โอกาสครบ 50 ปี ที่สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 และคณะ ได้เข้าเฝ้าพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) ที่นครรัฐวาติกัน
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ จากวัดพระเชตุพน (เถรวาท) เจ้าอาวาสวัดเล่งเน่ยยี่ (มหายาน) พระภิกษุ 40 รูป และฆราวาสผู้ติดตามจำนวน 65 ท่าน รวม 105 ท่าน ได้เข้าเฝ้าพระสันตะปาปาฟรังซิส วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2022 ณ
ห้องโถงเคลเมนต์ ในวังวาติกัน เวลา 12.00 น.
พระคาร์ดินัลมิเกล อังเกิล อายูโซ กวีโซต์ ประธานสมณสภาเพื่อการเสวนาระหว่างศาสนา ได้เกริ่นนำ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์กล่าว
และพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงกล่าวต่อบรรดาชาวพุทธจากประเทศไทย มีความบางตอน ดังนี้
โอกาสนี้ ข้าพเจ้าขอรื้อฟื้นความรู้สึกของพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 เมื่อพระองค์ได้พบผู้แทนชาวไทย 50 ปีที่แล้ว เรามีสมบัติด้านชีวิตจิต ศีลธรรม
และสังคม-วัฒนธรรม ที่ได้รับสืบทอดประเพณี มีคุณค่าของท่าน เราตระหนักคุณค่าที่ท่านเป็นผู้รักษา เราขอร่วมรักษาและส่งเสริม เราหวังว่าการเสวนาฉันมิตร และความร่วมมือใกล้ชิดระหว่างประเพณีที่ท่านยึดถือ และพระศาสนจักรคาทอลิกจะมีเพิ่มขึ้น
เราเห็นความเติบโตเป็นขั้นตอน และมั่นคงด้านการเสวนาฉันมิตร และความร่วมมือใกล้ชิดของเรา เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2018 ที่ผู้แทนไทยได้มามอบคำแปลพระมาลัย จากภาษาบาลี ที่เก็บรักษาไว้ในห้องสมุดวาติกัน
ข้าพเจ้าระลึกถึงการเยี่ยมประเทศไทย วันที่ 20-23 พฤศจิกายน 2019 การต้อนรับที่อบอุ่น การเสวนาฉันมิตรของสมาชิกแผนกศาสนสัมพันธ์...
พระพุทธเจ้า และพระเยซูเจ้า ได้เข้าใจว่า เราต้องชนะอัตตา (ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว)
ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง และความรุนแรง พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ ทำดี หนีชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว พระเยซูเจ้าได้ทรงสอนบรรดาศิษย์ ให้รักกัน เหมือนที่พระองค์ทรงรักเรา (ยน 13:34) เราทุกคนเป็นพี่น้องกัน เราควรทำงานร่วมกัน
เพาะปลูกเมตตาธรรม และการต้อนรับทุกคน เป็นพิเศษ คนจนและคนชายขอบ...
คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี จากไทยเบฟ และคณะได้ถวายของที่ระลึกแด่พระสันตะปาปา และทุกคนได้สัมผัสพระหัตถ์ของพระองค์ และได้รับพวกกุญแจที่ระลึก
บ่ายสามโมง
เป็นการสัมมนาทางวิชาการ มิตรภาพระหว่างศาสนา (พุทธ-คริสต์คาทอลิก) เรื่อง การเป็นกัลยาณมิตร ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยอูรบาเนียนา
มีการแบ่งปันความหมายของ กัลยาณมิตร ทั้งของพุทธ ปรัชญาคริสต์ กิจการต่างๆ
ของแผนกศาสนสัมพันธ์ในอิตาลี ชาวพุทธญี่ปุ่น (ริชโช โกไซไก) ที่มีผู้รับผิดชอบในอิตาลี ความสัมพันธ์ของคณะโฟโคลาเร และกลุ่มเอยิดีโอ
วีดิทัศน์ ภาพรวมการพัฒนาและการเดินทางแห่งความสัมพันธ์ โดยคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ซึ่งดีมาก
มงซินญอร์ ดร. อินดูนิล กล่าวสรุป และเชิญผู้ร่วมสัมมนาทุกคนรับประทานอาหารด้วยกัน
กัลยาณมิตร เป็นผู้มีเมตตา กรุณา คิดดี พูดดี ทำดี ร่วมมือกันในการเสวนาฉันมิตร ช่วยเหลือและสร้างสันติสุขในสังคม
ฟ. วีระ อาภรณ์รัตน์
|