ชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท  (Eucharistic  Congress) คือ  การรวมตัวของพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษ  เพื่อเฉลิมฉลองและเทิดเกียรติศีลมหาสนิท แสวงหาหนทางที่ดีที่สุดเพื่อเผยแผ่ความรู้และความรักต่อศีลมหาสนิท

          ความเชื่อเรื่องการประทับอยู่ของพระเยซูคริสตเจ้าในศีลมหาสนิท  เป็นหนึ่งในสัจธรรมหลักของความเชื่อคาทอลิก

          ประวัติความเป็นมา

          การชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท เริ่มในปลายศตวรรษที่ 19 ในประเทศฝรั่งเศส ด้วยความริเริ่มของฆราวาสสตรีชื่อ เอมิลี ทามีฮีเอร์   (ค.ศ. 1834-1910) ผู้ได้รับแรงบันดาลใจจากนักบุญปีเตอร์ จูเลียน  อีมาร์ค (ค.ศ. 1811-1868) จึงได้จัดชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทครั้งแรก 28-30  มิถุนายน  ค.ศ. 1881 ที่เมืองลีล์ล  ประเทศฝรั่งเศส  โดยได้รับการสนับสนุนจากบรรดาฆราวาส  พระสงฆ์ พระสังฆราช และความ เห็นชอบของ พระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13 หัวข้อของงานครั้งแรกคือ  “ศีลมหาสนิทช่วยกอบกู้โลก” ผู้จัดเชื่อว่าการฟื้นฟูความเชื่อต่อการประทับของพระคริสตเจ้าในศีลมหาสนิท จะช่วยเยียวยาการละเลยและความเย็นเฉยในศาสนา

          ต่อมาพระสันตะปาปาปีโอ  ที่ 10  ประกาศให้คริสตชนสามารถรับศีลมหาสนิทได้บ่อยๆ (ค.ศ. 1905)  อนุญาติให้เด็กอายุรู้ความรับศีล มหาสนิท  (ค.ศ. 1910) งานชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทเป็นโอกาสส่งเสริมให้ผู้ใหญ่รับศีลมหาสนิทและเด็กมีโอกาสรับศีลมหาสนิทครั้งแรก 

          มีการเคารพศีลมหาสนิททุกๆ 4 ปี การชุมนุมประกอบด้วย  พิธีกรรม  การถวายมิสซา  การนมัสการ  การแห่เทิดเกียรติศีลมหาสนิท     อย่างสง่า  การสอนคำสอน และการแบ่งปันพยานชีวิต

           วัตถุประสงค์ของการชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท
1.ส่งเสริมสัตบุรุษให้ตระหนักถึงความสำคัญของศีลมหาสนิทในชีวิต และพันธกิจของพระศาสนจักรคาทอลิก
2.ช่วยปรับปรุงให้สัตบุรุษเข้าใจ  และร่วมพิธีกรรมดีขึ้น
3.ช่วยสัตบุรุษให้สนใจมิติด้านสังคมของศีลมหาสนิท

          พัฒนาการ

          ในสมณสมัยของ พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 มีการจัดงานระดับนานาชาติในทวีป ต่างๆมีการเพิ่มมิติด้านงานธรรมทูตและเน้นการประกาศพระวรสารใหม่  (Re-evangelization) ซึ่งสำนวนนี้มาจากการเตรียมงานที่ มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1937

          ในตอนเริ่มงานชุมนุมครั้งที่  37  ที่มิวนิก ประเทศเยอรมนี  ค.ศ. 1960 นักพิธีกรรม ชื่อ โยเซฟ  ยุงมันน์  (เยสุอิต) ได้เสนอให้เฉลิมฉลองศีลมหาสนิทเป็นศูนย์กลาง และจุดสุดยอดของการแสดงออกถึงความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้า

