บ่ายวันที่ 26 เดือนเมษายนที่ผ่านมา
ผมมีโอกาสพานักศึกษาครูคำสอนรุ่นที่ 25 (ปี 3) จำนวน 54 คนของศูนย์อบรมคำสอนระดับชาติ ไปดูงานจิตตาภิบาลที่โรงเรียนนักบุญเปโตร อ.สามพราน ได้สัมผัสกับความร่วมมือและการต้อนรับจากทีมจิตตาภิบาล
คือ คุณพ่อคมสันต์ ยันต์เจริญ คุณพ่อบุญชรัสมิ์ สุขสว่าง คุณครูกมลา สุริยะพงศ์ประไพ และทีมงาน
โครงการหนึ่งที่ประทับใจมากคือ
คำสอนเด็กวันอาทิตย์ สำหรับนักเรียนคาทอลิกที่เรียนโรงเรียนรัฐบาล หรือโรงเรียนเอกชนอื่นในละแวกใกล้เคียงวัด
1.คุณพ่อสำรวย กิจสำเร็จ เจ้าอาวาส และครูคำสอนได้ออก
ไปเยี่ยมเยียนเด็กที่เรียนโรงเรียนรัฐบาล และเชิญชวนเด็กๆ ให้มาเรียนคำสอนในวันอาทิตย์เริ่มตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 มีเด็กประมาณ 20-25 คน
2.คุณพ่อเจ้าวัดเห็นความเอาใจใส่ของผู้ปกครองที่สนับสนุน ลูกๆ
มาเรียนคำสอน เห็นความตั้งใจและความสม่ำเสมอในการมา เรียนของเด็กๆ จึงให้เด็กเหล่านี้ 19 คน กลับมาเรียนที่โรงเรียนนักบุญ เปโตร ปีการศึกษา 2554 เด็ก 10 คน ได้รับทุนการศึกษา และมีนัก เรียนคำสอนจำนวน 40 คน
3.กิจกรรมการเรียนคำสอน เริ่ม 08.30 น. สวดภาวนา และ
อ่านพระคัมภีร์ร่วมกัน จากนั้นคุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ให้การอบรม 09.30 น. เข้าร่วมมิสซา ซึ่งทางวัดกำหนดที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก
เยาวชน หลังมิสซามีกิจกรรมนันทนาการ แยกกลุ่มเรียนคำสอนตามวัย และรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนค่าอาหาร จากสัตบุรุษผู้มีจิตศรัทธาตลอดมา
4.พัฒนาการของเด็ก
ในระหว่างการสอนคำสอนวันอาทิตย์ เริ่มต้นด้วยการภาวนาเช้าและการแบ่งปันพระวาจา ซึ่งยึดพระวรสารประจำว
ันอาทิตย์ คุณครูได้นำกลุ่มเด็กแบ่งปันพระวาจาให้นักศึกษาครู คำสอนด้วย นอกจากนี้บางคนเป็นเด็กช่วยมิสซา เป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ ช่วย เก็บถุงทานระหว่างมิสซา
คู่มือแนะแนวการสอนคำสอนในประเทศไทย (ค.ศ. 2010) ข้อ 54 กล่าวถึงการสอนคริสต ศาสนธรรมนอกระบบโรงเรียน จากสภาพ สัง
คมไทยที่อยู่ร่วมกันกับพี่น้องต่างความเชื่อ และจำนวนคาทอลิกในประเทศยังมีจำนวนน้อย เด็กๆ คาทอลิกจำนวนมากยังคงเรียนอยู่ใน โรงเรีย
นของรัฐและโรงเรียนเอกชนตามสถานที่ตั้งของครอบครัว โอ กาสในการเรียนคริสตศาสนธรรมในระบบโรงเรียนจึงไม่เกิดขึ้น เพื่อ ช่วยเหลือ
และรักษาความเชื่อของพวกเขาให้พัฒนาเติบโตขึ้น จึงจำ เป็นต้องจัดการสอนคริสตศาสนธรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น (1) การจัดค่ายคำสอน ค่ายพระคัมภีร์ (2) การสอนคริสตศาสนธรรมในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดใน โอกาสต่างๆ (3) การเรียนคำสอน - พระคัมภีร์ทางไปรษณีย์ (4) การเรียนคริสตศาสนธรรมทางไกลโดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่นสิ่งพิมพ์
วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเลคโทรนิค ฯลฯ
ลักษณะเฉพาะของงานคำสอน คือ ชุมชนแห่งความเชื่อ เรา
จะต้องก้าวให้ไกลกว่าการสอนคำสอนในระบบโรงเรียน โดยพัฒนาไปสู่การสอนคำสอนแบบชุมชนแห่งความเชื่อที่อยู่ในวิถีชีวิตแบบไทย (ข้อ 93)
ประเทศไทยมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา และเรายังมีโรง เรียนคาทอลิก
ที่จิตตาภิบาลสามารถจัดการสอนคำสอนแก่เด็กคาทอลิก แต่สภาพจริง เช่นในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เราไม่มีโรงเรียน คาทอลิก หรือเด็กหลายคนในจังหวัดอื่นๆ มิได้เรียนในโรงเรียนคาทอ
ลิก การจะรอ เรียนคำสอนเฉพาะในภาคฤดูร้อน คงไม่เพียงพอและ ไม่ทั่วถึง การจัดสอนคำสอนวันอาทิตย์ จึงเป็นวิธีการอภิบาลง่ายๆ
แต่ขอให้มีพระสงฆ์ นักบวช ครูคำสอน และอาสาสมัคร ที่เอาใจ ใส่และเสียสละจึงจะเกิดได้
|