คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม นำโดย พระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ ได้นำคุณครูคำสอนไทยจากสังฆมณฑลต่างๆจำนวน 50 คนร่วมงานชุมนุมครูคำสอนนานาชาติและแสวงบุญที่ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 23 กันยายน ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2013 การชุมนุมครูคำสอนนานาชาตินี้จัดขึ้นในโอกาสปีแห่งความเชื่อ ณ หอประชุมเปาโลที่ 6 นครรัฐวาติกัน จัดโดยกระทรวงเพื่อการประกาศพระวรสารใหม่ โดยมีหัวข้อว่า "ครูคำสอน พยานแห่งความเชื่อ" มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 1,600 คน  ในจำนวนนี้มีตัวแทนจากประเทศไทยเข้าร่วมประชุมจำนวน 2 ท่าน คือ คุณพ่อเปรมปรี วาปีโส และคุณพ่อเอกสิทธิ์ ทัฬหะกุลธร

หัวข้อในการประชุมครั้งนี้เน้นการไตร่ตรองเรื่องความเชื่อซึ่งเป็นเนื้อหาในภาคแรกของหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและเชี่ยวชาญในงานคำสอนเป็นผู้บรรยายหลายท่าน ซึ่งโอกาสอันสำคัญนี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้เสด็จมาเป็นวิทยากรแบ่งปันถึงคุณลักษณะของครูคำสอนกับการเป็นพยานถึงความเชื่อในโลกปัจจุบันด้วย

หัวข้อบรรยายในการประชุมครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้คือ
1.หัวข้อ “พระเจ้าทรงแสวงหาและเผยแสดงพระองค์แก่มนุษย์”
โดย Dr.Petroc Willey (Deputy Director of theMaryvaleInstitute ประเทศอังกฤษ)

2.หัวข้อ “พระศาสนจักรคือบุคคลแรกที่เชื่อ”
โดย Rev.do Manuel Jos? Jim?nez Rodr?guez (Chaplain for the National University of Colombia and Advisor to the office of Catechesis of the Columbian Episcopal Conference)

3.หัวข้อ “MemoriaFidei: the Dynamism of the Act of Faith” (Memoria, Event, Prophecy)
โดย Prof. Mons. PierangeloSequeri(คณบดีคณะเทววิทยาของภาคเหนือของประเทศอิตาลี)

4.หัวข้อ “Traditio et RedditioSymboli: Our “Yes” to God”
โดย P.RobertDodaro, O.S.A. (Dean of the InstitutumPatristicumAugustinianum of the Pontifical Lateran University) Italy

5.หัวข้อ “Credibility of Faith: Relationship between Faith and reason in the Transmission of the Faith”
โดย Rev.do KryzsztofKaucha (Professor of Fundamental Theology at the Catholic University of Lublin) Poland

6.หัวข้อ “An Instructional Theory of the Act of Faith”
โดย Dr.Jem Sullivan (Professor of Catechetics at the Faculty of Theology at the Domenican House of Studies) USA

7.หัวข้อ “The Continuation of “TraditioVerbi”: the Harmony of Scripture, Tradition and Magisterium”
โดย Rev.do Alberto Franzini(เจ้าอาวาสที่ Cremona   ประเทศอิตาลี)

8.หัวข้อ “The Reception of the Catechism of the Catholic Church in Catechesis: Experiences and Criteria for a full Reception”
โดย Prof. Jo?lMolinario (Theologian and Assistant Director of the InstitutSup?rieur de Pastoral Cat?ch?tique) Paris, France

9.หัวข้อ “Service to the Truth as an Expression of the Ecclesial Community”
โดย Bishop Javier Salinas Vi?als (Bishop of Mallorca and Member of the Internationa Council for Catechesis) Spain

