ประเด็นที่ท้าทายพระศาสนจักรไทย
หลายครั้งเรามักปฏิบัติสิ่งเดิมๆ ไม่อยากปรับปรุงชีวิตให้พัฒนาขึ้นจาก "มหาพรตสู่ปัสกา" ของพระเยซูเจ้าย่อมท้าทายเรา ให้กล้ายอมรับอดีต ปรับปรุงปัจจุบัน สู่วันพรุ่งนี้
พระสังฆราชยอด พิมพิสาร ได้นำเสนอ 10 ประเด็นที่ท้าทายพระศาสนจักรไทย ในโอกาสสมัชชา เพื่อกำหนดทิศทางงานอภิบาล และพันธกิจสู่คริสต์สหัสวรรษที่ 3 ของพระศาสนจักรคาทอลิกแห่งประเทศไทย โดยนำประเด็นเหล่านี้มาจากพระสมณสาสน์ " พระศาสนจักรในเอเซีย " มาเสนอแก่เรา ดังต่อไปนี้
การเสวนากับนิกายอื่น และศาสนาอื่น
การส่งเสริมให้มีการเสวนากับชาวคริสต์นิกายอื่น รวมทั้งการเสวนากับผู้นับถือศาสนาอื่น (#29 - 31) ควรมีการพิจารณาความประพฤติและการปฏิบัติของพระศาสนจักรในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับแนวทางพระวรสารอย่างเป็นรูปธรรม
คำสอนพระศาสนจักร 1.คำสอนทั่วไป จัดทำหนังสือ คำสอนผู้ใหญ่ระดับชาติ ที่พยายามปรับให้เข้ากับบริบทของแต่ละประเทศ (#31) ควรมีการอธิบายศัพท์ที่ใช้
เพื่อผู้เรียนคำสอนที่เป็นผู้นับถือศาสนาอื่นมาก่อนสามารถเข้าใจได้ 2.คำสอนด้านสังคม นำคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรมาปรับให้เข้ากับสภาพความเป็นอยู่ของคนไทย
โดยเฉพาะในชนบท พยายามใช้ภาษาที่คนนอกแวดวงคาทอลิกสามารถเข้าใจและนำไปใช้ได้ บ้านเณร
ให้การอบรมในบ้านเณร พายามเน้นการอบรมด้านชีวิตให้มากขึ้น ควรมีพระสงฆ์นักจิตวิทยา ที่ให้คำแนะนำแก่เณรและพระสงฆ์มากขึ้น พระสงฆ์ ควรเน้นให้พระสงฆ์ที่บวชใหม่
สามารถพบปะสังสรรค์กันระหว่างพระสงฆ์ด้วยกันมากขึ้น
แต่ให้เน้นหนักไปใน การภาวนาร่วมกัน แบ่งปันประสบการณ์และเพิ่มพูนชีวิตจิต มิใช่เป็นเพียงเวลาการเล่นกีฬาหรือการพักผ่อนบางชนิดที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นสงฆ์ ทั้งในการวางตัว การใช้คำพูด และการไม่เลือกปฏิบัติต่อสัตบุรุษ และโดยเฉพาะการวางตัวของพระสงฆ์กับสตรีที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันอันเป็นสิ่งที่ชาวบ้านมักจะห่วงใย
ฆราวาส 1.ศูนย์อบรมผู้นำฆราวาส ควรจัดให้มีศูนย์ฝีกการอภิบาลและระดับภาค เพื่อการอบรมผู้นำฆราวาส และการอภิบาล โดยให้มีการประสานงานกัน 2.ระบบอภิบาลฆราวาส พัฒนาระบบการอภิบาล
การดำเนินชีวิตประจำวันของฆราวาส โดยวางอยู่บนพื้นฐานแห่งพระวรสาร และคำสอนของพระศาสนจักรที่เหมาะสมกับสหัสวรรษใหม่ ครอบครัว เน้นบทบาทของครอบครัวในการแพร่ธรรม " ครอบครัว
" มิใช่เป็นเพียงหน่วยที่พระศาสนจักรให้การอภิบาลเท่านั้น แต่ยัง เป็นเครื่องมือการแพร่ธรรมอันมีประสิทธิภาพที่สุดของพระศาสนจักร " (#46) เยาวชน
เน้นความสำคัญและบทบาทของเยาวชนในพระศาสนจักร โดยไม่มองเยาวชนว่าเป็นเพียงอนาคตของพระศาสนจักรเท่านั้น แต่เป็นผู้ร่วมงานของพระศาสนจักรในปัจจุบัน พระศาสนจักรเพื่อผู้ยากจน
ให้พระศาสนจักรในประเทศไทย เป็นพระศาสนจักรของผู้ยากจน ให้ความสนใจกับผู้ยากจนและความต้องการของผู้ที่ถูกกดขี่ข่มเหง พยายามนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำเนินชีวิต ทั้งภายในและภายนอกของพระศาสนจักรในทุกระดับ
ทั้งนี้เพื่อเป็นสักขีพยานถึงพระเมตตาของพระเป็นเจ้า คณะธรรมทูตไทย ให้มีความสนใจและสนับสนุนคณะธรรมทูตไทย โดยเน้นงาน ad gentes ให้มากขึ้น
องค์กรแบ่งปันทรัพยากรระดับชาติ จัดตั้งองค์กรระดับชาติที่จะให้ช่วยเหลือพระศาสนจักรที่ยากจนกว่า ในด้านบุคลากรและทุนทรัพย์
ผมจึงขอนำมาให้ท่าน เป็นของขวัญวันปัสกา ค.ศ.2000
(อุดมสารรายสัปดาห์ ฉบับที่ 16, ประจำวันที่ 16 - 22 เมษายน 2000)
|