ศูนย์อบรมครูคำสอนที่กัสแตลกันดอลโฟ
การประชุมสมัชชาพระสังฆราชครั้งที่ 4 เรื่องการสอนคำสอนในยุคปัจจุบันในเดือนตุลาคม ค.ศ.1977 (พ.ศ.2520) จึงมีพระสมณสาสน์เตือนใจเรื่อง การสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน (Catechesi tradendae - 16 ตุลาคม ค.ศ.1979) โดยสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2
ในข้อที่ 15 เรื่องการสอนคำสอนเป็นหน้าที่อันดับแรก กล่าวตอนหนึ่งว่า
"พระศาสนจักรต้องทุ่มเททรัพยากรที่ดีที่สุด ทั้งในด้านบุคลากร และพลังงานให้แก่การสอนคำสอนโดยไม่สงวนกำลัง ความอุตสาหะ หรือแม้แต่วัตถุปัจจัยในการสอนคำสอน ทั้งนี้เพื่อจัดวางระบบให้ดีขึ้น และจะได้อบรมบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถได้" (CT 15)
ข้อ 71 เรื่องศูนย์อบรมครูคำสอน มีกล่าวว่า "ครูคำสอน แม้ว่าจะไม่ถึงขั้นผู้รับศีลบวชอย่างเป็นทางการ แต่ก็เป็นผู้มีหน้าที่สำคัญมากในพระศาสนจักร สิ่งนี้เรียกร้องให้จัดตั้งศูนย์และสถาบันเพื่อการอบรมขึ้นมา และฝากไว้ในความดูแลเอาใจใส่ของบรรดาพระสังฆราช" (CT 17)
เพราะหลักการดังกล่าว พระศาสนจักรสากลจึงจัดตั้งศูนย์อบรมครูคำสอนที่กัลเตล กันดอลโฟ กรุงโรม และให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรจากประเทศมิสซัง
ประเทศไทยได้ส่งนักบวชและเยาวชนไปที่กรุงโรมตั้งแต่ ค.ศ. 1979 ถึง 2005 ดังนี้ 1. อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 13 คน
2. สังฆมณฑลราชบุรี 7 คน
3. สังฆมณฑลจันทบุรี 5 คน
4. คณะรักกางเขน ท่าแร่ 4 คน
5. คณะพระหฤทัยฯ 3 คน
6. คณะรักกางเขน จันทบุรี 2 คน
7. สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี 2 คน
8. สังฆมณฑลอุดรธานี 2 คน
9. อัครสังฆมณฑลท่าแร่ - หนองแสง 1 คน
10. คณะพระแม่มารี 1 คน
11. คณะพระมหาไถ่ 1 คน
รวม 41 คน
ปัจจุบันบ้านที่กัสเตล กันดอลโฟ เปลี่ยนการอบรมเป็นด้านสังคม ส่วนการอบรมเป็นครูคำสอนย้ายไปที่มหาวิทยาลัยอูร์บานีอานา กรุงโรม
บราเดอร์วิทยา เกษตรรุ่งเรือง (คณะพระมหาไถ่) เป็นรุ่นสุดท้ายได้กล่าวว่า "ผมมีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ดี เพราะที่นั่นได้ฝึกฝนให้ผมเจริญเติบโตทางด้านความรู้ เข้าใจทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิต เกี่ยวกับพระเป็นเจ้าในอีกแง่มุมหนึ่งซึ่งผมเองไม่เคยรู้ หรือบางทีอาจมองข้ามไป ทำให้ผมมองโลกทัศน์กว้างขึ้นกว่าก่อน และที่นั่นทำให้ผมรู้ว่ ยังต้องเรียนรู้อะไรอีกมาก...ขอขอบคุณพระเป็นเจ้า"
ผมหวังว่าศิษย์กัสเตลฯ ทุกคนกำลังสานต่องานที่พระเป็นเจ้ามอบให้ทำ ให้โอกาสและให้เกียรติเรานะครับ
(อุดมสารรายสัปดาห์ ฉบับที่ 34, 21-27 ส.ค.2005)
|