แปลโดย พระสังฆราชวีระ อาภรณ์รัตน์ |
ผมได้มีโอกาสไปแสวงบุญที่สักการสถานแม่พระลาวาง ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ที่ผ่านมา จึงขอแปลเอกสารประวัติแม่พระลาวางมาแบ่งปันกับแม่พระยุคใหม่ ซึ่งการประจักษ์ชื่อลาวางในปี ค.ศ. 1798 ก่อนแม่พระประจักษ์ที่ลูร์ดอีก ทำให้ผมรักชาวเวียดนามมากขึ้น 1. ประวัติการประจักษ์ ใน ค.ศ. 1798 กษัตริย์ Canh thinh อยู่ที่ Phu Xuan ( thuan Hoa ) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเวียดนามในสมัยนั้น ได้ยินว่า Nguyen Anh นด้วยความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสบางคนที่ช่วยบริการพระองค์ได้ยึดครองเขต Nam ky และกำลังมุ่งมาที่ภาคกลางของเวียดนามในสภาพกำลังอลหม่าน กษัตริย์ได้ประกาศราชโองการ ห้ามชาวเวียดนามเข้านับถือศาสนาคริสต์ และทรงกล่าวหาชาวคริสต์ว่าเป็นคนสอดแนมให้ชาวฝรั่งเศส Nguyen Anh ได้ยึดภาคกลางของประเทศ ได้ขับไล่ Canh thinh ออกไปให้มุ่งหน้าไปอยู่ภาคเหนือ ระหว่างช่วงการกดขี่นั้น ในแคว้น Dinh Cat ชาวคริสต์จำนวนเล็กๆได้หนีมาอยู่ในป่าลาวาง 6 กิโลเมตรจากนครกวางตรี ในที่อพยพนี้ พวกเขารวมตัวกันบ่อยๆ ในตอนเย็นใต้ต้น Banyan เพื่อภาวนาเงียบๆ หรือสวดสายประคำขอพระนางพรหมจารีมารีย์ให้ช่วยเหลือ ในระหว่างช่วงถูกกดขี่เบียดเบียนพระแม่จึงปรากฏองค์แก่พวกเขาด้วยแสงงดงามหาอะไรเปรียบมิได้ แม่พระทรงอุ้มเด็กเล็กๆ คนหนึ่งในอ้อมแขน พระนางทรงแต่งกายธรรมดา แต่ทรงสวมมงกุฎ ทรงให้กำลังใจให้พวกเขาอดทนต่อความทุกข์ต่างๆ และให้มั่นคงในความเชื่อ มีหลายคนที่เจ็บป่วยพระแม่จึงสอนให้เก็บใบไม้พื้นเมืองชนิดหนึ่งในแถบนั้น และให้มาทำคล้ายชา เพื่อรักษาอาการป่วยนั้น ในระหว่างการแห่ใหญ่ครั้งแรก (ค.ศ. 1901)โอกาสสมโภชแม่พระรับเกียรติยกสู่สวรรค์ คุณพ่อ Ninh (Bonin) เจ้าอาวาส แห่งวัด Co Vuu และผู้ดูแลลาวาง ได้เริ่มการสอบสวน ไต่ถามบรรดาผู้อาวุโสเกี่ยวกับการประจักษ์นี้ ทุกคนได้เป็นพยานยืนยันว่า พระนางพรหมจารีย์ได้ประจักษ์มาจริงในศตวรรษที่ผ่านมา |
|
|
|
3. ลาวาง ระหว่าง ยุคเบียดเบียน Phan Sap และ Van Than หลังจากยุค Canh thinh พระศาสนจักรเวียดนามเข้าสู่ยุคจักรวรรดิ Nguyen เป็นช่วงเวลาเบียดเบียนโหดร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์พระศาสนจักรเวียดนาม ภายใต้รัชกาลกษัตริย์ Gia Long (ค.ศ.1802-1819) ไม่มีการเบียดเบียนชัดๆแต่พระองค์ได้ประกาศกฤษฎีกา เพื่อป้องกันการสร้างวัดภายใต้รัชกาลกษัตริย์ Minh Mang (ค.ศ.1820-1940) ได้ประกาศกฤษฎีกาต่อเนื่อง 3 ครั้ง ค.ศ. 1833-1836-1838 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำจัดศาสนาคริสต์จากทั่วประเทศ ชัดเจนที่สุด กษัตริย์ Thien Tri (ค.ศ.1841-1847) ไม่ทรงต้องการยกเลิกกฤษฎีกาที่พระราชบิดาทรงประกาศ แต่หลังจากกองทัพเรือเวียดนามรบชนะ ใน ค.