          ต่อมา  สภาสังคายนาวาติกันที่ 2  เรื่องพิธีกรรม  (ค.ศ. 1963) ข้อแนะนำเรื่องพระ ธรรมล้ำลึกศีลมหาสนิท (ค.ศ. 1967 ข้อ 67)  และเรื่องการรับศีลมหาสนิทนอกพิธีมิสซา (ค.ศ. 1973 ข้อ 109-112) ได้อธิบายหลักเกณฑ์การจัดงานชุมนุมศีลมหาสนิทตั้งแต่นั้น มา คณะกรรมการจัดงานสนใจปัญหาสังคมของโลกปัจจุบัน เรื่องคริสตศาสนสัมพันธ์ และการเสวนากับผู้ต่างความเชื่อด้วย

           คณะกรรมการ (Pontifical  Committee)

          ในการจัดงานชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทครั้งแรก ใน ค.ศ. 1881  พระสันตะปาปาเล
โอ ที่ 13 ทรงรับรองคณะกรรมการจัดงาน  ใน  ค.ศ. 1986 พระสันตะปาปายอห์น  ปอล ที่ 2  ทรงพิจารณาธรรมนูญของกรรมการ วัตถุประสงค์ของคณะกรรมการในมาตรา 2 และ  3  กล่าวว่า  เพื่อส่งเสริมให้พระธรรมล้ำลึกแห่งศีลมหาสนิทเป็นที่รับรู้ยิ่งขึ้น  ให้ประชาชนรักมากขึ้นและรับใช้มากขึ้น  ในฐานะเป็นศูนย์กลางชีวิตของพระศาสนจักรและพันธกิจสำหรับ
การกอบกู้โลก

          สรุป

          การชุมนุมครั้งที่  46  ที่ประเทศโปแลนด์  (25 พฤษภาคม – 1  มิถุนายน  1997) หัวข้อ ศีลมหาสนิทและเสรีภาพ

          การชุมนุมครั้งที่  47  ที่กรุงโรม  (18-25  มิถุนายน 2000) หัวข้อ พระเยซูคริสตเจ้าพระผู้ไถ่แต่องค์เดียวของโลก ปังสำหรับชีวิตใหม่

          ครั้งที่ 48 ที่กวาดาลาฮารา ประเทศเม็กซิโก (10-17 ตุลาคม 2004)  หัวข้อ  แสงสว่างและชีวิตแห่งสหัสวรรษใหม่

          ครั้งที่ 49 ที่เมืองเควเบ็ค  ประเทศแคนาดา  (15-22 มิถุนายน 2008) หัวข้อ ศีลมหาสนิท พระพรของพระเจ้าสำหรับชีวิตของโลก

          ครั้งที่ 50 ที่เมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์  (10-17  มิถุนายน  2012) หัวข้อ ศีลมหาสนิท : ความสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าและกับ กันและกัน

          การชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท ได้รับการพัฒนาความคิดพิจารณาได้จากโอวาทของพระสันตะปาปา  เราน่าสังเกตหัวข้อจัดงานชุม   นุมแต่ละครั้ง  ซึ่งจากประเทศในทวีปยุโรปไปยังทวีปอื่นๆ  ความสัมพันธ์ระหว่างพระศาสนจักรสากล  และพระศาสนจักรท้องถิ่นได้รับการ       พัฒนาขึ้นจากงานชุมนุมเช่นนี้ มีลักษณะเฉพาะของแต่ละสถานที่

          การชุมนุมแต่ละครั้งช่วยให้เราชื่นชมกับพระพรแห่งศีลมหาสนิท  มีข้อประยุกต์ภาคปฏิบัติด้านสังคมจากความรักของพระคริสตเจ้าใน   ศีลมหาสนิทที่เห็นได้ชัดเจนขึ้น

          หวังว่างานชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทครั้งนี้  ช่วยเราให้สนิมสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าและกับพี่น้องยิ่งขึ้น
 

Home

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม
อาคารเลขที่ 122/11 ซ.นนทรี 14 (ซ.นาคสุวรรณ)  ถ.นนทรี  ยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120