การชดเชยที่นางาซากิ
นางาซากิ (Nagasaki) เป็นชื่อเมืองในประเทศญี่ปุ่น และเป็นคำในภาษาญี่ปุ่นที่มีความหมายว่า ระเบิดปรมาณู และความทุกข์ เรารู้จักชื่อนางาซากิ เพราะในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พันธมิตรนำระเบิดปรมาณูไปทิ้งที่เมืองนี้ วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณแปดหมื่นคน และได้รับบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ในวันนั้นมีรายงานว่าเพราะสาเหตุมีเมฆปกคลุมเหนือเมืองนี้ เหนือโรงงานเหล็กมิตซูบิชิ จึงทำให้นักบินจับเป้าหมายพลาดไปที่อาสนวิหารคาทอลิกอุรุกามิ ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งของนางาซากิ ที่มีพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคาทอลิก
หกวันหลังจากนั้น คือ 15 สิงหาคม ตรงกับวันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ซึ่งเป็นชื่อของอาสนวิหารนั้น สงครามสิ้นสุด ดร.ทากาชิ นากาอิ (1908 - 1951) คณบดีคณะรังสีวิทยา แห่งมหาสิทยาลัยนางาซากิ ผู้ได้กลับใจมาเป็นชาวคริสต์ เป็นผู้หนึ่งที่รอดชีวิตจากการระเบิดครั้งนี้ ได้กล่าวว่า "เราต้องตั้งคำถามว่าทำไม สองเหตุการณ์นี้จึงมาตรงกันพอดี คือ การสิ้นสุดสงครามโลก และการสมโภชแม่พระ เป็นเรื่องบังเอิญ หรือเป็นพระญาณเอื้ออาทรของพระเป็นเจ้า"
โรเบิร์ต แอลสเบิร์ก กล่าวถึงเรื่องนี้ (mystic of Nagasaki) ในหนังสือ นักบุญทั้งหลาย (all Saints 1997) หลังจากเหตุการณ์ระเบิด เขาได้พบศพภรรยาสุดที่รักในบริเวณบ้านซึ่งถูกทำลายด้วย โดยมีสายประคำอยู่บริเวณเถ้ากระดูกมือขวาของเธอ ดร.ทากาชิ นากาอิ รู้สึกประทับใจ เขาได้กล่าวในพิธีมิสซาปลงศพ ไม่กี่วันหลังจากการระเบิดครั้งนั้นว่ามีผลต่อการดำเนินชีวิต ต่อวัฒนธรรม แม้จะโหดร้าย แต่ก็มีความหมาย
เขากล่าวว่า
"เราไม่เชื่อฟังกฎแห่งความรัก เราได้เกลียดกันอย่างน่าชื่นตาบาน เราประหารกันอย่างร่าเริงยินดี และบัดนี้ ในที่สุด เราทำให้สงครามโลกชั่วร้าย สิ้นสุดลง แต่เพื่อฟื้นฟูสันติภาพสู่โลกใบนี้ คงไม่เพียงพอที่เราจะต้องกลับใจ
เราต้องขอให้พระเป็นเจ้าเมตตาให้อภัย
ด้วยการถวายพลีกรรมที่ยิ่งใหญ่
ให้เราโมทนาพระคุณที่นางาซากิได้รับเลือกสำหรับพลีกรรมครั้งนี้
ขอให้วิญญาณของผู้ที่จากเราไป อาศัยพระเมตตาของพระเป็นเจ้า ให้พวกเขาได้พักผ่อนในสันติสุขเทอญ"
คณะเยสุอิตได้เข้าไปเผยแพร่ศาสนาในยุคแรก นางาซากิเป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์คาทอลิกในประเทศญี่ปุ่น และต่อมามีมรณสักขีเป็นจำนวนมาก
ประสบการณ์และพยานชีวิตของ ดร.มากาชิ นากกาอิ เป็นบทสะท้อน เรียกร้องเราให้ร่วมมือสร้างสันติภาพระหว่างนานาชาติหรือ? (จาก Catholic Source Book โดย Ren Peter Klein, 1999 หน้า 65 แปล บาทหลวงวีระ อาภรณ์รัตน์)
(อุดมสารรายสัปดาห์ ฉบับที่ 35, 24 - 30 สิงหาคม 2003)
|