วันฉลองพระคริสตราชา หมายถึง ฉลองฐานะกษัตริย์ของพระเยซูคริสตเจ้า เราให้เกียรติพระองค์เป็นกษัตริย์ กล่าวคือ ในประวัติศาสตร์แห่งความรอด ไม่มีเหตุการณ์พิเศษนี้ เราถวายเกียรติ กษัตริย์ เพื่อสิ้นสุดปีพิธีกรรมของพระศาสนจักร ในพันธสัญญาเดิม มีกล่าวถึงฐานะกษัตริย์ของพระเมสสิยาห์แล้ว (1 พกษ 2: 1-10 ; สดด 2, 44 ; อสย 9: 6-7 ; อสค 34: 23 ; ยรม 23: 3-5) พระอาณาจักรของเขาจะไม่มีสิ้นสุด (ลก 1: 33) ทูตสวรรค์แจ้งข่าวดีเรื่องการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงอำนาจทั้งในสวรรค์และบนแผ่นดิน (เทียบ มธ 28: 10) พระองค์มีอำนาจ 3 ประการในการปกครอง คือ ด้านกฎหมาย (นิติบัญญัติ) ด้านบริหารปกครอง และด้านตุลาการศาล กระนั้นก็ดี ในระหว่างชีวิตสาธารณะ พระเยซูเจ้ามิได้ทรงอ้างถึงพระเมสสิยาห์ของชาวยิวปะปนกับความหวังภาษามนุษย์ และแรงบันดาลใจฝ่ายโลกียะ (เทียบ ลก 13: 31f ; 9: 7f ; มก 12: 13-17 ; ยน 6: 15) พระองค์มิได้แย้งการแสดงความเชื่อของนาธานาแอล ท่านคือกษัตริย์แห่งอิสราเอล แต่หันความสนใจไปสู่การเสด็จมาครั้งที่สองของบุตรมนุษย์ (ปารูเซีย ยน 1: 49f) ครั้งเดียวที่พระองค์เสด็จอย่างสง่าเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ตามคำทำนายของเศคาริยาห์ (9: 9) และยอมให้เรียกกษัตริย์แห่งอิสราเอล (ลก 19: 38 ; ยน 12: 13) และที่สุด เมื่ออยู่ต่อหน้าปิลาต พระองค์ตรัสว่า อาณาจักรของเรามิใช่โลกนี้ แม้ว่าจะอยู่ในโลกนี้ เป็นอาณาจักรแห่งความจริง ความศักดิ์สิทธิ์ พระหรรษทาน ทางด้านจิตวิญญาณ ความยุติธรรม ความรักและสันติสุข เป็นอาณาจักรสำหรับทุกคนที่พระคริสตเจ้าทรงไถ่กู้ พระองค์เคยตรัสแก่นักบุญมาการิตา มารีย์ อาลาก๊อก เราจะครองราชย์อาศัยพระหฤทัย ทำให้คำที่ปิลาตสั่งให้เขียนไว้เหนือกางเขนมีความหมาย คือ INRI เยซูชาวนาซาเร็ธ กษัตริย์ของชาวยิว วันฉลองพระคริสตราชาน่าจะเป็นวันเสด็จขึ้นสวรรค์ ที่ทรงประทับเบื้องขวาพระบิดา รับสิริรุ่งโรจน์ อย่างไรก็ดี เป็นวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1925 ปีศักดิ์สิทธิ์ สมเด็จพระสันตะปาปาปีอุส ที่ 11 ได้ประกาศให้วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม ฉลองพระคริสตราชา เพื่อป้องกันความคิดผิดเรื่อง อเทวนิยม โลกียนิยม และฆราวาสนิยม ในสมัยนั้นที่กำลังขยายความคิด สมเด็จพระสันตะปาปาปอล ที่ 6 ใน ค.ศ. 1969 ได้ประกาศปรับปรุงปฏิทินพิธีกรรม ให้เป็นวันอาทิตย์ก่อนเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า กล่าวคือ วันอาทิตย์ที่ใกล้วันที่ 30 พฤศจิกายน การฉลองพระคริสตราชามิใช่ยอมให้พระองค์ปกครองวิญญาณแต่ละคนเท่านั้น แต่ว่าเหนือครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ให้คำภาวนา และกิจการต่างๆ ของเรา ทำให้อาณาจักรฝ่ายจิตได้รับการยอมรับแพร่หลาย ยืนยันว่า พระคริสตเจ้าเป็นกษัตริย์พระผู้ไถ่ อาศัยพระโลหิตของพระองค์
พระสังฆราช วีระ อาภรณ์รัตน์แปลจาก Saint Companions for each day, Revised and updated by Ladislaus L. D SOVZA, 2007., p. 452-453.
Home