พระสังฆราชOctavio Ruiz Arenas ซึ่งเป็นเลขาธิการสมณกระทรวงเพื่อการประกาศพระวรสารใหม่ได้กล่าวสรุปเนื้อหาของการประชุมทั้งหมดไว้ดังนี้คือ
1.พระศาสนจักรคือบุคคลแรกที่รับผิดชอบการประกาศพระวรสารให้กับบุคลที่รับศีลล้างบาปแล้วและกับผู้ที่ยังไม่ได้รับศีลล้างบาป หมู่คณะคริสตชนแต่ละแห่งจะต้องเป็นสถานที่แห่งการสอนคำสอน และเชื้อเชิญผู้คนให้กลับใจ อีกทั้งจะต้องเป็นสถานที่ที่เพาะบ่มคริสตังสำรอง นอกนั้น หมู่คณะคริสตชนต้องเป็นดังสถานที่อบรมให้กับครูคำสอนและเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปกับพวกเขาด้วย

2.ครูคำสอนเป็นกระแสเรียกไม่ใช่อาชีพ ครูคำสอนจะต้องเป็นพยานแห่งความเชื่อและความรักต่อพระคริสตเจ้า อีกทั้งอุทิศตนทำงานเพื่อประชากรของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจะเริ่มต้นทุกสิ่งในพระคริสตเจ้า มีความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าโดยอาศัยการเฝ้าศีลมหาสนิทบ่อยๆ นอกนั้นครูคำสอนจะต้องเลียนแบบพระคริสตเจ้าในการออกตามหาและมอบความเชื่อให้กับผู้อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้าที่จะไปหาบุคคลเหล่านั้นซึ่งอยู่ชายขอบของสังคม แน่นอนว่าพระเป็นเจ้าจะทรงนำทาง ให้พละกำลังและจะเป็นเพื่อนร่วมเดินทางกับเขา

3.โลกในปัจจุบันนี้เรียกร้องให้ครูคำสอนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีชีวิตที่เรียบง่ายมีจิตตารมณ์ของการภาวนา นอบน้อมเชื่อฟัง สุภาพ รู้จักปฎิเสธตนเอง มีใจกว้าง มีเมตตาต่อทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนยากจน หรือหากจะใช้คำพูดอีกคำหนึ่งก็คือ เรียกร้องให้ชีวิตทุกช่วงของครูคำสอนเป็นพยานแห่งความยินดีในความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต

4.การสอนคำสอนเป็นกิจการที่พิเศษสุดของการประกาศพระวรสาร ซึ่งอยู่ในหน้าที่แรกของการรับใช้พระวาจาพระเจ้า การสอนคำสอนจะต้องแยกแยะหารูปแบบหลากหลายที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้คนเข้าใจพระวรสารและทำให้พระวาจาของพระเจ้าเป็นพระวาจาที่นำความรอด ครูคำสอนจึงไม่ใช่บุคคลที่ถ่ายทอดความรู้เชิงวิชาการแต่เป็นผู้ที่สื่อถึงการเผยแสดงของพระเจ้าทั้งครบ

5.พระศาสนาจักรกำลังเดินมุ่งสู่การประกาศพระวรสารใหม่ดังนั้นการสอนคำสอนไม่สามารถคงไว้ซึ่งลักษณะแบบเดิมๆ จำเป็นต้องปรับรูปแบบของการถ่ายทอดความเชื่อด้วยเป้าหมายใหม่ ซึ่งหลังจากที่เราได้วิเคราะห์สถานการณ์ความเชื่อและรูปแบบของการอบรมในปัจจุบันแล้ว เราควรพิจารณาถึงสถานที่และสภาพแวดล้อมในเรียนคำสอนด้วย นอกจากนี้ ในการประยุกต์เรื่องต่างๆนั้น จำต้องคำนึงถึงข้อคำสอนของพระศาสนจักรซึ่งเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อคำสอนเหล่านั้นได้และต้องรักษาความสมดุลเอาไว้ระหว่างพระคัมภีร์ ข้อความเชื่อ รูปแบบ และการใช้ศัพท์ที่เหมาะสมกับผู้เรียนโดยเรายังคงรักษาไว้ซึ่งความหมายที่แท้จริงและลึกซึ้งของข้อคำสอนนั้นๆ ให้คงอยู่

