 1988) ข้อ 1  กล่าวว่า  “ในคริสตศาสนา... มีการยกย่องศักดิ์ศรีสตรีมาโดยตลอดตั้งแต่ปฐ มกาล ซึ่งจะเห็นได้ในพระธรรมใหม่ อันแสดงชัดว่ามีความหมายให้สตรีประกอบเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างที่มีชีวิต และดำเนินงานไปในศาส นาคริสต์นี้” และในสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ให้พระธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ (GS) และเรื่องฆราวาสแพร่ธรรม  (AA)

สหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเชีย (FABC) ได้จัดการประชุม ครั้งที่ 6 (10-19 มกราคม ค.ศ. 1995)  ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ มีกล่าวถึง สตรีและบทบาทของพระศาสนจักรในฐาระผู้รับใช้ชีวิต มีข้อเสนอแนะว่า  “ความรักคริสตชนต่อผู้อื่น และความยุติธรรมแ ยกออกจากกันไม่ได้  เพราะความรักเรียกร้องความยุติธรรมอย่างแท้จริง คือการยอมรับศักดิ์ศรีและสิทธิของผู้อื่น  ความยุติธรรมบรรลุถึงความ สมบูรณ์ภายในความรักเท่านั้น” นี่เป็นหลักที่ต้องใช้ในกิจกรรมที่จัดสนับสนุนสตรี (หน้า 137)

ในสมณสาส์นชื่อ ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร (Evangelii Gaudium) สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสเกี่ยวกับบทบาทของฆราวาสและสตรี  ดังต่อไปนี้

       ข้อ 102.  บรรดาฆราวาสเป็นประชากรส่วนใหญ่ของพระเจ้า  แต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รั บศีลบวชเป็นศาสนบริกร การตระหนักถึงเอกลักษณ์และพันธกิจของฆราวาสในพระศาสนจักรมีเพิ่มมากขึ้น  เรามีฆราวาสจำนวนมาก แม้จะยังไม่เพียงพอ พวกเขามีความเข้าใจถึงความเป็นหมู่คณะที่หยั่งร ากลึก  และซื่อสัตย์ต่อพันธกิจแห่งเมตตาธรรม การสอนคำสอน  การเฉลิมฉลองความเชื่อ แต่การตระหนักถึงความรับผิดชอบของฆราวาส ซึ่งเกิดจากศีลล้างบาปและศีลกำลัง ยังมิได้แสดงออกในลักษณะเ ดียวกันสำหรับทุกคน ทั้งนี้เพราะในบางกรณีพวกเขามิได้รับการอบรมเพื่อรับหน้าที่อันสำคัญนี้ และในอีกหลายกรณีพวกเขาไม่มีพื้นที่ในพระศาสนจักรท้องถิ่น เพื่อแสดงออกหรือกระทำพันธกิจได้  สาเหตุ มาจากอำนาจของพระสงฆ์ที่มีมากเกินไปจนทำให้พวกเขาอยู่ชายขอบของการตัดสินใจ  แม้ฆราวาสจำนวนมากได้มีส่วนร่วมแต่การมีส่วนร่วมนี้มิได้สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของคริสตชนที่ดำรงชีวิตอยู่ในโลก  สังคม  การเมือง  และเศรษฐกิจ กิจการของเขามักถูกจำกัดอยู่เฉพาะงานภายในของพระศาสนจักร  ซึ่งปราศจากนำพระวรสารไปปฏิบัติอย่างแท้จริง  เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม  ดังนั้น การอบรมบรรดาฆรา วาส  และการประกาศพระวรสารแก่กลุ่มวิชาชีพและปัญญาชน จึงเป็นข้อท้าทายงานอภิบาลที่สำคัญ

       ข้อ 103. พระศาสนจักรตระหนักถึงสิ่งที่บรรดาสตรีจะนำมาให้แก่สังคม  จากความรู้สึกอ่อนไหว  สัญชาตญาณ  และความสามารถพิเศษซึ่งโดยทั่วไปเป็นลักษณะของสตรีมากกว่าบุรุษ  ตัวอย่างเช่น  ความใส่ใจของสตรีที่มีต่อผู้อื่นเป็นพิเศษ ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะการเป็นมารดา  ข้าพเจ้ายินดีที่ได้เห็นสิ่งนี้ในบรรดาสตรีจำนวนมาก ท ี่แบ่งปันความรับผิดชอบงานอภิบาลร่วมกับบรรดาพระสงฆ์ ให้ความร่วมมือในการเป็นเพื่อนร่วมทางกับบุคคล ครอบครัว หรือกลุ่มต่างๆ แ ละให้ความคิดใหม่ๆ แก่การไตร่ตรองทางเทววิทยา  อย่างไรก็ตาม  จำเป็นต้องขยายพื้นที่เพื่อให้สตรีมีบทบาทมากขึ้นในพระศาสนจักร  เพราะ “อัจฉริยภาพของสตรีเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อแสดงออกในชีวิตทางสังคมทุกประการ การปรากฏของสตรีในหน่วยงานต่างๆ ต้องได้รับการรับรอง” (CSDC ข้อ 295) และในสถานที่ต่างๆ ที่ต้องมีการตัดสินใจสำคัญ  รวมทั้งในพระศาสนจักร  และในโครงสร้างทางสังคมด้วย

และพระองค์ตรัสเกี่ยวกับการค้ามนุษย์  ดังนี้
       ข้อ 211. สถานการณ์ของบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย ์  ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกเศร้าเสียใจ  ข้าพเจ้าปรารถนาให้เราฟังเสียงของพระเจ้าที่ทรงถามเราทุกคนว่า “พี่น้องของเจ้าอยู่ที่ไหน” (ปฐก 4:9) พี่น้องของเจ้าที่ตกเป็นทาสอยู่ที่ไหน คนที่เจ้ากำลังจะฆ่าอยู่ทุกวันใ นโรงงานนรก ในเครือข่ายโสเภณี  ในบรรดาเด็กๆ ซึ่งเจ้าใช้เป็นขอทานอยู่ที่ไหนกัน  ในผู้คนที่ต้องทำงานหลบๆ ซ่อนๆ เพราะมิได้มีสิทธิตาม กฎหมาย อย่าทำเป็นเหมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น มีการสมรู้ร่วมคิดอยู่มากมาย  ปัญหานี้เป็นเรื่องของทุกคน  อาชญากรรมที่น่ากลัวฝังรากลึก อยู่ในเมืองต่างๆ และมีผู้คนจำนวนมากที่มือเปื้อนเลือด  เพราะสมรู้ร่วมคิดกันอย่างสะดวกสบายและไม่มีใครล่วงรู้

       ข้อ 212. ผู้ที่ยากจนเป็นสองเท่า ได้แก่สตรีที่ต้องทุกข์ทรมานจากสถานการณ์ที่ถูกทอดทิ้ง ถูกทารุณ และถูกทำร้ายด้วยความรุนแรง เพราะบ่อยครั้งพวกเธอมีโอกาสน้อยมากที่จะปกป้องสิทธิของตนเอง อย่างไรก็ตาม เรามักพบท่าทีที่น่ายกย่องขั้นวีรกรรมประจำวัน ในการปกป้องและการเยียวยาความอ่อนแอในครอบครัวของพวกเธอ

Home