CAN  26 มีนาคม 2019 โดย Hannah Brockhaus

โป๊ปฟรังซิสได้ปรับปรุงกฎหมายพระศาสนจักร  เพื่อให้มีกระบวนการใหม่สำหรับถอดถอนนักพรตที่ออกจากหมู่คณะ

อธิการนักบวชสามารถประกาศถอดถอนสมาชิก ถ้าเขาไม่อยู่ในหมู่คณะอย่างไม่ถูกต้อง  มากกว่า 1 ปี และไม่สามารถติดต่อให้มาอยู่ต่อได้

ชีวิตหมู่คณะเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับชีวิตนักพรต ตามกฎหมายพระศานจักร  มาตรา 665 วรรค 1 “นักพรตต้องดำเนินชีวิตรวมในบ้านนักพรตของตน และต้องไม่จากบ้านไป เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิการของตน อย่างไรก็ตามหากเป็นเรื่องของการจากบ้านเป็นเวลานาน เมื่อมีเหตุผลอันสมควร อธิการชั้นผู้ใหญ่พร้อมด้วยความยินยอมของคณะที่ปรึกษา อาจอนุญาตให้สมาชิกดำเนินชีวิตอยู่นอกบ้านของสถาบันได้ แต่ไม่นานเกินกว่าหนึ่งปี เว้นแต่จะมีเหตุผลในเรื่องการดูแลสุขภาพที่อ่อนแอ หรือเรื่องการศึกษา หรือการปฏิบัติงานแพร่ธรรมในนามของสถาบัน”

ถ้านักพรตออกไปจากหมู่คณะ ถ้ามี 2  เหตุผลคือ
1.ผิดความเชื่อคาทอลิก
2.ไปทำพิธีแต่งงาน  หรือพยายามทำพิธีแต่งงาน แม้แต่ทำตามกฎหมายบ้านเมือง

การประกาศถอดถอนนี้ สันตะสำนักยืนยัน หรือยืนยันโดยพระสังฆราชท้องถิ่น  ขบวนการเดินเรื่อง อธิการคณะอาจเริ่มขบวนการหลังจากสมาชิกนั้นไม่อยู่ในบ้าน อย่างน้อย  6 เดือน

กฎนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน ค.ศ.2019 สังฆราชของสังฆมณฑลสามารถขอสมณกระทรวงเพื่อพระสงฆ์ให้ถอดฐานะสมณะเป็นฆราวาส กล่าวคือเพื่อพระสงฆ์ทีละะทิ้งหน้าที่ และไม่อยู่ เป็นเวลา 5 ปีก่อนเริ่มดำเนินการใด

โป๊ปได้อธิบายการเปลี่ยนเรื่องนี้สำหรับนักพรต “เพื่อช่วยสถาบันนั้นให้ปฏิบัติตามระเบียนที่จำเป็น  และสามารถดำเนินการถอดถอนนักพรตที่ไม่อยู่แบบไม่ถูกต้อง เป็นพิเศษในกรณีไม่สามารถตามหาตัวได้

โดยอธิการได้พยายามให้กำลังใจเขาให้กลับเข้ามาอยู่ในหมู่คณะแล้ว  เพื่อรักษากระแสเรียก  ก่อนการดำเนินการถอดถอน

อัครสังฆราชโฮเซ่ โรดริเกซ คาร์บัลโล  เลขาของสมณกระทรวงเพื่อสถานบันชีวิตผู้รับเจิมฯ ยืนยันว่า  “อธิการมีหน้าที่  ปกป้องความดีส่วนรวมของชีวิตนักบวช..รักสมาชิกทุกคน.. ข้อเท็จจริงมีบางคนที่ตามหาตัวไม่เจอ  ติดต่อไม่ได้เพื่อสืบสวน และมิใช่เพื่อเร่งรีบบิดคดี”

ฟ.วีระ อาภรณ์รัตน์  สรุป