6.โลกในสมัยนี้ มีหลายคนที่บอกว่าตนเองเป็นผู้มีความเชื่อแต่พวกเขากลับไม่รู้ถึงเนื้อหาของสิ่งที่พวกเขาเชื่อ และไม่ได้รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของพระศาสนจักรจริงๆ เพราะเหตุว่าเขาไม่ได้ทำการเลือกที่จะเชื่อด้วยเหตุนี้ขบวนการของการเตรียมผู้ใหญ่ให้เป็นคริสตชนจึงมีความสำคัญมาก ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงเพื่อเตรียมพวกเขาเพื่อจะรับศีลล้างบาปเท่านั้น แต่ต้องเป็นขบวนการที่เปลี่ยนเขาจากภายในทั้งครบในพระคริสตเจ้า

7.ท่ามกลางสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิสัมพัทธนิยม(Relativism) ทำให้คำถามเกี่ยวกับพระเจ้าและความจริงไม่ได้รับความสนใจและมีข้อสงสัย ครูคำสอนจะต้องนำเสนอพระเยซูเจ้าเหมือนดังที่พระศาสนจักรสอนเรา นั่นคือพระองค์ทรงเป็นความจริงที่ส่องสว่างในธรรมล้ำลึกของมนุษย์ จำเป็นที่เราจะต้องสอนด้วยความกล้าหาญในการประกาศข่าวดี (Parresia) นั่นคือ สอนด้วยความมั่นใจ ด้วยความยินดี ด้วยความกระตือรือล้น ด้วยความสุภาพโดยปล่อยให้พระจิตเจ้าทรงนำเราไป ทั้งนี้โดยตระหนักว่าเป็นพระเยซูเจ้าที่ทรงนำเราผ่านทางพระศาสนจักร

8.ในการสอนคำสอนทุกวันนี้ จำเป็นต้องเน้นมิติในเรื่องของการเป็นธรรมฑูตให้มากขึ้นกว่าเดิมและต้องอบรมครูคำสอนในเรื่องนี้อย่างจริงจังการอบรมครูคำสอนจะต้องผสมผสานเรื่องของความรู้เกี่ยวกับความเชื่อและการเป็นพยานด้วยชีวิตเข้าด้วยกันนอกนั้น การอบรมเรื่องการเป็นธรรมฑูตนี้ยังเกี่ยวข้องกับครอบครัวด้วย เพราะว่าพ่อแม่ไม่ใช่เพียงผู้ให้ชีวิตฝ่ายร่างกายตามธรรมชาติกับลูกๆเท่านั้น แต่พ่อแม่คือผู้ที่ถ่ายทอดความเชื่อให้กับลูกๆ โดยอาศัยแบบอย่างในการดำเนินชีวิตคริสตชน ซึ่งไม่มีใครจะมาทำหน้าที่นี้แทนได้

9.เพื่อจะสามารถถ่ายทอดความเชื่อและเป็นพยานยืนยันถึงความจริง จำเป็นต้องปล่อยให้พระเจ้าเปิดตาของเราโดยอาศัยแสงสว่างแห่งความเชื่อเหมือนดังสาวกที่เดินทางไปยังเอ็มมาอูส ดังนั้นการสอนคำสอนจะต้องลงลึกและเป็นหนึ่งเดียวกับพิธีกรรม และเปิดโอกาสให้พูดคุยถึงธรรมล้ำลึกซึ่งนำเราไปสู่แผนการแห่งความรักของพระบิดา

10.จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้สัตบุรษเข้าใจว่าความเชื่อเป็นดังของขวัญของพระเจ้า ซึ่งขึ้นอยู่กับการตอบรับด้วยใจอิสระของพวกเขาการตอบรับความเชื่อนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการตอบรับส่วนบุคคลเท่านั้น แต่เป็นการตอบรับในมิติของความเป็นพระศาสนจักรด้วยด้วยเหตุนี้การสอนคำสอนจึงมีเป้าหมายมุ่งไปที่ธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าและการมีชีวิตในหมู่คณะคริสตชน การสอนคำสอนจะต้องทำให้สัตบุรุษเป็นสมาชิกที่มีความกระตือรือล้นในชีวิตและในพันธกิจของพระศาสนจักร

