ในพิธีมิสซาของชาวคาทอลิก บาทหลวงผู้ประกอบพิธีกล่าวชื่อสมเด็จพระสันตะปาปา และบิชอปประมุขท้องถิ่นเสมอ เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ลึกซึ้งทางจิตวิญญาณ
ลักษณะสำคัญประการหนึ่ง ของการภาวนาบทขอบพระคุณ(บทเสกศีลมหาสนิท)ในมิสซาจารีตโรมัน ที่อ้างชื่อสมเด็จพระสันตะปาปา และบิชอปประมุขท้องถิ่น เป็นเครื่องหมายถึงเอกภาพ
คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก
อธิบายเหตุผลที่บาทหลวง จะอ้างชื่อของสมเด็จพระสันตะปาปา และบิชอปท้องถิ่นปัจจุบัน ในบทขอบพระคุณดังนี้ พระศาสนจักรทั้งหมดร่วมการถวายบูชาและการอธิษฐานวอนขอของพระคริสตเจ้า
สมเด็จพระสันตะปาปาซึ่งปฏิบัติศาสนบริการของนักบุญเปโตรในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในการประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณทุกครั้ง พระองค์ทรงได้รับการออกพระนามในการถวายบูชาขอบพระคุณทุกครั้ง เป็นเครื่องหมายแสดงเอกภาพของพระศาสนจักรสากล พระสังฆราชประมุขท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบพิธีบูชาขอบพระคุณเสมอ แม้เมื่อพระสงฆ์เป็นประธานในพิธีนี้ด้วย มีการออกนามของพระสังฆราชในพิธีนี้เพื่อแสดงว่าพระสังฆราชเป็นประมุขของพระศาสนจักรท้องถิ่นแต่ละแห่ง อยู่ในหมู่ของคณะสงฆ์และบรรดาสังฆานุกรซึ่งเป็นผู้ช่วย ชุมชนยังอธิษฐานภาวนาวอนขอสำหรับศาสนบริกรทุกคนที่ถวายบูชาขอบพระคุณสำหรับชุมชนและพร้อมกับชุมชนนั้น (CCC1369)
บิชอปเป็นผู้แทนของสมเด็จพระสันตะปาปา ดังนั้นจึงมีเหตุผลที่บรรดาบาทหลวงภาวนาให้บิชอป เพราะเขาเป็นผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์เอกภาพของสังฆมณฑล
นอกจากนี้
การกล่าวชื่อของสมเด็จพระสันตะปาปาและบิชอป บาทหลวงนั้นแสดงออกถึงเอกภาพ ซึ่งบ่อยเราไม่ได้สนใจ หรือมองข้ามไป ทั้งๆที่มีประวัติที่มีความหมายดี
ระหว่างพิธีมิสซา
บาทหลวง บิชิ้นเล็กๆ ของศีลมหาสนิท และใส่ในถ้วยกาลิส เป็นพิธีเงียบๆ มีกำเนิดมาจากพระศาสนจักรสมัยแรกเริ่ม ซึ่งมีความหมายถึง เอกภาพกับสมเด็จพระสันตะปาปา และบิชอปประมุขท้องถิ่น
การร่วมพิธีมิสซาแบบเดียวกัน ก็เป็นเครื่องหมายและข้อผูกมัดความสนิทสัมพันธ์ในพระศาสนจักร
สมเด็จพระสันตะปาปา และบรรดาบิชอป ส่งศีลมหาสนิทให้บรรดาบิชอป หรือบรรดาบาทหลวง จุ่มในถ้วยกาลิสและรับเข้าไป ...ก็เป็นสัญลักษณ์ถึงความสนิทสัมพันธ์กับประมุขของพระศาสนจักร และเป็นเครื่องหมายว่าพวกเขาได้รับอำนาจให้ประกอบพิธี
เอกภาพ เป็นเครื่องหมายหนึ่งของพระศาสนจักร และอากัปกิริยาเล็กๆเหล่านี้ ช่วยเตือนใจบาทหลวงว่า เขาเป็นหนึ่งในพระกายพระคริสตเจ้า (พระศาสนจักร) ที่สากลมากกว่า
ฟ.วีระ อาภรณ์รัตน์
แปลจาก Aleteia 9 กรกฎาคม 2024
บทความของ Philip Kosloski
|