(สำนักข่าว America the Jesuit Review, 22 ตุลาคม ค.ศ. 2018 โดย Filipe Domingues)

ประเทศเวเนซูเอลาประสบวิกฤตเศรษฐกิจ เพราะนโยบายประชาน ิยม  ของอดีตประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ (ค.ศ.1998 -2012)  สร้างบ้านให้ประชาชน ลดราคาสินค้าต่ำกว่าทุน ลดค่าไฟฟ้า ลดราคาน้ำมัน      และสนับสนุนให้ประชาชนเลิกทำเกษตรกรรม  ชาวเวเนซูเอลาอพยพจำนวนมากขึ้นออกจากประเทศ  และต้องการความคุ้มครองจากนานาชาติ ให้มีพักพิง ในประเทศเพื่อนบ้านอเมริกาใต้ บางคนหนีไปประเทศบราซิล แต่ประสบคนรังเกลียด (Xenophobia)

ทุกวันชาวเวเนซูเอลา 5,000 คน อพยพออกนอกประเทศ ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 อย่างน้อย 1.9 ล้านคน หนีวิกฤติเศรษฐกิจและการเมือง ภายใต้ประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร่ ชาเวเนซูเอลาอื่นๆ ไปพึ่งประเทศโคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู

ผู้อพยพส่วนใหญ่เป็นเยาวชน สตรี และเด็กที่ต้องการไปรวมกับครอบครัวในต่างแดน สถานการณ์ของชาวเวเนซูเอลาต้องการความใส่ใจพิเศษ พวกเขาต้องการมีชีวิตรอดในประเทศอื่น เขาต้องการความปลอดภัย ต้องการอาหาร ยา และการดูแลสุขภาพ
 
ชาวเวเนซูเอลาไม่ต้องการพักพิงในบราซิล (ซึ่งพูดภาษาโปรตุเกส) พวกเขาพูดภาษาสเปน บ่อยๆ เผชิญคนรังเกลียดและความรุนแรง เป็นพิเศษจากชาวบราซิลในรัฐ โรไรม่า (Roraima)

เพราะวิกฤติเวเนซูเอลา ซิสเตอร์มีเลซี กล่าวว่า ใครๆ ก็ขอให้ชาว บราซิลช่วยผู้อพยพ แต่ว่าชาว  โรไรม่า ก็ยากจนอยู่แล้ว ไม่สามารถต้อนรับ ให้ที่พัก และให้โอกาสทำงานแก่ชาวเวเนซูเอลาได้ รัฐบาลบราซิลก็ช่วยแต่ช้า ชาว โรไรม่า  มีประมาณ 500,000 คน ตอนนี้ชาวเวลาซูเอลาเข้ามาอีก 50,000 คน (10%)

ผู้อพยพมาเช่าบ้าน ซื้ออาหาร เสื้อผ้า ยา รองเท้า ส่งไปให้ญาติพี่น้องในเวเนซูเอลา

พระศาสนจักรคาทอลิกท้องถิ่นช่วยผู้อพยพให้ได้เอกสาร และความคุ้มครองภายใต้กฎหมายบราซิล ช่วยสอนภาษาโปรตุเกสให้ แล ะต่อสู้การค้ามนุษย์ ช่วยหางาน และช่วยรักษาความเชื่อแม้ตกอยู่ในภาวะลำบากตามคำสอนของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส  สอนเราให้ช่วยผู้อพยพ  และผู้ลี้ภัยด้วยหลัก 4 ประการ คือการต้อนรับ การคุ้มครอง  การส่งเสริม และการผสมกลมกลืนเข้ากับสังคม
 
ซ.มิเลซี กล่าวว่า “เราพยายามเข้าใจชาวเวเนซูเอลา  เพื่อช่วยพวกเขาสร้างชีวิตใหม่ในบราซิลอย่างมีประสิทธิผล

พระสังฆราช วีระ อาภรณ์รัตน์ แปลสรุป
27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018
จาก https://www.americamagazine.org/…/venezuelans-flee-crisis-h