11.การสื่อสารความเชื่อคริสตชนต้องเชื่อมโยงกับความทรงจำของพระเยซูเจ้าในพระวรสาร และความทรงจำแห่งความเชื่อของอัครสาวกด้วยความทรงจำของพระเยซูเจ้านี้ต้องกลับกลายเป็นหลักการและแนวปฎิบัติ     ซึ่งความทรงจำของพระเยซูเจ้านี้ถูกเขียนสรุปอยู่ในสัญลักษณ์แห่งความเชื่อ (Credo) นอกนั้น เหตุการณ์ต่างๆ ในพระวรสารที่ถูกเขียนขึ้นนั้นช่วยเราให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราวของพระเยซูเจ้าและความเชื่อ และพระวรสารนี้ยังช่วยพยุงความเชื่อของเราในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรและของการประกาศพระวรสาร อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าพระคัมภีร์ที่ปราศจากธรรมประเพณีก็เป็นบทอ่านที่ไร้ชีวิต และธรรมประเพณีที่ปราศจากพระคัมภีร์ก็ขาดรากแห่งการดลใจจากเบื้องบน และเสี่ยงที่จะกลายเป็นเพียงผลงานของมนุษย์

12.เพื่อจะถ่ายทอดความเชื่อ จำเป็นต้องรักษาไว้ซึ่งความทรงจำอันบริสุทธิ์ของบรรดาอัครสาวก และหารูปแบบของการพูดที่ก้าวข้ามภาษาเฉพาะที่คริสตชนเราเข้าใจเท่านั้น หลายครั้งการกลับใจเกิดขึ้นจากภาษาที่ใช้ศัพท์ธรรมดา ด้วยเหตุนี้ เราต้องพยายามใช้คำพูดที่มีผลก่อให้เกิดความปรารถนาที่จะพบปะกับพระคริสตเจ้า

13.สื่อมวลชนอันทันสมัยพยายามที่จะบิดเบือนคุณค่าและข้อคำสอนของคริสตชน ด้วยเหตุนี้ เราจำเป็นที่จะต้องรู้จักเทคนิควิธีการในการสื่อสารในระดับที่เหมาะสมเพื่อใช้นำเสนอคำสอนของพระศาสนจักร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยสื่อให้เห็นถึงใบหน้าที่แท้จริงของพระเจ้าผู้ทรงเต็มเปี่ยมด้วยความรักและความเมตตาได้เป็นผลสำเร็จถึงแม้ว่าอาจจะมีอันตรายที่มาจากโลกดิจิตอลและเครื่อข่ายสังคมออนไลน์ก็ตาม แต่อุปกรณ์สื่อสารเหล่านี้ต้องกลายเป็นเครื่องมือซึ่งถูกใช้เพื่อเผยแผ่พระวรสารในโลกปัจจุบันด้วย

14.ต่อหน้าการท้าทายอันยิ่งใหญ่โดยเฉพาะจากสาเหตุของการเติบโตของของปรากฎการณ์โลกานิยม (Secularization)เราต้องมุ่งไปยังพระคริสตเจ้าและการเป็นพยานถึงความเชื่อของคริสตชน โดยมีความรู้ที่ลึกซึ้งในประวัติศาสตร์ ในธรรมประเพณีและในชีวิตของพระศาสนจักร ดังนั้น การสอนคำสอนจึงถูกเชื้อเชิญให้นำเสนออย่างชัดเจนถึงวิสัยทัศน์ของคริสตชนซึ่งให้ความหมายของชีวิตมนุษย์ และกระแสเรียกสู่ชีวิตนิรันดร

Home

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม
อาคารเลขที่ 122/11 ซ.นนทรี 14 (ซ.นาคสุวรรณ)  ถ.นนทรี  ยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120