ศ.1847 ที่ Can Han พระองค์ได้ออกคำสั่งจับนักบวชชาวต่างชาติทุกคนที่ทำงานในเวียดนาม และพระองค์ให้เงิน 30 เหรียญแก่คนปรักปรำพวกคริสตัง กษัตริย์ Tu Duc (ค.ศ.1847-1884) ได้ประกาศกฤษฎีกาเบียดเบียนชาวคริสต์ (ค.ศ.1851-1855-1857-1859-1860) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Phan sap ( แปลว่า แยก และ ย้ายเพาะ) ในปลายปี ค.ศ. 1860 ซึ่งรุนแรงที่สุด ประกอบด้วย 5 ประการหลัก คือ 1. ชาวคาทอลิกทุกคนต้องถูกแยกไปอยู่ในหมู่บ้านที่มิใช่คาทอลิก 2. หมู่บ้านที่มิใช่ชาวคาทอลิกต้องรับผิดชอบจับตาดูชาวคาทอลิกแต่ละคน โดย 5 คนที่มิใช่ชาวคาทอลิกจับตาดูชาวคาทอลิกแต่ละคน 3. ต้องทำลายบ้านในหมู่บ้านคาทอลิก และแบ่งพื้นที่สวนให้คนที่มิใช่ชาวคาทอลิกยึดครอง 4. ต้องแยกสมาชิกครอบครัวคาทอลิก ต้องแยกสามี-ภรรยาไปที่ต่างกัน และแยกลูกให้ไปอยู่กับคนที่มิใช่คาทอลิก 5. ก่อนการแยกชาวคาทอลิก ให้ทำรอยสักที่แก้มของผู้ชาย สตรี และบางครั้งเด็ก ว่าศาสนาประหลาด(ta dao) ชื่อสถานที่ที่ชาวคริสต์ถูกเนรเทศส่งไปก็สักที่ตัวพวกเขาด้วย จากวัดน้อยที่ลาวาง ภายใต้ต้นไทรเก่าแก่ พระมารดาผู้เมตตาเห็นลูกๆร่ำไห้ไปตามถนน ซึ่งพาไปยังชะตากรรมที่เจ็บปวด เด็กๆต้องจากพ่อแม่ ภรรยาจากสามี พระสงฆ์ต้องทำงานเพื่อยังชีพ คือ ซักผ้า หรือ ส่งน้ำให้ตามครอบครัวต่างๆ เช่น คุณพ่อมารดิน Ngv yen Van Thanh อย่างไรก็ตามก็เป็นโครงการให้ท่านไปเยี่ยมสัตบุรุษในคุก และที่ถูกแยกให้พลัดพรากจากครอบครัว การเบียดเบียน Phan sap ยาวนาน 11 เดือน จึงมีข้อตกลงสันติภาพ Nham Tuat (ค.ศ1862) กษัตริย์ Tu Duc ได้ประกาศกฤษฎีกาให้ชาวคริสต์เป็นอิสระ พระศาสนจักรเวียดนามได้มีความสงบช่วงนั้น จนกระทั่ง Van Than เบียดเบียนศาสนาอีกครั้งหนึ่ง วันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1885 กษัตริย์ Han Nghi ได้ประกาศ Can Vuong (กล่าวคือ สำหรับกษัตริย์) ทั่วประเทศ ขบวนการ Binh Tay Sat Ta ทำลายชาวยุโรป และประหาร บรรดาชาวคริสต์ ได้เริ่มต้นด้วยคำสั่งจาก Ton that Thuyet สำหรับกำจัดอย่างสิ้นเชิง ขบวนการนี้ได้ฆ่าชาวคาทอลิกซื่อๆ เป็นจำนวนมากในภาคกลางของประเทศ ในระยะเวลาสั้นมากๆ นั้นมีมรณสักขีถึง 60,000 คน การฆาตกรรมหมู่ที่รุนแรงที่สุด (Massacre) คือ วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1885 ในเขต Dinh cat (กวางตรี) ภายใต้คำสั่งของ Doi Cu วัด Tri Buu ได้ถูกยึด สัตบุรุษถูกขังภายในวัด และถูกไฟเผาขณะที่พวกเขายังมีชีวิต ได้พบผู้เสียชีวิต 600 คนรวมทั้งเด็กๆ พร้อมกับคุณพ่อยอแซฟ Le Buu Thong ต่อมาจึงมีการสร้างวัดหลังใหญ่ พร้อมหอสูง 15 เมตร หน้าวัด Tri Buu เพื่อรำลึกถึงบรรดามรณสักขีเหล่านี้ ตามการประเมินโดยพระสังฆราช Loc (Caspar) เริ่มวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1885 ผู้ถูกฆ่าที่วัด Dinh Cat มีพระสงฆ์ 6 องค์ ซิสเตอร์มากกว่า 60 รูป คณะรักกางเขน และสัตบุรุษประมาณ 7000 คน จาก 45 วัด |
|||||||||||
|
|