มีสัตบุรุษถามผมว่า พระศาสนจักรไทยเตรียมอะไรสำหรับความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทำให้ผมต้องหาความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และเชิญ ดร. สุนทร วงศ์จอมพร มาแบ่งปันมุมมองของนักสังคมพัฒนาต่อเรื่องนี้แก่บรรดาพระสงฆ์สังฆมณฑลเชียงใหม่ ในการประชุมต้นเดือนกรกฎาคม

ประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY) มีสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า มีประชากรราว 590 ล้านคน มีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงในภูมิภาค ได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2551 จะทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น ได้เริ่มประกาศเขตการค้าเสรีอาเซียน เมื่อต้นปี พ.ศ.2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558

มีวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 กำหนดเป้าหมาย(สวยๆ)ว่า
ภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ.2563) อาเซียนจะเป็น
1. วงสมานฉันท์แห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
2. หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต
3. มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก
4. ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร

ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน จะทำให้ประเท ศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบการค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ และการขจัดอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หมายถึง การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี มีความสามารถในการแข่งขันสูง
มีโครงการเชื่อมถนนเส้นทางหลวง เส้นทางรถไฟ ให้มีมาตรฐานส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
3. ประชาคมสังคม- วัฒนธรรมอาเซียน จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมที่เอื้ออาทร ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาสังคม ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาส พัฒนาการศึกษาระดับพื้นฐาน ความร่วมมือด้านสาธารณสุข การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

รัฐบาลไทยได้ประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะส่งผลกระทบในด้านบวก และด้านลบ ต่อเราอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เราจึงต้องพยายามทำความเข้าใจ สร้างกลไกในการเยียวยา สร้างภูมิคุ้มกันให้กับสมาชิกในชุมชน ให้มีความพร้อมในการรับมือกับกระแสการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

อาจารย์เสรี พงศ์พิศ ได้เขียนบทความ “จะอยู่ให้รอดหรือจะเอาให้รวย ปรับฐานราก เปลี่ยนฐานคิด” ในนสพ.สยามรัฐ(18 ก.ค. 2555) หน้ า 6 กล่าวว่า “คนส่วนใหญ่มักตั้งคำถามว่าทำอย่างไรจึงจะรวย แทนที่จะถามว่า ทำอย่างไรจึงจะรอด... ถามกันผิดๆแบบนี้ถึงไม่รวยสักที แม้วั นนี้เป็นหนี้สินกันมากมาย ก็ยังคิดจะรวยเหมือนเดิม... เชื่อประชานิยม ยึดประชานิยม ชาติจะล่มจมเหมือนหลายประเทศในโลก วันนี้ที่เราเลียนแบบโดยไม่ยอมเรียนรู้อีกด้านที่เป็นความหายนะ” ผมเห็นด้วยครับ

Home